6 ค่ายรถญี่ปุ่นลดกำลังผลิตกว่า1ล้านคัน

6 ค่ายรถญี่ปุ่นลดกำลังผลิตกว่า1ล้านคัน

  • 0 ตอบ
  • 88 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ค่ายรถญี่ปุ่น 6 แห่ง รวมทั้งโตโยต้า มอเตอร์ เตรียมลดกำลังการผลิตสำหรับปีงบการเงินปัจจุบันจำนวนกว่า 1 ล้านคัน ถือเป็นการปรับลดกำลังการผลิตครั้งใหญ่เท่ากับปีที่แล้วเพราะผลพวงจากการระบาดของโรคโควิด-19

 ผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือว่าเป็นฐานจัดหารถยนต์หลักสำหรับเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้กับรถยนต์ เป็นเหตุผลหลักของการลดกำลังการผลิต ประกอบกับยอดขายรถในตลาดยุโรปและสหรัฐปรับตัวลดลง         

  ค่ายรถยนต์ชั้นนำอย่างโตโยต้า ทบทวนตัวเลขคาดการณ์ผลผลิตรถยนต์ทั่วโลกสำหรับปีงบการเงินที่สิ้นสุดเดือนมี.ค.ปี 2565 โดยลดลงประมาณ 3%เหลือ 9 ล้านคัน

  ส่วนนิสสัน มอเตอร์ ประกาศก่อนหน้านี้ว่ามีแผนลดการผลิตลงประมาณ 250,000 คัน และฮอนดา มอเตอร์ คาดการณ์ว่ายอดขายโดยรวมของบริษัทจะลดลงประมาณ 150,000คัน เพราะผลพวงจากการลดกำลังการผลิต 


อย่างไรก็ตาม ซูซูกิ มอเตอร์ เป็นค่ายรถยนต์ที่บอบช้ำมากที่สุด โดยบริษัทลดกำลังการผลิตลงประมาณ 350,000 คัน หรือประมาณ 10% ในปีงบการเงินเมื่อปีที่แล้ว

โดยซูซูกิพยายามหาทางรับมือกับปัญหาเซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลนและระงับการผลิตในประเทศต่างๆชั่วคราว รวมทั้งในญี่ปุ่น ไทย และฮังการี ส่วนการผลิตในอินเดียที่มีสัดส่วนการผลิตรถจำนวนมากนั้นคาดว่าจะผลิตได้แค่ประมาณ 40% ของศักยภาพการผลิตตามปกติในเดือนนี้


ขณะที่มาสดา มอเตอร์ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส และซูบารุ ก็ประกาศลดกำลังการผลิตเช่นกัน ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วค่ายรถยนต์6แห่งลดการผลิตลงประมาณ 1.05 ล้านคัน

 เจ้าหน้าที่โตโยต้า ระบุว่า บริษัทลดกำลังการผลิตเพราะการปิดโรงงานเอสทีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทสัญชาติสวิสในมาเลเซีย ที่มีหน้าที่จัดหาอุปกรณ์ควบคุมขนาดเล็กในรถยนต์ (เอ็มซียู)ให้แก่บรรดาซัพพลายเออร์โตโยต้าแต่การหวนกลับมาระบาดอีกครั้งของโรคโควิด-19 ทำให้พนักงานไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานได้ตามปกติอีก

 บรรดาผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์หลายรายมีโรงงานผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตเซมิคอนดักเตอร์สำหรับรถยนต์

เช่น บริษัทบอช ของเยอรมนีมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าจำนวน 7 แห่งและโรงงานผลิตชิ้นส่วนอื่นๆในภูมิภาค และบริษัทคอนติเนนตัล ผู้เล่นในอุตสาหกรรมรถยนต์สัญชาติเยอรมนีอีกรายผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้เซมิคอนดักเตอร์ที่โรงงานผลิตหลายแห่งเช่นกัน

การระบาดของโรคโควิด-19ส่งผลกระทบค่ายรถยนต์จำนวนมากในช่วงที่ค่ายรถยนต์เหล่านี้กำลังดิ้นรนต่อสู้เพื่อสร้างหลักประกันว่าจะมีชิ้นส่วนรถยนต์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเพียงพอ

บริษัทผลิตชิพสัญชาติเยอรมนีอย่างอินฟีเนียน เทคโนโลยีส์ ระงับการผลิตที่โรงงานในมาลักกา ทางตอนใต้ของมาเลเซียเป็นเวลา20วันในช่วง 5 สัปดาห์เริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย.โดยในอุตสาหกรรมรถยนต์ใช้เซมิคอนดักเตอร์ในการผลิตเบรคและพวงมาลัยให้แก่บรรดาซัพพลายเออร์ที่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ทั้งหลาย

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดวงเฉพาะค่ายรถญี่ปุ่นเท่านั้น เจเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม)ระงับการผลิตโรงงาน8แห่ง หรือประมาณ 50% ของโรงงานประกอบรถยนต์ในอเมริกาเหนือ เป็นเวลา1-4 สัปดาห์เริ่มตั้งแต่วันที่ 6ก.ย.

ส่วนบริษัทเรย์โนลต์ ค่ายรถยนต์สัญชาติฝรั่งเศส ปิดโรงงานผลิตในสเปนเป็นเวลานานถึง 60 วันนับตั้งแต่ปลายเดือนส.ค. และในช่วงปลายเดือนส.ค. โฟล์คสวาเกน ลดการผลิตเพิ่มที่โรงงานผลิตหลักในเมืองโวล์ฟสเบิร์ก

ข้อมูลจากบริษัทวิจัยของสหรัฐแห่งหนึ่ง ประเมินว่า การผลิตรถยนต์ทั่วโลกในปี 2564 จะลดลงเหลือประมาณ 80 ล้านคัน ลดลงประมาณ 6% จากที่เคยประมาณการไว้เบื้องต้น

ขณะที่ยอดขาดทุนโดยรวมมีมูลค่ากว่า 130,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งผลกระทบจะรุนแรงมากกว่านี้ถ้าการลดการผลิตรถยนต์จำนวนมากของโตโยต้ายังคงดำเนินต่อไปหรือลดการผลิตเพิ่มขึ้น