ญี่ปุ่นพบติดโควิด “ฝ่าวัคซีน” เพิ่มขึ้น แม้ฉีดวัคซีนได้ 50% ของประชากรแล้ว

ญี่ปุ่นพบติดโควิด “ฝ่าวัคซีน” เพิ่มขึ้น แม้ฉีดวัคซีนได้ 50% ของประชากรแล้ว

  • 0 ตอบ
  • 83 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Thetaiso

  • *****
  • 2964
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ญี่ปุ่นพบกรณีผู้ติดเชื้อโควิดแม้ว่าจะได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วเพิ่มมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญชี้ภูมิคุ้มกันจะลดลงตามระยะเวลา แต่ยังป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตได้

ชายวัย 50 ปีที่อาศัยอยู่ที่เมืองฟูกูโอกะ พบว่าตัวเองติดเชื้อโควิดเมื่อเดือนสิงหาคม เขามีอาการไอ ไข้สูง 37.8 องศา และเมื่อไปตรวจที่โรงพยาบาลจึงพบว่าตัวเองติดเชื้อโควิด เขาได้รับวัคซีน “ไฟเซอร์” ครบ 2 เข็มเมื่อเดือนกรกฎาคม ช่วงเวลาที่เขาติดเชื้อห่างจากเวลาที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 เพียงแค่ 3 สัปดาห์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นช่วงที่ระดับภูมิคุ้มกันจะสูงที่สุดหลังได้รับวัคซีน

ชายคนนี้บอกว่า เขาป้องกันตัวเองตลอดเวลา เดินทางไปทำงานโดยรถยนต์ส่วนตัว และไม่เคยกินอาหารนอกบ้านเลย จึงไม่รู้ว่าตัวเองติดเชื้อได้อย่างไร

หน่วยงานสาธารณสุขในท้องที่ให้เขาเข้ารักษาตัวในสถานกักตัว เขามีอาการดีขึ้นใน 2 วันต่อมา และกลับบ้านได้ใน 10 วันต่อมา

ตอนนี้ เขายังมีอาการไอเล็กน้อย แต่ภรรยาและลูก 2 คนที่อยู่ในบ้านเดียวกัน ลูกคนเล็กที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนพบว่าติดเชื้อ แต่อาการไม่รุนแรง



เมื่อวานนี้ (12 ก.ย.) รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่า ประชาชนร้อยละ 50 ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ต่อประชากร 100,000 รายนั้น 88.8 เป็นคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ส่วนคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว 1 เข็มติดเชื้อ 25.2 และคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็มติดเชื้อ 5.4

ก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นพบการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน หรือ breakthrough หลายกรณีทั้งที่โรงพยาบาลในเมืองอาซาฮีกาวะบนเกาะฮอกไกโด, สถานดูแลผู้สูงอายุในฟูกูโอกะ และที่อื่นๆ ที่พบการติดเชื้อแบบกลุ่มในผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มแล้ว

ศ. อัตสึชิ มิโซงูจิ จากมหาวิทยาลัยคูรูเมะ จังหวัดฟูกูโอกะ บอกว่า วัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะลดลงจากความเหนื่อยล้าและปัจจัยอื่นๆ และหากสัมผัสกับเชื้อสายพันธุ์เดลตา ก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ เขาเตือนว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วติดเชื้อจะมีอาการไม่หนัก แต่มีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อให้กับคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งคนเหล่านั้นอาจป่วยหนักได้



ผู้เชี่ยวชาญพบว่า ระดับภูมิคุ้มกันจะลดลงหลังฉีดวัคซีนราว 6 เดือน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อมากขึ้น แต่วัคซีนยังสามารถป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะอ่อนแออยู่แล้ว คนกลุ่มนี้จึงควรจะได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น

รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาว่า จำเป็นต้องให้วัคซีนเข็มที่ 3 หรือไม่ โดยคาดว่าจะดำเนินการในกลุ่มผู้สูงอายุราวต้นปีหน้า.