เอฟเฟ๊คต์ 'โด้-เมสซี' ย้ายทีม เจาะความจริงตลาดเสื้อ.

เอฟเฟ๊คต์ 'โด้-เมสซี' ย้ายทีม เจาะความจริงตลาดเสื้อ.

  • 0 ตอบ
  • 94 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ศึกฟุต.ลีกยุโรปฤดูกาลใหม่ เปิดฉากกันครบเรียบร้อยทั้ง พรีเมียร์ ลีก, บุนเดสลีกา, กัลโช่ เซเรีย อา, ลา ลีกา จนถึง ลีก เอิง ขณะที่บรรดาสโมสรลีกต่างๆ จัดการเปิดตัวเสื้อแข่งเวอร์ชั่นใหม่ของตัวเองตามธรรมเนียมออกมาให้แฟน.ซื้อไปสวมใส่เชียร์ทีมโปรดเวลาลงแข่งขัน หลายทีมขายดิบขายดีจนเสื้อขาดตลาดผลิตไม่ทัน จุดนี้แฟน.คงคิดว่าทีมฟุต.น่าจะรวยเละเทะจากยอดขายเสื้อ ทว่าความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

เชื่อว่าชั่วโมงนี้คอ.กำลังตามหาเสื้อหมายเลข 7 ของ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ กับเสื้อหมายเลข 30 ของ ลิโอเนล เมสซี กันให้ควั่ก เพราะการย้ายกลับมาเล่นให้ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และโยกย้ายสู่ ปารีส แซงต์-แชร์กแมง ของสองซูเปอร์สตาร์ลูกหนังของโลก ไม่เพียงแต่สั่นสะเทือนตลาดซื้อขายซัมเมอร์ แต่กระเทือนมาถึงตลาดเสื้อฟุต.ที่สโมสรผลิตกันไม่ทันเพราะยอดสั่งซื้อถล่มทลาย

เสื้อฟุต.ที่รอดูดเงินแฟนๆ ทุกซีซั่น
เสื้อฟุต.ที่รอดูดเงินแฟนๆ ทุกซีซั่น

ทันทีที่ เมสซี ชูเสื้อเป็นสมาชิกใหม่ของ PSG เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เสื้อแข่งสีกรมท่าหมายเลข 30 ของสตาร์ชาวอาร์เจนไตน์ ถูกสอยไปถึง 150,000 ตัวในเวลาแค่ 30 นาที หมดทุกช่องทางทั้งหน้าร้านและช็อปออนไลน์จน ไนกี้ ต้องเร่งผลิตและเตรียมส่งล็อตใหม่ให้ทันเดือนตุลาคม ขณะที่ โรนัลโด้ คัมแบ็กถิ่น โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ก็มียอดขายเสื้อเบอร์ 7 ของตัวเองถึง 33 ล้านปอนด์ (ประมาณ 1,490 ล้านบาท) ในเวลาครึ่งวัน

ความเชื่อของแฟน.ที่มีมาแต่โบร่ำโบราณ แม้แต่ยุคนี้ก็ยังเชื่ออยู่คือ “ขายเสื้อแป๊ปเดียวก็ได้เงินค่าตัวคืนแล้ว” ยิ่งเป็นนักเตะซูเปอร์สตาร์ ย้ายทีมมาด้วยค่าตัวมหาศาลแค่ไหน ขายเสื้อสัก 2-3 เดือน สโมสรก็ได้เงินกลับคืนเหมือนไม่เสียอะไรเลย ซึ่งเมื่อดูจากตัวเลขยอดขาย ยอดสั่งซื้อ ยอดพรีออเดอร์ ก็ไม่แปลกที่หลายคนจะคิดแบบนั้น แต่ความจริงในโลกธุรกิจมันไม่ใช่ และเป็นความเข้าใจผิดอย่างแรง

เสื้อเบอร์ 30 ของ เมสซี ขาดตลาดแล้ว
เสื้อเบอร์ 30 ของ เมสซี ขาดตลาดแล้ว

ในวงการฟุต. ผู้ผลิตเสื้อฟุต.ที่สโมสรระดับโลกไว้วางใจมีอาทิ ไนกี้, อาดิดาส, พูม่า และยังมียี่ห้อทางเลือกเช่น คัปป้า, อันเดอร์ อาร์เมอร์, วอร์ริเออร์ส, อัมโบร ฯลฯ ตามแต่สโมสรไหนสะดวก ซึ่งความจริงที่หลายคนไม่รู้คือแบรนด์ผู้ผลิตเสื้อฟุต.เหล่านี้ ถ้าเซ็นสัญญาเป็นสปอนเซอร์ชุดแข่งให้กับทีมไหนแล้ว ขายเสื้อได้เท่าไหร่ พวกเขาจะได้เงินก้อนนั้นเพียงผู้เดียว โดยที่สโมสรฟุต.ไม่ได้ส่วนแบ่งใดๆ

ตัวอย่างมีให้เห็นกับ ปารีส แซงต์-แชร์กแมง ทีมเศรษฐีแห่ง ลีก เอิง ฝรั่งเศส เซ็นสัญญากับ ไนกี้ เป็นสปอนเซอร์ชุดแข่งให้ตั้งแต่เสื้อ กางเกง ยันถุงเท้า โดยเสื้อแข่งปกติขายตัวละ 82.95 ปอนด์ (ประมาณ 3,830 บาท) แต่ เปแอสเช จะไม่ได้เงินส่วนแบ่งยอดขายแม้แต่แดงเดียว เพราะตอนเซ็นสัญญากัน พวกเขายอมรับเพียงเงินสัญญาต่อปี 80 ล้านยูโร (ประมาณ 3,150 ล้านบาท) จาก ไนกี้ เพียงอย่างเดียว จ่ายแล้วคือจบกัน

ผู้โชคดีได้ซื้อเสื้อเบอร์ 7 ของพี่โด้ก่อนหมด
ผู้โชคดีได้ซื้อเสื้อเบอร์ 7 ของพี่โด้ก่อนหมด

นั่นเท่ากับว่าต่อให้ปีนี้ PSG ขายเสื้อของ เมสซี รวมถึงดาวเตะอย่าง เนย์มาร์, คีเลียน เอ็มบัปเป้, เซร์คิโอ รามอส, จานลุยจิ ดอนนารุมมา ฯลฯ ได้กี่ล้านตัว ยอดขายที่มาจากเงินในกระเป๋าแฟน.ทั้งหมดก็จะถูกโอนเข้าบัญชี ไนกี้ เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งนั่นทำให้มีข่าว PSG ขอเปิดโต๊ะเจรจากับ ไนกี้ รอบใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงสัญญาให้ทีมยักษ์จากกรุงปารีส ได้ส่วนแบ่งยอดขายเสื้อกลับมาบ้าง

มีรายงานว่าบรรดาสโมสรใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก มักใช้โอกาสที่คุยเรื่องสัญญาธุรกิจกับผู้ผลิตเพื่อขอส่วนแบ่งยอดขายเสื้อเข้าสโมสรบ้าง ซึ่งมีหลายทีมที่ต่อรองได้ส่วนแบ่งขั้นต่ำที่ 7.5% แต่ทีมไหนที่เชี่ยวชาญการใช้วาทศิลป์หน่อย ก็จะโชคดีได้ส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 15% และหากทีมฟุต.นั้นมีอิทธิพลในวงการสูงมาก แถมผลงานในสนามประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ก็จะได้ส่วนแบ่งมากขึ้นไปอีก เช่น ลิเวอร์พูล ที่ได้ส่วนแบ่งยอดขายเสื้อจาก ไนกี้ ถึง 20%

เมสซี ช่วยให้ บาร์ซ่า ครองแชมป์ขายเสื้อปีที่แล้ว
เมสซี ช่วยให้ บาร์ซ่า ครองแชมป์ขายเสื้อปีที่แล้ว

ฤดูกาล 2020-21 ไนกี้ เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ชุดแข่งให้ “หงส์แดง” จากผลงานคว้าแชมป์ พรีเมียร์ ลีก และ ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก เซ็นกัน 5 ปี มูลค่า 150 ล้านปอนด์ (ประมาณ 6,770 ล้านบาท) ขณะที่ฝั่งยอดทีมแห่งเมอร์ซีย์ไซด์ เจรจาได้ส่วนแบ่งยอดขายเสื้ออีก 20% และนั่นก็ทำให้บรรดานักธุรกิจสายลูกหนังพากันชื่นชมที่ ลิเวอร์พูล สามารถต่อรองขอส่วนแบ่งได้ถึงขนาดนี้

คำนวนง่ายๆ เสื้อแข่งลิเวอร์พูล ฤดูกาลปัจจุบันขายตัวละ 80 ปอนด์ (ประมาณ 3,610 บาท) และส่วนแบ่ง 20% จากเสื้อคือ 16 ปอนด์ (ประมาณ 722 บาท) ถ้าภายใน 1 ฤดูกาล พวกเขาขายเสื้อแข่งได้ 80 ล้านปอนด์ (ประมาณ 3,610 ล้านบาท) ก็จะได้ส่วนแบ่งยอดขายเสื้อจาก ไนกี้ 16 ล้านปอนด์ (ประมาณ 722 ล้านบาท) ไม่นับรวมเงินค่าสัญญาที่ได้ก่อนหน้า เรียกว่าเป็นการทำธุรกิจที่ชาญฉลาดยิ่งสำหรับทีมของ เจอร์เกน คล็อปป์

เมื่อถามว่าทำไมทีมฟุต.ส่วนใหญ่ถึงได้ส่วนแบ่งยอดขายเสื้อจากผู้ผลิตน้อยหรือไม่ได้เลย “โกล” วิเคราะห์ว่าฝั่งของผู้ผลิตนั้นมีการลงทุนลงแรงมากกว่า ทั้งเรื่องดีไซน์, วัสดุ, เนื้อผ้า, เทคโนโลยีการผลิต รวมถึงการทดสอบสินค้าก่อนจัดจำหน่าย จะพูดว่าเป็นเรื่องของ “ลิขสิทธิ์” ก็ว่าได้ ผิดกับฝั่งสโมสรฟุต.ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการผลิต แค่รับมาสวมใส่แข่งขันและโปรโมตในสนามเท่านั้น

อาดิดาส รอรับทรัพย์จากยอดขายเสื้อพี่โด้
อาดิดาส รอรับทรัพย์จากยอดขายเสื้อพี่โด้

อาดิดาส แบรนด์ 3 แถบจากเยอรมัน ปัจจุบันเป็นสปอนเซอร์ให้ทีมฟุต.ระดับโลกมากมายทั้ง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, บาเยิร์น มิวนิค, รีล มาดริด, อาร์เซนอล ฯลฯ เปิดตัวเลขยอดขายเสื้อของทุกทีมที่พวกเขาเป็นสปอนเซอร์ให้เมื่อปีที่แล้ว ปรากฏว่าโกยไปทั้งสิ้น 1,500 ล้านปอนด์ (ประมาณ 67,720 ล้านบาท) ถือว่าประสบความสำเร็จมหาศาลและไม่น่าแปลกใจว่าทำไม อาดิดาส ถึงยืนยงในฐานะผู้ผลิตเสื้อฟุต.เบอร์ต้นๆ ของโลกมานานจนถึงปัจจุบัน

ปิดท้ายที่ยอดขายเสื้อฟุต.ในปี 2020 จากการรวบรวมตัวเลขของแต่ละสโมสร บาร์เซโลน่า คือแชมป์ขายดีที่สุด 3,637,000 ล้านตัว และน่าจะเสียแชมป์ในปีนี้หลังการย้ายออกของ ลิโอเนล เมสซี ขณะที่อันดับ 2 เป็น บาเยิร์น มิวนิค ขายได้ 3,312,000 ตัว ต่อมาอันดับ 3 คือ เชลซี ขายได้ 3,102,000 ตัว ตามด้วย อันดับ 4 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ขายได้ 2,977,000 และ รีล มาดริด ยอดขายอันดับ 5 ที่ 2,866,000 ตัว