กระทรวงอุตฯ ผนึกภาคเอกชนดัน “สตาร์ทอัพไทย” 

กระทรวงอุตฯ ผนึกภาคเอกชนดัน “สตาร์ทอัพไทย” 

  • 0 ตอบ
  • 82 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chanapot

  • *****
  • 3237
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ “ดีพร้อม” (DIPROM) เผยผลสำเร็จจากความร่วมมือกับ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการพัฒนาสตาร์ทอัพจากโครงการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ (Angel Fund) และโครงการเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Connect) พร้อมเผยแนวทางการส่งเสริมสตาร์ทอัพในระยะถัดไปด้วยกลยุทธ์การส่งเสริมที่เข้มข้น รวมถึงปลดล็อกข้อจำกัดการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพ พร้อมเดินหน้าจับมือ กับภาคเอกชนเพื่อดำเนินงานแบบบูรณาการอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างการเติบโตธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีนโยบายเร่งผลักดันในการส่งเสริมสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการใหม่อย่างครบวงจร ตั้งแต่การเสริมสร้างความรู้และทักษะในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนเพิ่มช่องทางการค้า และสรรหาโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อให้สามารถพัฒนาธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

โดยดำเนินงานภายใต้ 2 โครงการหลัก คือ โครงการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ หรือ Angel Fund และโครงการเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ Startup Lottovip Connect โดยผลจากการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2559 – 2564 มีสตาร์ทอัพได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ Angel Fund จำนวนกว่า 200 ทีม สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้กว่า 550 ล้านบาท

ส่วนโครงการ Startup Connect ที่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2563 สามารถลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้มากกว่า 25 ล้านบาท และช่วยเชื่อมโยงให้สตาร์ทอัพ เข้าถึงตลาดและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 75 ล้านบาท นอกจากนี้ ความร่วมมือกับพันธมิตรเอกชน ทั้ง 2 บริษัท ยังถือเป็นการร่วมดำเนินงานที่ช่วยยกระดับให้สตาร์ทอัพไทยมีช่องทางในการก้าวไปสู่การเติบโตที่ดียิ่งขึ้น และยังทำให้เกิดมิติใหม่ของการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพในหลากหลายสาขา โดยเฉพาะ “เทคโนโลยีเชิงลึก หรือดีพเทค” ซึ่งเป็นกลุ่มที่กำลังเติบโตได้ทั้งในเชิงมูลค่าและตอบโจทย์เศรษฐกิจ-สังคมได้อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ในนามของกระทรวงฯ ต้องขอขอบคุณทั้ง 2 หน่วยงานที่ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตเชื่อว่ายังคงจะมีการดำเนินงานแบบบูรณาการอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นรูปธรรมได้ต่อไป



ด้าน นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าในปีนี้โครงการ Angel Fund มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ มากกว่า 370 ทีม ผ่านการประชันแนวคิดทางธุรกิจด้านเทคโนโลยีเชิงลึก หรือ Deep Technology โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 50 ทีม ซึ่งได้รับการพิจารณาจากบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้การสนับสนุนเงินทุน จำนวน 3 ล้านบาท และบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 580,000 บาท

ส่วนโครงการ Startup Connect มีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพผ่านการคัดเลือกจำนวน 25 กิจการ จากที่สมัครเข้ามาทั้งหมด 50 กิจการ โดย Startup Connect มุ่งเน้นการเชื่อมโยงให้เข้าถึงเครือข่ายต่างๆ ที่สนับสนุนให้เกิดการเติบโตของสตาร์ทอัพ อาทิ เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาแนะนำ โดยหม่อมหลวงลือศักดิ์ จักรพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด และ ศ.ดร. เอกชัย สุมาลี สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น เครือข่ายตลาดภาคอุตสาหกรรม เครือข่ายนักลงทุน และเครือข่ายนานาชาติ เพื่อต่อยอดไปยังตลาดที่มีมูลค่าสูงขึ้น และเกิด
การร่วมลงทุนซึ่งคาดว่าจะมีสตาร์ทอัพได้รับการลงทุนไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท

สำหรับในระยะถัดไป สิ่งที่ดีพร้อมจะช่วยส่งเสริมให้เกิดสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น คือการสร้างระบบนิเวศผ่าน SandBOX : แซนด์บ็อกซ์ หรือพื้นที่บ่มเพาะธุรกิจโดยใช้ทั้งหน่วยงานภายในกระทรวอุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจเครือข่ายเปิดพื้นที่ให้กับสตาร์ทอัพได้มีโอกาสทดลองใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ทั้งระบบออนไลน์ ออฟไลน์



พร้อมสำรวจปัญหาของภาคอุตสาหกรรม เพื่อเฟ้นหาโซลูชันจากสตาร์ทอัพเข้าไปช่วยยกระดับการดำเนินงานให้ดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาดีพเทคในหลากหลายด้าน อาทิ การแพทย์ครบวงจร การผลิตแห่งอนาคต การเกษตร อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ ฯลฯ ซึ่งดีพเทคเหล่านี้มีความสำคัญต่อการสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจและสังคม ตรงกับความต้องการในตลาดโลก อีกทั้ง ยังลอกเลียนแบบได้ยากและคู่แข่งน้อย เนื่องจากขั้นตอนค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ซับซ้อน และส่วนใหญ่ มีสิทธิบัตรคุ้มครอง

นอกจากนี้ ยังจะปลดล็อกข้อจำกัดการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพ ไม่ว่าจะเป็น การให้ความรู้ด้านแผนธุรกิจเพื่อให้สามารถระดมทุนจากภาคเอกชนได้ง่ายขึ้น การส่งเสริมเข้าระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตลาดสำคัญที่จะทำให้สตาร์ทอัพมีรายได้ ต่อเนื่องไปสู่การร่วมพัฒนาระบบบริการของภาครัฐ ให้มีความทันสมัยตามแนวคิดรัฐบาลดิจิทัลได้มากขึ้น เป็นต้น



นายจาง ช่าย ซิง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทเดลต้าได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรม จึงได้สนับสนุนกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมากว่า 6 ปี เพื่อให้สตาร์ทอัพที่เป็นคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสในการเอาแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ไปต่อยอดให้เป็นผลงานที่สำคัญและสร้างธุรกิจในอนาคต โดยปีนี้มีสตาร์ทอัพที่น่าสนใจหลายบริษัท เช่น บริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในเทคโนโลยีหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยสำหรับใช้ในนิคมอุตสาหกรรม หรือ บริษัท MUI Robotics จำกัด ในในเทคโนโลยีสัมผัสประดิษฐ์สำหรับหุ่นยนต์ในการทดสอบกลิ่นและรสชาติของอาหาร หรือ บริษัทซีดีเทค จำกัด ในเทคโนโลยีการบำบัดน้ำและแยกตะกอนด้วยไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งบริษัทเดลต้ามีความยินดีที่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนกระทรวงอุตสาหกรรม ในการพัฒนาสตาร์ทอัพต่อไป



ด้าน นายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทสามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทสามารถ ได้ไห้การสนับสนุนนักพัฒนาเทคโนโลยี และซอฟต์แวร์ของคนไทยมาโดยตลอด 17 ปี ผ่านโครงการ SAMART Innovation Awards ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างโอกาสให้แก่นักพัฒนาด้านเทคโนโลยีของภาคเอกชนที่ยาวนานที่สุด

ในปีนี้ Deep technology หรือเทคโนโลยีเชิงลึกกำลังมีความสำคัญอย่างมากเพราะโลกทุกวันนี้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งโครงการ Angel Fund 2021 สอดคล้องกับนโยบายของกลุ่มสามารถ ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมนโยบายรัฐบาล ให้ประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิงเทคโนโลยีดิจิทัลและแพลตฟอร์ม ในปีนี้มีสตาร์ทอัพที่น่าสนใจ เช่น บริษัท MUTHA จำกัด ในผลิตภัณฑ์เท้าเทียมนวัตกรรมจากคาร์บอนไฟเบอร์ ที่จะช่วยให้ผู้พิการสามารถเดินได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น บริษัท NEF จำกัดสำหรับเทคโนโลยีระบบเฝ้าระวังผู้ป่วยและผู้สูงอายุบนเตียง และ บริษัท IQMED Innovation สำหรับเทคโนโลยีกล่องเลื่อนย้ายไต เป็นต้น จะเป็นได้ว่าเทคโนโลยีเชิงลึกในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการแพทย์