ม. มหิดล ร่วมกับภาคีเครือข่าย ลงนาม MOU สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กไทย

ม. มหิดล ร่วมกับภาคีเครือข่าย ลงนาม MOU สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กไทย

  • 0 ตอบ
  • 72 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เมื่อวันที่ 10 ก.ย. ศาสตราจารย์ นายแพทย์วชิร คชการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom meeting) เรื่อง “ความร่วมมือด้านการส่งเสริมและพัฒนาทักษะ Digital resilience อย่างรอบด้านสำหรับเยาวชนไทย” พร้อมด้วย ดร.ธนากร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม แพทย์หญิงพรรพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข รองศาสตราจารย์ ดร.สสิธร เทพตระการพร คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ระวี จันทร์ส่อง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงานภาคประชาสังคม ได้แก่ นายโยธิน ทองพะวา ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ดร. ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้สื่อออนไลน์ในเยาวชนให้สามารถปกป้องตนเองและรับมือกับวิกฤติความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์ รวมไปถึงปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying)

ทั้งนี้ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.โธมัส กวาดามูซ หัวหน้าหน่วยความเป็นเลิศการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนายวีระพงษ์ กังวานนวกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและขับเคลื่อนสังคม กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมลงนามเป็นสักขีพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้

สำหรับการลงนามความร่วมมือ (MOU) ในครั้งนี้ จัดโดย หน่วยความเป็นเลิศการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถี และสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กและเยาวชนไทยมีความรู้เท่าทัน และมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัล เพื่อลดผลกระทบจากปัญหา Cyberbullying โดยได้มีการศึกษาวิจัยและพบว่าการสร้างให้เยาวชนมีภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัลต้องมีองค์ประกอบสำคัญที่ครอบคลุมทุกระดับตั้งแต่ระดับความสามารถของบุคคล การสร้างทักษะในโลกออนไลน์และออฟไลน์ การสนับสนุนจากเพื่อน ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน รวมไปถึงระดับสังคมและนโยบาย เนื่องจากในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการรับมือกับความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์ในเยาวชนนั้นจะต้องสร้างให้รอบด้านทั้งในระดับบุคคลและในระดับโครงสร้างไปพร้อม ๆ กัน ผลจากการวิจัยในเบื้องต้นทำให้เห็นว่า การรับมือกับความไม่ปลอดภัยในโลกออนไลน์จำเป็นต้องใช้แนวคิดหรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การส่งเสริมให้เยาวชนแค่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอแล้วสำหรับโลกยุคดิจิทัลที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นการมี Digital resilience จึงอาจจะเป็นหนึ่งในวิธีการใหม่ ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้ต่อไปในอนาคต เพื่อให้เยาวชนสามารถโลดแล่นอยู่บนโลกดิจิทัลได้อย่างมีความสุข ทั้งในมิติด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการเปิดตัว Comprehensive online platform ที่พัฒนาขึ้นในโครงการ ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในโลกออนไลน์ และการบรรยายพิเศษโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและเยาวชนในหัวข้อ “ทำอย่างไรให้เด็กไทยมีภูมิคุ้มกันในการใช้สื่อออนไลน์” โดยมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนไทยมีภูมิคุ้มกันการใช้สื่อออนไลน์อย่างรู้เท่าทันมากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้โลกออนไลน์มีความปลอดภัยสำหรับทุกคน และท่านที่สนใจสามารถติดตามกิจกรรม ข่าวสาร และร่วมสนุกในเกมส์เพื่อตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันในโลกออนไลน์ของท่านได้ที่แฟนเพจมนุษย์โซเชียล https://www.facebook.com/socialholicsTH