“จุรินทร์”ยันประกันรายได้ปาล์มน้ำมัน-ยางพาราปี 3 มาแน่

“จุรินทร์”ยันประกันรายได้ปาล์มน้ำมัน-ยางพาราปี 3 มาแน่

  • 0 ตอบ
  • 80 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hs8jai

  • *****
  • 2219
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยในการเป็นประธานการประชุมติดตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน มอบเช็คชําระหนี้ และมอบโฉนดที่ดินของกองทุนฟื้นฟูเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้แก่เกษตรกร จังหวัดชุมพร ณ โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดําริ ตําบลบางลึก อําเภอเมือง จังหวัดชุมพร ว่า ประกันรายได้ถือว่าเป็นนโยบายสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์และเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญในการเข้าร่วมรัฐบาล โดยได้มีการประกันรายได้พืชเกษตร 5 ตัว คือ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพาราและปาล์มน้ำมัน ตอนนี้ปาล์มน้ำมันราคาเกินกว่ารายได้ที่ประกันไว้ที่กิโลกรัมละ 4 บาท ถือว่าเป็นเรื่องดีเพราะมาตรการที่ช่วยกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐบาล วันนี้ทะลุ 7 บาท ถึง 7.20 บาทแล้ว

ส่วนยางพารา มีปัญหาอยู่ตัวเดียว คือ น้ำยาง ราคาลงเหลือกิโลกรัมละ 40-50 บาทในบางช่วง ราคาต่ำกว่ารายได้ที่ประกันไว้ ที่กิโลกรัมละ 57 บาท เพราะน้ำยางส่วนมากนำไปทำถุงมือยาง แต่เกิดปัญหาโควิด-19 ที่มาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตถุงมือยางมากประเทศหนึ่งของโลก การรับซื้อที่มาเลเซียมีปัญหา เพราะโรงงานผลิตถุงมือยางปิดตัวบางส่วน

ทั้งนี้ ยืนยันว่านโยบายประกันรายได้จะเป็นหลักประกันให้พี่น้อง เช่น ปาล์มน้ำมัน ถ้าราคาต่ำกว่ากิโลกรัมละ 4 บาท เกษตรกรจะมีรายได้ 2 ทาง จากราคาที่ขายในตลาดและเงินส่วนต่าง รวมกันจะเท่ากับรายได้ที่ประกัน
ซึ่งขณะนี้โครงการประกันรายได้เกษตรกรกำลังจะจบปี 2 เหลืองวดสุดท้ายและเราจะเดินหน้าประกันรายได้ปาล์มน้ำมันปี 3 ต่อไป

สำหรับยางพารา ได้ประกันรายได้มาแล้ว 2 ปี ปีนี้จะเป็นปีที่ 3 การยางแห่งประเทศไทยทำเรื่องถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และส่งเรื่องมาที่ตนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติแห่ง ซึ่งจะมีการประชุมในเร็ว ๆ นี้ แล้วจะเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

นายจุรินทร์กล่าวว่า สำหรับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เริ่มก่อตั้งในสมัยชวน 2 (นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 ) และตนเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งข้อ 1 จะช่วยแก้ปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกรที่เป็นหนี้และเอาที่ดินทำกินหรือสินทรัพย์ไปจำนองกับสถาบันการเงิน ถ้าไม่ไปผ่อนชำระตามกำหนดสถาบันการเงินจะยึดที่ดินขายทอดตลาด และฟ้องร้องดำเนินคดี กองทุนฟื้นฟูเกิดขึ้นเพื่อช่วยพี่น้องที่เป็นหนี้ไม่ให้ถูกยึดที่ทำกินและไม่ต้องให้สถาบันการเงินมาฟ้องดำเนินคดีโดยจะช่วยรับซื้อหนี้จากสถาบันการเงิน โอนหนี้มาเป็นของกองทุนแทนและมาผ่อนชำระกับกองทุนแทนสถาบันการเงิน โดยเงื่อนไขพิเศษผ่อนปรน 1.ไม่มีดอกเบี้ย 2.ไม่มีการยึดที่ดินทำกินเพราะต้องการช่วยให้มีที่ดินทำกินต่อไป ถ้าผ่อนหมดกองทุนฟื้นฟูจะคืนโฉนดให้กับพี่น้อง

“วันนี้ที่จังหวัดชุมพร มามอบโฉนดหรือออกประกาศนียบัตรให้กับผู้ที่ไม่มีโฉนดแต่ผ่อนหมดแล้วกับกองทุนฟื้นฟู จำนวน 86 ราย ประกอบด้วยผู้ที่ได้โฉนด 18 รายและที่เหลืออีกจำนวนหนึ่งที่กองทุนซื้อหนี้จากสหกรณ์หรือกลุ่มสหกรณ์ให้มาเป็นหนี้กองทุนเมื่อผ่อนหมดคืนที่ดินคืนหลักทรัพย์ให้ ขอแสดงความยินดีกับพี่น้อง และประกาศว่าเราจะเดินหน้าทำต่อไป”

อย่างไรก็ตาม เมื่อพี่น้องเป็นไทกับตัวเองแล้ว เรามีภารกิจ มีงบประมาณจัดให้กลุ่มเกษตรกรกลุ่มที่น้องไปฟื้นฟูเกษตรกรไปทำอาชีพทำโครงการต่างๆ ตามที่ร้องและกองทุนเห็นสมควร โดยวันนี้มีการทำโครงการฟื้นฟูจำนวน 4 โครงการ โครงการส่งเสริมให้เกษตรกรช่วยดูแลพัฒนาทั้งการผลิตและการตลาด เรื่องปาล์มน้ำมัน 2 โครงการ ยางพารา 1 โครงการ และทำปศุสัตว์อีก 1 โครงการ รวมวงเงิน 3,600,000 บาท ขอให้ใช้เงินจำนวนนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และตนได้นำกระทรวงพาณิชย์มาช่วยด้วย เพราะบางที่มีแต่โครงการผลิตให้กระทรวงพาณิชย์มาจับมือกับกองทุนฟื้นฟู ภายใต้ “กองทุนฟื้นฟูผลิตพาณิชย์ตลาด” ทำในสิ่งที่ตลาดต้องการ จะทำให้พี่น้องมีอนาคตมากขึ้น

สำหรับภาพรวมทั้งประเทศ เราสามารถดำเนินการตั้งแต่ปี 2540 สมัยรัฐบาลชวน 2 รวม 7,300 ล้านบาทที่ช่วยเหลือในทุกรูปแบบ มีเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือซื้อหนี้ไปแล้วประมาณ 30,000 ราย