'สุขภาพจิต' คนไทยเครียด ซึมเศร้า มีการปรับตัวสูง

'สุขภาพจิต' คนไทยเครียด ซึมเศร้า มีการปรับตัวสูง

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ผลสำรวจ "สุขภาพจิต" ในสถานการณ์ระบาดระลอกใหม่ พบว่าคนไทยปรับตัวรับมือสถานการณ์ได้ดีมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2563 โดยพลังใจจากครอบครัวและคนใกล้ชิดยังเป็นปัจจัยสำคัญ และขณะนี้พบความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตสูงในกลุ่มแรงงานโดยเฉพาะกลุ่มรับจ้างขับรถสาธารณะ จึงจัดเวทีเสวนาระหว่างกรมสุขภาพจิตและผู้แทนกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบเพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหาด้านสุขภาพจิตในกลุ่มวัยแรงงาน และบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วน

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตได้ดำเนินการติดตามผลกระทบสถานการณ์โควิด 19 มาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มมีการระบาดในประเทศไทย ในภาพรวมของผลสำรวจ ความเครียด อาการซึมเศร้า ความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง มีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19 มากขึ้น

แต่การปรับตัวสูงขึ้นของปัญหาด้านสุขภาพจิตในช่วงการระบาดของปี 2564 ยังไม่ถึงระดับเดียวกับช่วงที่มีการระบาดในช่วงเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งสะท้อนว่าประชาชนส่วนหนึ่งมีพลังใจที่ดีมากขึ้น เริ่มมีการปรับตัวรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดได้ดีมากขึ้น


'พลังใจ'คนไทยมาจากคนในครอบครัวและคนใกล้ชิด
เมื่อสำรวจ 'พลังใจ' ของคนไทยปี 2564 พบว่าปัจจัยด้าน'พลังใจ'ที่คนไทยมีอยู่มากที่สุด คือการมีคนในครอบครัวและคนใกล้ชิดเป็นกำลังใจ รองลงมาเป็นการมองว่าการแก้ปัญหาทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น และตามมาด้วยความสามารถในการจัดการปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ จากผลสำรวจยังพบอีกว่า สำหรับคนที่มีพลังใจลดน้อยลงจะทำให้รู้สึกว่าปัญหายากลำบากมากขึ้นและกังวลว่าจะเอาชนะปัญหานั้นไม่ได้

นอกจากนี้ 'กรมสุขภาพจิต' ได้นำผลสำรวจล่าสุดมาจำแนกตามอาชีพ พบว่าระดับความเครียดมาก-มากที่สุด ในรายอาชีพกลุ่มรับจ้างขับรถสาธารณะมีอัตราสูงสุด (ร้อยละ 14.8) รองลงมาเป็น กลุ่มว่างงาน (ร้อยละ 8.8) และบุคลากรสาธารณสุข (ร้อยละ 6) ตามลำดับ ซึ่งอาชีพกลุ่มรับจ้างขับรถสาธารณะนี้ มีทั้งอาการซึมเศร้า (ระดับค่อนข้างมาก-มาก ที่ร้อยละ 7.4) และความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง (ระดับค่อนข้างบ่อย-เกือบทุกวัน ที่ร้อยละ 3.7) ซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุดในทุกกลุ่มอาชีพอีกด้วย

พญ.พรรณพิมล กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลกระทบที่สำคัญที่เราสังเกตได้จากผลรายงานล่าสุด คือผลกระทบด้าน 'สุขภาพจิต' ที่มีต่อกลุ่มแรงงาน จึงเป็นที่มาของการประชุมหารือกับผู้แทนกลุ่มแรงงานในวันนี้ ที่จะช่วยทำให้กรมสุขภาพจิตสามารถดำเนินงานได้ตรงตามความต้องการของกลุ่มแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ และสื่อสารเรื่องการสร้างวัคซีนใจในองค์กรของวัยทำงาน


ร่วมสร้าง 'สุขภาพจิต' ที่ดีให้แก่แรงงาน
เน้นการสร้าง safe calm hope care ในชุมชน องค์กร และสังคม จะช่วยให้ประชาชนมีมุมมองปัญหาเปลี่ยนไปในทางบวกมากขึ้น การที่แรงงานไทยมีสุขภาพจิตดีจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติผ่านวิกฤตต่อไปได้

การจัดเวทีเสวนา ได้ทำความเข้าใจร่วมกันถึงสถานการณ์ด้าน 'สุขภาพจิต' ของคนไทยโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานร่วมกันวางแผนสนับสนุนโครงการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตกลุ่มแรงงานในระบบภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจาก 'โควิด-19' ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.

สำนักสร้างสรรค์และโอกาส ซึ่งทำงานกับแรงงานในสถานประกอบการจำนวน 13 แห่ง ในพื้นที่ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา อยุธยา อ่างทอง สมุทรสาคร นครปฐม กรุงเทพฯ และวางแผนการทำงานแบบบูรณาการระหว่างทุกภาคส่วนเพื่อมุ่งให้เกิดสุขภาพจิตที่ดีและลดความสูญเสียจากปัญหาด้านสุขภาพจิตในกลุ่มวัยแรงงานของประเทศไทย