“สุพัฒนพงษ์”โชว์แผนดันเศรษฐกิจถึงต้นปี 65

“สุพัฒนพงษ์”โชว์แผนดันเศรษฐกิจถึงต้นปี 65

  • 0 ตอบ
  • 85 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

dsmol19

  • *****
  • 2466
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในการสัมมนาหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทยใครชี้ชะตา” จัดโดย TNN ช่อง 16 ว่า การระบาดของโควิด-19 เริ่มบรรเทาลงหลังจากที่รัฐบาลใช้มาตรการต่างๆ และคาดว่าสิ้นปี 2564 ทุกอย่างจะเป็นไปตามเป้าหมายระดับหนึ่ง แต่ยังต้องตั้งรับกับสายพันธุ์เดลต้าที่ระบาดง่าย รัฐบาลต้องหามาตรการป้องกันเพื่อให้กระทบเศรษฐกิจน้อยที่สุด และมั่นใจว่าจากนี้ไปสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ทุกคนต้องช่วยกันปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข

เศรษฐกิจไทยโดยรวมมีโครงสร้างพึ่งธุรกิจบริการ ซึ่งการระบาดทำให้การท่องเที่ยวหายไปและรัฐบาลต้องกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอื่นเพื่อปิดหลุมรายได้ตรงนี้ ซึ่งช่วงไตรมาส 2 ปี 2564 จีดีพีไทยขยายตัว 7.5% ดังนั้นหากผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ ตั้งแต่ 1 ก.ย.เป็นต้นไป และรักษาสถานการณ์ได้ผลลัพธ์ที่ออกมาน่าจะบวกและขยายตัวอย่างต่อเนื่องถึงต้นปี 2565

ส่วนความมั่นคงอื่นจะเห็นเอกชนปรับตัวและพัฒนาธุรกิจได้ดี โดยผลประกอบการเอกชนที่โตขึ้นทำให้เห็นโอกาสการขยายลงทุนในไทยและต่างประเทศ และเห็นต่างประเทศที่อยากมาลงทุนไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) รายงานว่าครึ่งปีแรก 2564 ขอรับส่งเสริมการลงทุน 4 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมากว่าเท่าตัว คาดว่าสิ้นปีนี้ มีมากถึง 6 แสนล้านบาท


ด้านรายได้ภาคบริการ การอุปโภคบริโภค คาดว่าจะดีขึ้นตามลำดับจากการคลายมาตรการล็อคดาวน์ ซึ่งรัฐบาลมีมาตรการสนับสนุน เช่น "คนละครึ่ง" รวมถึง "เราเที่ยวด้วยกัน" ที่ยังเหลืออยู่ ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าต้องใช้เวลาสักระยะกว่าคนจะกลับมาท่องเที่ยวทั้งโลก โดยเตรียมช่องทางเปิดประเทศไว้ คือ "ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์" ซึ่งมีผู้สนใจหลักหมื่นคนแล้วยอดจองห้องพักทะลุ 5 แสนห้องแล้ว ซึ่งจะเป็นต้นแบบสำหรับการเปิดแหล่งท่องเที่ยวอื่น รวมทั้งหลายประเทศจับตามองเพื่อเป็นต้นแบบเช่นกัน โดยรัฐบาลมีจะยกระดับเพิ่มนักท่องเที่ยวภายใต้มาตรการที่ปลอดภัยด้านสาธารณสุข เพื่อปิดหลุมจากการท่องเที่ยวที่หายไปให้โดยเร็วสุด

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา มี 160 โครงการ จะใช้ประโยชน์เหล่านี้เป็นฐานรองรับการลงทุน ซึ่งจะทยอยเสร็จเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างดี ซึ่งเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนช่วงต้นๆที่เข้ามากว่า 40% ส่วนใหญ่อยู่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวัน หรืออีอีซี จึงมั่นใจว่าอีอีซีจะ เป็นส่วนที่ขยายเดินหน้าต่อไปได้


ด้านนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม การลดก๊าซเรือนกระจก หากต้องทำให้ 0% ต้องใช้งบประมาณ 7 แสนล้านบาทต่อปี เพื่อซื้อคาร์บอนเครดิต ซึ่งภาวะโลกร้อนนั้นจะกลายเป็นภาระในอนาคต โดยจะเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดขึ้นเรื่อยๆ เช่นหิมะตก พายุเข้า เสียหายมาก ที่สหรัฐอเมริกา ดังนั้นรัฐบาลจึงเตรียมประกาศ เป้าหมายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พลังงานทดแทน สร้างความหลากหลายชีวภาพ การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การสร้างงานสร้างธุรกิจที่เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น ซึ่ง

ด้านอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป มีความแข็งแรงมาก การส่งออกได้ดี สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าแม้มีโควิด คาดว่าจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาหารที่ปลอดภัยได้ และจะตามด้วยอุตสาหกรรมใหม่จึงต้องทำ ซึ่งบีโอไอระบุว่าอุตสาหกรรมใหม่เหล่านี้เริ่มเข้ามากแล้ว ซึ่งจะยึดโยงกับเอสเอ็มอีเพื่อให้อยู่รอดให้ได้

ด้านการดูแลภาคประชาชน นั้นรัฐใช้งบประมาณ 1 ล้านล้านบาท ให้ความช่วยเหลือช่วงการระบาด ซึ่งปัจจุบันงบประมาณจากวงเงินกู้เหลือ 4 แสนล้านบาท จาก 5 แสนล้านบาท เพื่อเตรียมช่วยเหลือเยียวยาและดูจากความพร้อมของธนาคารพาณิชย์ที่ยังเข้มแข็งดี ทำให้มั่นใจว่า เมื่อพ้นโควิดไปแล้วไทยพร้อมจะเติบโต โดยหนี้สาธารณะไม่ได้สูงเกินไป เมื่อเทียบกับชาติอื่น