“พาณิชย์” ชี้ช่องผู้ส่งออกขาย “เสื้อผ้าเด็ก” เจาะตลาดตะวันออกกลาง

“พาณิชย์” ชี้ช่องผู้ส่งออกขาย “เสื้อผ้าเด็ก” เจาะตลาดตะวันออกกลาง

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายปณต บุณยะโหตระ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดเผยว่า สำนักงานฯ ได้ติดตามสถานการณ์การจำหน่ายสินค้าเสื้อผ้าเด็กในตลาดตะวันออกกลาง ตามนโยบายที่ได้รับจาก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยพบว่าสินค้าเสื้อผ้าเด็กของไทยเป็นสินค้าระดับกลางกลุ่ม B+ มีคู่แข่งหลักเป็นสินค้าของตุรกี และเสื้อผ้าเด็กที่นำเข้าจากเวียดนาม กัมพูชา ศรีลังกา ซึ่งเป็นสินค้าผลิตภายใต้แบรนด์ยุโรปและอเมริกา โดยสินค้าไทยได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน ทำให้มีโอกาสในการทำตลาด

สำหรับรูปแบบของสินค้า ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยจะต้องออกแบบสินค้าให้แปลกใหม่ทันสมัยอยู่เสมอ ออกแบบเสื้อผ้าเป็นเซตให้ถูกใจพ่อแม่ที่เป็นผู้ตัดสินใจซื้อ และรักษาคุณภาพของสินค้าให้สม่ำเสมอ เพราะสินค้าไทยมีความเสียเปรียบจีนในด้านราคา จึงต้องสู้ด้วยคุณภาพ

ส่วนช่องทางการจำหน่ายหลัก กว่าร้อยละ 70 ยังเป็นร้านค้าปลีกเสื้อผ้า ห้างสรรพสินค้า แต่ก็มีแนวโน้มว่าตลาดค้าปลีกออนไลน์กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออกต้องเร่งปรับตัวและพัฒนากลยุทธ์เพื่อรองรับการขยายตัวของช่องทางนี้ เนื่องจากพฤติกรรมการซื้อ ความต้องการของพ่อแม่ผู้ปกครองรุ่นใหม่ยุคมิลเลนเนียลให้ความสำคัญต่อการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

ทางด้านการเข้าสู่ตลาด ผู้ส่งออกไทยสามารถใช้ดูไบเป็นฐานในการส่ออก แล้วส่งออกต่อไปยังประเทศอื่นๆ เช่น กลุ่มประเทศแอฟริกา ยุโรปตะวันออก กลุ่มประเทศ CIS ประเทศโอมาน เยเมน อิรัก และอิหร่าน เป็นต้น

ปัจจุบันเสื้อผ้าเด็กและของใช้สำหรับเด็กยังคงเป็นตลาดที่น่าจับตามอง โดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 10 ล้านคน เป็นชาวต่างชาติ 8.84 ล้านคน จากเอเชียใต้ (อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล ศรีลังกา) อิหร่าน ฟิลิปปินส์ และอื่นๆ ชาวอาหรับยูเออีพื้นเมืองมีจำนวน 1.2 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.5 ของประชากร สำหรับประชากรเด็กอายุ 0-14 ปี มีจำนวน 1.4 ล้านคน