ไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปคู่เจรจา FTA ช่วง 7 เดือนปี 64 

ไทยส่งออกสินค้าเกษตรไปคู่เจรจา FTA ช่วง 7 เดือนปี 64 

  • 0 ตอบ
  • 66 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าเกษตร (กสิกรรม ประมง และปศุสัตว์) ไปยัง 18 ประเทศที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ด้วย ได้แก่ อาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย เปรู ชิลี และฮ่องกง ในช่วง 7 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-ก.ค.) พบว่ามีมูลค่ารวม 11,664.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 75.75% ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของไทย ขยายตัวถึง 33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยไทยครองแชมป์เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอันดับ 1 ในอาเซียน ตามด้วยเวียดนาม และอินโดนีเซีย

สำหรับตลาด FTA ที่มีการส่งออกขยายตัวสูง ได้แก่ เกาหลีใต้ เพิ่ม 268% เมียนมา เพิ่ม 91% อินเดีย เพิ่ม 85% ชิลี เพิ่ม 68% จีน เพิ่ม 66% มาเลเซีย เพิ่ม 51% ฟิลิปปินส์ เพิ่ม 43% ญี่ปุ่น เพิ่ม 13% และเปรู เพิ่ม 11% เป็นต้น ส่วนสินค้าเกษตรที่มีการส่งออกขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่ม 55% ยางพารา เพิ่ม 58% ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง เพิ่ม 3% ไก่แปรรูป เพิ่ม 4% เครื่องเทศและสมุนไพร เพิ่ม 147% และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง เพิ่ม 55% โดยผลไม้สำคัญที่เพิ่มขึ้น เช่น ทุเรียนสด เพิ่ม 65% ลำไยสด เพิ่ม 44% มังคุด เพิ่ม 22% และมะม่วงสด เพิ่ม 52%

นางอรมนกล่าวว่า FTA มีส่วนสำคัญในการสร้างแต้มต่อทางการค้าให้แก่สินค้าเกษตรของไทยในตลาดโลก เนื่องจากประเทศไทยมี FTA ด้วย ได้ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าเกษตรที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่แล้ว ทำให้สินค้าไทยได้เปรียบด้านราคาและต้นทุนทางภาษี เมื่อต้องแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่น ช่วยให้สินค้าเกษตรมีการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับสถิติการใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกสินค้าเกษตรด้วย FTA โดยเฉพาะผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และไก่แปรรูป ยางพารา และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง

ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในอนาคต พบว่ามีโอกาสสูงที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพเศรษฐกิจของตลาดส่งออกสำคัญเริ่มฟื้นตัว ประกอบกับการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ การฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2564 โดยปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระทบต่อการส่งออกของไทยยังคงเป็นเรื่องการควบคุมแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศ จึงต้องควบคุมไม่ให้กระทบต่อการผลิตของโรงงานและแหล่งผลิตสินค้าสำคัญของไทย