ร้องก.ล.ต. สอบบอร์ดSTEC-STPIฝ่าฝืนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่เข้าซื้อSTIT

ร้องก.ล.ต. สอบบอร์ดSTEC-STPIฝ่าฝืนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่เข้าซื้อSTIT

  • 0 ตอบ
  • 80 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Shopd2

  • *****
  • 2300
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




 นางน้ำทิพย์ วิชชุเกรียงไกร ในฐานะตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ  STEC ได้ยื่นหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)เมื่อวันที่ 8 ก.ย.2564โดยหนังสือระบุว่าขอให้ก.ล.ต.ดำเนินการสอบสวนคณะกรรมการของSTEC เนื่องจาก การกระทำของคณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย  ได้กระทำการโดยทุจริต และฝ่าฝืนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น

รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลที่เป็นเท็จต่อผู้ถือหุ้นและประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิด พ.ร.บ. หลักทรัพย์ และ พ.ร.บ. บริษัท มหาชน ทำให้ข้าพเจ้า ผู้ถือหุ้นทุกคน และบริษัทได้รับความเสียหายจากการกระทำการดังกล่าว 

ทั้งนี้ ในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ทางคณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย ได้ขอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการเข้าซื้อกิจการ บริษัท เอส ที ไอ จำกัด หรือ STIT จากบริษัท เอส ที พี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน) หรือ STPI ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของซิโน-ไทย โดยประธานกรรมการ นายเรวัติ ฉ่ำเฉลิม กล่าวให้ความมั่นใจ และตอบคำถามต่อผู้ถือหุ้น ถึงข้อดีและผลดีระยะยาวของการเข้าซื้อ Lottovip STIT

นอกจากนี้ นายวัลลภ รุ่งกิจวรเสถียร ได้ชี้แจงข้อดี และประโยชน์ต่าง ๆ ที่ ซิโน-ไทย จะได้รับจากการซื้อ STIT ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบ เช่น การเข้าซื้อ STIT เป็นการสนับสนุนธุรกิจของบริษัท ทำให้บริหารต้นทุนได้ดี และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดี เป็นต้น

ทำให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเชื่อข้อมูลดังกล่าว และเห็นว่าธุรกิจในอนาคตของบริษัทจะดียิ่งขึ้นจากการซื้อ STIT ตามที่นายวัลลภ รุ่งกิจวรเสถียร ให้ความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้นทุกราย ประกอบกับมีความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระที่แต่งตั้งโดย ซิโน-ไทย ว่าการเข้าทำรายการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท และทำให้บริษัทมีกำไรสูงกว่าเดิม

ดังนั้น ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจึงมีมติอนุมัติการเข้าซื้อกิจการ STIT อย่างไรก็ตาม นับจนถึงวันนี้ เวลาได้ล่วงเลยมาเกือบจะ 1 ปีแล้ว แต่ ซิโน-ไทย ยังไม่ได้เข้าซื้อกิจการ STIT และไม่ได้แจ้งความคืบหน้าใด ๆ ให้ผู้ถือหุ้นทราบเลย ซึ่งการกระทำดังกล่าวผิดปกติวิสัยของการประกอบธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริตเป็นอย่างมาก 


จนกระทั่งข้าพเจ้ามีหนังสือสอบถามไปยังคณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564 ซิโน-ไทย จึงได้แจ้งความคืบหน้าในวันที่ 23 สิงหาคม 2564 ว่า ”บริษัทฯ ยังไม่ได้มีข้อตกลงใด ๆ เพื่อการลงนามเกี่ยวกับเอกสารสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมดังกล่าวแต่อย่างใด

 นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าคณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย อาจจะจัดประชุมขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากใกล้ที่จะอนุมัติงบไตรมาส ซึ่งอาจมีวาระให้ยกเลิกการซื้อกิจการดังกล่าว  จึงเห็นได้ชัดว่าพฤติกรรมดังกล่าวของคณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย มีความไม่โปร่งใส และมีเจตนาจงใจฝ่าฝืนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของซิโน-ไทย และทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยซิโน-ไทย ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 22,700 คน และบริษัทเสียหาย ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ขาดความรับผิดชอบ ขาดความซื่อสัตย์สุจริต และขัดต่อกฎหมาย และไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นทุกคน (มาตรา 89/7 และ 89/18 ของพ.ร.บ. หลักทรัพย์ และมาตรา 85 ของ พ.ร.บ. บริษัท มหาชน) นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวยังทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยของ STPI ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 11,400 คน เสียหายอีกต่างหาก
ดังนั้น ข้าพเจ้า ในฐานะตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยของ ซิโน-ไทย จึงขอร้องเรียนต่อท่านเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยของ ซิโน-ไทย ให้ท่านดำเนินการสอบสวน และเอาผิดขั้นสูงสุด ทั้งจำคุกและปรับ ต่อคณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย ที่กระทำการโดยทุจริต จงใจฝ่าฝืนมติ และเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นและประชาชนทั่วไป ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งส่งผลต่อราคาหุ้นของ ซิโน-ไทย และ STPI และเป็นผลให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนมากหลงเชื่อข้อมูลที่เป็นเท็จ และทำการซื้อ หรือถือหุ้นของซิโน-ไทย ต่อไป เป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนมากและบริษัทเสียหายอย่างร้ายแรง (มาตรา 89/20, 89/21, 281/2, 240, 306, 309, 311 และ 315 ของพ.ร.บ. หลักทรัพย์) และการกระทำดังกล่าวของคณะกรรมการบริษัทซิโน-ไทย ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้บริษัทถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนมากอีกต่างหาก

 นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอให้ท่านมีคำสั่งให้ถอดถอนกรรมการทุกคนออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท ซิโน-ไทย และบริษัทอื่น ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากกรรมการกระทำการโดยทุจริตและขาดคุณสมบัติที่ดีที่กรรมการบริษัทจดทะเบียนพึงจะมี (มาตรา 89/3 ของพ.ร.บ. หลักทรัพย์) เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง และเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกคน ทั้งผู้ถือหุ้นรายย่อยของ ซิโน-ไทย และผู้ถือหุ้นรายย่อยของ STPI

นายภานุพงศ์ คุโณปการพันธ์ ในฐานะตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท เอส ที พี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน) STPIได้ยืนหนังสือถึงเลขาธิการก.ล.ต. ให้ดำเนินการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย โดยหนังสือระบุว่า คณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย ได้กระทำการโดยทุจริต และฝ่าฝืนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลที่เป็นเท็จต่อผู้ถือหุ้นและประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิด พ.ร.บ. หลักทรัพย์ และ พ.ร.บ. บริษัท มหาชน ทำให้ข้าพเจ้า ผู้ถือหุ้นทุกคน และ STPI ได้รับความเสียหายจากการกระทำการดังกล่าว 
          ทั้งนี้ ในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ STPI ได้มีมติอนุมัติการขายกิจการ STIT ให้แก่ ซิโน-ไทย ซึ่ง STIT เป็นบริษัทในเครือของซิโน-ไทย อย่างไรก็ตาม นับจนถึงวันนี้ เวลาได้ล่วงเลยมาเกือบจะ 1 ปีแล้ว แต่ ซิโน-ไทย ยังไม่ได้เข้าซื้อกิจการ STIT จาก STPI แต่อย่างใด ซึ่งผิดปกติวิสัยของการประกอบธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริตเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของซิโน-ไทย และ STPI ได้มีมติอนุมัติให้เข้าทำรายการดังกล่าวแล้ว ซึ่งข้าพเจ้าได้ทำหนังสือสอบถามเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 แต่ไม่ได้รับการชี้แจงแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ยังมีกระแสข่าว่าคณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย อาจจะจัดประชุมขึ้นในเร็ว ๆ นี้ เพื่อยกเลิกการซื้อกิจการดังกล่าว  ซึ่งหากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย มีมติให้ยกเลิกการซื้อ STIT จริง จะทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยของ STPI ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 11,400 คน และ STPI เสียหายเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ถือหุ้นรายย่อยของ STIT จำนวนมากได้ซื้อและถือหุ้นของ STIT ไว้ เนื่องจากเชื่อว่า ซิโน-ไทย จะเข้าซื้อ STIT ตามที่ได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของซิโน-ไทย และเปิดเผยต่อข้อมูลต่อสาธารณะ ซึ่งจะทำให้ STIT มีรายได้จากการขาย STPI เกือบทั้งสิ้น 700 ล้านบาท

จึงเห็นได้ชัดว่าหากคณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย มีมติยกเลิกการซื้อ STIT จริง จะเป็นการกระทำที่จงใจฝ่าฝืนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของซิโน-ไทย และ STIT และไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยของ STIT จำนวนมากกว่า 11,400 คน และ STIT แต่อย่างใด ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่มีจริยธรรม ขาดความรับผิดชอบ ขาดความซื่อสัตย์สุจริต และขัดต่อกฎหมาย และไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นทุกคน (มาตรา 89/7 และ 89/18 ของพ.ร.บ. หลักทรัพย์ และมาตรา 85 ของ พ.ร.บ. บริษัท มหาชน) 

ดังนั้น ข้าพเจ้า ในฐานะตัวแทนกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยของ STIT จึงขอร้องเรียนต่อท่านเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยของ STIT และบริษัท STIT ให้ท่านดำเนินการสอบสวน และเอาผิดขั้นสูงสุด ทั้งจำคุกและปรับ ต่อคณะกรรมการบริษัท ซิโน-ไทย ที่กระทำการโดยทุจริต จงใจฝ่าฝืนมติ และเปิดเผยข้อมูลอันเป็นเท็จต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นและประชาชนทั่วไป ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งส่งผลต่อราคาหุ้นของ STPI และเป็นผลให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนมากหลงเชื่อข้อมูลที่เป็นเท็จ และทำการซื้อ หรือถือหุ้นของ STPI ต่อไป เป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยจำนวนมากและบริษัทเสียหายอย่างร้ายแรง (มาตรา 89/20, 89/21, 281/2, 240, 306, 309, 311 และ 315 ของพ.ร.บ. หลักทรัพย์) และการกระทำดังกล่าวของคณะกรรมการบริษัทซิโน-ไทย ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้ STPI ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนมากอีกต่างหาก  

นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอให้ท่านมีคำสั่งให้ถอดถอนกรรมการทุกคนออกจากการเป็นกรรมการของบริษัท ซิโน-ไทย และบริษัทอื่น ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากกรรมการกระทำการโดยทุจริตและขาดคุณสมบัติที่ดีที่กรรมการบริษัทจดทะเบียนพึงจะมี (มาตรา 89/3 ของพ.ร.บ. หลักทรัพย์) เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง และเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยของ STPI