ซิงเกอร์รุกไซเบอร์สู้‘ดิสรัป’ ตั้งเป้าเบอร์1สินเชื่อเช่าซื้อ

ซิงเกอร์รุกไซเบอร์สู้‘ดิสรัป’ ตั้งเป้าเบอร์1สินเชื่อเช่าซื้อ

  • 0 ตอบ
  • 81 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Cindy700

  • *****
  • 3330
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ชื่อของ “ซิงเกอร์” เข้ามาประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 อยู่เคียงคู่สังคมไทยมายาวนาน!! เป็นองค์กรข้ามศตวรรษ หากนับจากการขายสินค้าตัวแรก คือ จักรเย็บผ้า ถือเป็นจุดตั้งต้นอย่างจริงจังในปี 2432  บริษัท ซิงเกอร์แห่งสหรัฐอเมริกา ได้แต่งตั้ง บริษัท เคียมฮั่วเฮง จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายจักรเย็บผ้าซิงเกอร์ในประเทศไทย ในรอบปี 2562 นี้ กิจการซิงเกอร์อายุครบ 130 ปี

เส้นทางซิงเกอร์หลังก่อกำเนิด ต่อมาในปี 2448 บริษัท ซิงเกอร์แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ตั้งสาขาขึ้นในไทย ใช้ชื่อว่า บริษัท ซิงเกอร์ โซอิ้ง แมชีน จำกัด เพื่อจำหน่ายจักรเย็บผ้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับจักรเย็บผ้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ พร้อมๆ กับริเริ่ม “บริการซื้อหวยออนไลน์เช่าซื้อ” โดย “ผ่อนชำระเป็นงวด” มาใช้ครั้งแรกในปี 2468 บริการดังกล่าวนี้เอง ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของ “ซิงเกอร์” ทั้งในไทย และประเทศต่างๆ ในเอเชียนับแต่นั้นมา

ในช่วงต้น หรือกว่า 50 ปีของธุรกิจซิงเกอร์จำหน่ายเฉพาะจักรเย็บผ้าและผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับจักรเย็บผ้าเท่านั้น กระทั่งปี 2500 ขยับเข้าสู่การจำหน่าย “เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน” เริ่มจากตู้เย็น ก่อนปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2512  ได้จดทะเบียนก่อตั้ง “บริษัท ซิงเกอร์ ประเทศไทย จำกัด” เป็นบริษัทจำกัดภายใต้กฎหมายไทย เพื่อเข้ารับช่วงธุรกิจของ “บริษัท ซิงเกอร์ โซอิ้ง แมชีน จำกัด” ซึ่งหยุดดำเนินกิจการในระยะเวลาต่อมา โดยมีทุนจดทะเบียนแรกเริ่ม 60 ล้านบาท 

ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 270 ล้านบาท เป็นทุนที่เรียกชำระเต็มมูลค่าหุ้นแล้ว 270 ล้านบาท และบริษัทได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2527 ในวันที่ 4 ม.ค.2537 ซิงเกอร์ แปรสภาพเป็น “บริษัทมหาชน” และนับเป็นเกียรติประวัติและเป็นสิริมงคลสูงสุดแก่บริษัทและพนักงานทุกคน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราตั้ง (พระครุฑพ่าห์) ให้ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 24 พ.ค.2547

 การยืนหยัดของซิงเกอร์ท่ามกลางวิกฤติการณ์และการเปลี่ยนแปลงทุกๆ มิติรอบด้านในหลายยุคหลายสมัยเป็นเพราะ “ซิงเกอร์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่งนับจากก่อตั้งบริษัท!! ทำให้ดำรงกิจการมาได้เป็นร้อยปี”  เป็นประโยคเริ่มต้นของ กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะแม่ทัพ กล่าวย้ำว่า 

การขับเคลื่อนธุรกิจจากนี้ ยังคงยึด “การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา” เรียกว่า ทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้ก้าวทันยุคสมัย!! เป็นหัวใจหลักของซิงเกอร์ในการสร้างการเติบโตมั่นคงและยั่งยืนต่อเนื่องในรอบศตวรรษหน้า

“หากนับจากสินค้าซิงเกอร์เริ่มเข้าสู่ประเทศไทย ปีนี้เป็นปีที่ 168 เราเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4  แต่ละช่วงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในยุค 130 ปีที่แล้ว เริ่มเข้ามาทำกิจการเอง จากขายจักรเย็บผ้า ขยับมาขายเครื่องใช้ไฟฟ้า และผันตัวเองมาขายอุปกรณ์หยอดเหรียญ หรือสินค้าเพื่อเชิงพาณิชย์ นี่คือการเปลี่ยนแปลงของการขาย”

โดยระหว่างการขายสินค้าแต่ละรูปแบบ ซิงเกอร์เปลี่ยนแปลงจาก “เงินสด” ริเริ่มการขาย “เงินผ่อน” กระทั่งการเปลี่ยนใหญ่สุดช่วงปี 2558 มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ภายใต้ บริษัท เจมาร์ท จำกัด (มหาชน)  ได้เพิ่มสินค้ากลุ่มอื่นเข้ามามากขึ้น รวมทั้งเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน!! 

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นแต่ “แบรนด์ดิ้งซิงเกอร์” ยังคงอยู่!!  อย่างที่รับทราบกันว่า ซิงเกอร์กับคนไทยผูกพันกันมาช้านานด้วยรูปแบบการขาย เป็นการขายตรงให้บริการถึงบ้าน ภายใต้ระบบเช่าซื้อ และเงินผ่อน ขณะที่การเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้น เป็นการทำให้ภาพลักษณ์ของธุรกิจทันสมัยขึ้น 

“ภาพลักษณ์องค์กร 100 ปี หากยืนอยู่บนรูปแบบธุรกิจเดิมๆ อาจเติบโตได้ยากลำบาก ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน ระบบนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ พร้อมกระจายธุรกิจไปสู่ประเภทอื่นเพื่อให้องค์กรมั่นคงมากขึ้น”

จากสินค้าตัวแรกจักรเย็บผ้า สู่สินค้าเงินผ่อน การขายทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน ขยับมาสู่กลุ่มลูกค้ารายย่อย ยุคแห่งอนาคตคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้ธุรกิจมั่นคงแข็งแรง 

กิตติพงศ์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงคือหัวใจสำคัญทำให้ธุรกิจซิงเกอร์ดำรงอยู่ได้มาจนทุกวันนี้ ซิงเกอร์ไม่เคยกลัวการเปลี่ยนแปลงว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ แต่ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา!!เป็นบริษัทไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่เคยยึดติดว่า ซิงเกอร์แกนจริงๆ คือ จักรเย็บผ้า

หากย้อนพิจารณาธุรกิจในรอบกว่า100 ปีที่ผ่านมา ซิงเกอร์เปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลา และการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเป็นผู้นำตลาด!! ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ การขายสินค้าเงินผ่อน ซิงเกอร์เป็นรายแรกที่ทำ เมื่อ 94 ปีที่แล้ว ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีเทคโนโลยี  ใช้ “คนไปเก็บเงินที่บ้าน”นี่คือการเปลี่ยนแปลง ณ วันนั้น และกระบวนนั้น ในวันนี้ถูกทำให้ทันสมัยด้วยการใส่เทคโนโลยีเข้าไป   

“บุคลากร” ยังเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของซิงเกอร์มาตลอด 100 กว่าปีเช่นกัน ด้วยจุดยืนธุรกิจขายตรงแบบเดินไป "น็อคดอร์เซล” ควบคู่บริการ เรานำคนกลุ่มนี้ขยายและต่อยอดธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง

"หากมองย้อนกลับไปเราโชคดี เมื่อ 3 ปีก่อน หลังเปลี่ยนผู้ถือหุ้น ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง นำเทคโนโลยีเข้ามาในองค์กรพอสมควร และขยายไลน์ กระจายธุรกิจหลากหลายยิ่งขึ้น กระบวนการ หรือสเต็ปต่อไป เราสามารถเปลี่ยนช่องทางการขายสินค้าให้มีความหลากหลายในการตอบสนองลูกค้าได้มากขึ้น กลับมาที่คีย์ซัคเซสของซิงเกอร์คือเรื่องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและคน ที่วันนี้เรามีความพร้อมมากๆ"

วิสัยทัศน์ของซิงเกอร์มุ่งเป็นผู้นำการขายพร้อมบริการด้านสินเชื่อและเช่าซื้อสำหรับผู้บริโภคในประเทศ โดยได้ปรับกลยุทธ์และโมเดลธุรกิจใหม่จากเดิมเน้นกลุ่มลูกค้าครัวเรือนเป็นหลัก ขยายฐานกลุ่มลูกค้าเชิงพาณิชย์ให้มากขึ้น ด้วยการขายสินค้าให้ลูกค้านำไปสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาลูกค้าครัวเรือนเพียงกลุ่มเดียว 

ในรอบ 3-5 ปีที่ผ่านมา ซิงเกอร์เปลี่ยนกระบวนการทำงาน นำระบบเทคโนโลยี  ไดเวอร์ซิไฟด์จากธุรกิจเช่าซื้ออย่างเดียว  เริ่มขยายเข้าสู่ “ไฟแนนเชียลเซอร์วิส” ประเภทอื่นเข้ามา พร้อมวางโครงสร้างธุรกิจ 3 ขาหลัก ภายใต้ บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (SGC) ดำเนินธุรกิจเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน จักรเย็บผ้า สินค้าเชิงพาณิชย์และสินค้าอื่นๆ ธุรกิจสินเชื่อรถทำเงิน  ธุรกิจเช่าซื้อเครื่องจักร บริษัท เอสจี เซอร์วิสพลัส จำกัด (SGS) บริการหลังการขายถึงบ้าน และ บริษัท เอสจี โบรคเกอร์ จำกัด (SGB) ดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต

“จากนี้จะเป็นการปรับหลอมองค์กรเข้าด้วยกันให้มีความเหมาะสมระหว่างธุรกิจเดิมและธุรกิจใหม่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่เตรียมพร้อมต่อยอดไปยังช่องทางจำหน่ายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ เพื่อเข้าถึงลูกค้าและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป  ไปสู่จุดที่เราต้องการได้”

โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ “เจมาร์ท” ในการนำพาสินค้าและเทคโนโลยีใหม่ นำมา “ซินเนอร์ยี” สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยเฉพาะความสะดวก รวดเร็ว ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่  

ซิงเกอร์ยังเร่งเตรียมความพร้อมบุคลากรในด้านเทคโนโลยีเพื่อรับมือ “ดิจิทัล ดิสรัปชัน” ที่ในเชิงผลกระทบและสร้างโอกาสจากการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการดำเนินงาน การเข้าถึงลูกค้า

ในอนาคตโครงสร้างระบบการกระจายสินค้า การจัดส่งสินค้า รวมทั้งรูปแบบการอนุมัติสินเชื่อจะเปลี่ยนไป  การเตรียมความพร้อมของบุคลากรจะรับมือการเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคของ ซิงเกอร์ไซเบอร์

“ซิงเกอร์โชคดีที่เราอยู่ในกลุ่มลูกค้าทั่วประเทศ ฐานลูกค้าค่อนข้างกว้าง จึงไม่จำกัดอยู่เฉพาะคนที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อกลุ่มเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ซึ่งคนกลุ่มนี้จะโดนดิสรัปก่อนเพื่อน เรายังมีเวลาให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนได้"

วันนี้คนขายของซิงเกอร์เริ่มใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเข้าถึง เชื่อมโยงระหว่างคนขายและคู่ค้า ซึ่ง “เทคโนโลยี” ต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเช่นกัน เพราะมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ การใช้ช่องทางชำระเงิน ระบบการเก็บเงิน หรือโมบายแบงกิ้ง ใหม่ๆ เกิดขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งซิงเกอร์มีทีมงามอบรมสร้างหลักสูตรใหม่ๆ เดินสายพบพนักงานทั่วประเทศทุกเดือน

ในปี 2562  ซิงเกอร์มีการเพิ่มทุน ส่งผลให้บริษัทมีโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่งพร้อมในการขยายธุรกิจ โดยนำเงินเพิ่มทุนที่ได้มามุ่งลงทุนธุรกิจ “ไฟแนนเชียลเซอร์วิส” โดยมีสินเชื่อทะเบียนรถ หรือ รถทำเงิน!! และสินเชื่อเช่าซื้อเพื่อธุรกิจรายย่อย ซึ่งอยู่ในช่วงการเจริญเติบโตอย่างดีเป็นเรือธงที่จะขยายธุรกิจมากขึ้นนับจากนี้!! 

โดยสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจะโฟกัสกลุ่มกิจการรถขนส่งอย่างรถบรรทุกสินค้าเกษตร-อุตสาหกรรม ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำเพราะต้องใช้รถทำงานและมีความต้องการเงินทุนขยายกิจการ 

นอกจากนี้ จะมีสินค้าใหม่ที่มี “มาร์จิ้นดี” เข้ามาจำหน่ายเพิ่ม เช่น เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ รวมทั้งเสริมแกร่งการเข้าถึงฐานลูกค้าระดับ “ตำบล-หมู่บ้าน” ด้วยการขยายสาขาย่อยในโมเดลแฟรนไชส์ การผนึก “พันธมิตรสินค้า-บริการ” ในการขยายตลาด

++++++++++++++++

ซิงเกอร์ใต้เงา“เจมาร์ท”

“ทรานส์ฟอร์ม”ธุรกิจ130ปี

จักรเย็บผ้าซิงเกอร์ตัวแรกสนนราคาตัวละ 100 กว่าบาทในยุค 100 กว่าปีที่แล้ว จัดได้ว่าแพงอักโข!! เทียบที่ดินขณะนั้นตารางวา “หลักสตางค์” และจักรเย็บผ้าน่าจะเป็นเทคโนโลยีที่สมัยใหม่และนำสมัยที่สุดเวลานั้นทีเดียว หรือหากเทียบยุคสมัยนี้ถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยก็ว่าได้ 

จากจุดตั้งต้นการขายเมื่อปี 2432 จากนั้น ปี 2468 เริ่มให้มีการ “ผ่อนจ่ายสินค้า” เรียกว่าเปิดฉากธุรกิจเงินผ่อนเมื่อ 90 ปีที่แล้ว พร้อมๆ จากยุคแรกในการขายจักรเย็บผ้าของซิงเกอร์ สู่ยุคที่ 2 เริ่มนำเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามาขาย ช่วงปี 2500 ประเทศไทยเริ่มมีการกระจายเสาไฟฟ้าออกนอกเมืองหลวง มุ่งสู่เมืองใหญ่ นั่นเป็นโอกาสของ “ซิงเกอร์” และชื่อของซิงเกอร์ที่ขยายวงกว้างออกไปเรียวก่า มีเสาไฟฟ้าที่ไหน มีซิงเกอร์ที่นั่น!! 

เป็นยุคแรกๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า บ้านไหนมี “ทีวี” ถือว่าเรื่องใหญ่ในชุมชน เป็นเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ใหญ่มาก “กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์” 

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ซิงเกอร์ประเทศไทย เล่าว่า ตอนนั้นซิงเกอร์เติบโตแข็งแรงมาก ทีวีขาวดำ และตู้เย็นเป็นของใหม่สำหรับครัวเรือนไทย พร้อมๆ กับการไต่ระดับสถานะสินค้าหลักในบ้านที่ต้องมี จากนั้นจึงตามมาด้วยเครื่องซักผ้า ส่วนเครื่องปรับอากาศอยู่ในยุคหลังๆ 

จากสินค้าครัวเรือนซิงเกอร์ขยับสู่สินค้าเชิงพาณิชย์ในปี 2524 จากการมองเห็นโอกาสร้านขายของชำ หรือร้านค้าที่ต้องการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปประกอบธุรกิจ ทั้งตู้แช่ ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ตู้เติมเงิน กระทั่งการขยายไลน์โปรดักท์อีกระลอกใหญ่ในกลุ่มสินเชื่อ 

ในเชิงองค์กรจาก ปี 2432 ที่ซิงเกอร์แห่งสหรัฐอเมริกาเข้ามาแต่งตั้ง บริษัท เคียมฮั่งเฮง จำกัด เป็นผู้แทนจำหน่ายจักรเย็บผ้าซิงเกอร์ในไทย ตั้งสาขาขึ้นใช้ชื่อ บริษัท ซิงเกอร์ โซอิ้ง แมชีน จำกัด ในปี 2512 ได้จดทะเบียนก่อตั้ง บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด เพื่อเข้ารับช่วงธุรกิจของ บริษัท ซิงเกอร์ โซอิ้ง แมชีน จำกัด ซึ่งหยุดดำเนินกิจการ จากนั้นแปลงสภาพเป็น “บริษัทมหาชน” ในปี 2527 เรียกว่าเป็นบริษัทแรกๆ ที่เข้าเทรดในกระดานหุ้น ซึ่งเวลานั้นเคาะกระดานขาย!! 

เส้นทางอันยาวนานไม่แปลกที่ชาวไทยคุ้นชินว่า “ซิงเกอร์” เป็นบริษัทคนไทย หากแต่ความจริงแล้วซิงเกอร์เป็นบริษัทต่างชาติมาตลอด!!  เพิ่งเปลี่ยนแปลงส่วนผู้ถือหุ้นเมื่อกลางปี 2558 เมื่อ เจมาร์ท  ยักษ์ใหญ่ทางด้านธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องถ่ายรูป และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่มีช่องทางการจำหน่ายทั่วประเทศ ก้าวเข้ามาถือหุ้นใหญ่ 

วันนี้เรียกได้ว่าวันนี้ซิงเกอร์เป็นบริษัทคนไทย 100% !!

ซิงเกอร์ เป็น1ใน6พอร์ตธุรกิจของกลุ่มเจมาร์ท ภายใต้การกุมบังเหียนของ อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ เอกชัย สุขุมวิทยา บุตรชายผู้รับไม้ต่อในยุคที่ 2 นำทัพขับเคลื่อนเจมาร์ทขยายอาณาจักรกว้างไกล จากธุรกิจห้องแถวขายเครื่องใช้ไฟฟ้าเงินผ่อน และโทรศัพท์มือถือ ในอดีต วันนี้ไม่ได้ขายแค่โทรศัพท์มือถืออีกต่อไป!!  

สถานะกลุ่มเจมาร์ทในทศวรรษที่ 4 ก้าวสู่บริษัทโฮลดิ้งค้าปลีกและการเงิน ขยายเครือข่ายธุรกิจหลากหลาย ประกอบด้วย  "Jaymart mobile“ จำหน่ายโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทดีไวซ์ ”JMT Network Service“ ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการติดตามหนี้ ”Jas Asset" บริหารพื้นที่เช่าในส่วนของธุรกิจมือถือและศูนย์การค้าแบบคอมมูนิตี้มอลล์ “J Fintech” ธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการสินเชื่อลิสซิ่งและสินเชื่อรายย่อย “SINGER” จำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายสินค้า ซิงเกอร์ และอื่นๆ สุดท้าย “J Venture”  บริษัทที่ลงทุนในฟินเทคและสตาร์ทอัพเป็นหลัก

ธุรกิจอายุ 100 กว่าปีพิสูจน์ศักยภาพ!!  และสะท้อนแนวคิดหลัก  “การเปลี่ยนแปลง” ที่่ใช้เป็นแกนหลักในการดำเนินธุรกิจให้ก้าวไปสู่ข้างหน้าตลอดเวลานั้นถูกต้อง!! ซึ่ง “การเปลี่ยนแปลงตัวเอง”  ไม่ต่างจากการ “ทรานส์ฟอร์ม” ธุรกิจศัพท์ฮิตที่นิยมเรียกกันในยุคนี้นั่นเอง 

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงในตลาดรอบด้านทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน เทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซิงเกอร์มั่นใจในความได้เปรียบของ “แบรนด์ดิ้งซิงเกอร์” มีความแข็งแรงด้วยความผูกพันกับคนไทยมายาวนาน

“สภาพเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจอยู่แล้ว เป็นข้อจำกัดของกำลังซื้อ แต่กลยุทธ์ของซิงเกอร์เน้นสินค้าที่มีราคาหรือค่างวดการผ่อนต่ำ ผ่อนยาว เข้าถึงการอนุมัติง่าย เป็นจุดแข็งที่ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรลูกค้ายังสามารถจ่ายค่างวดได้ไม่สูงสำหรับคนที่ต้องการซื้อสินค้า”

ธุรกิจซิงเกอร์ยังกระจายความเสี่ยงรอบทิศเช่นกัน ด้วยการไดเวอร์วิไฟด์ธุรกิจหลากหลาย ยกตัวอย่าง ในสภาพเศรษฐกิจไม่ดี อาจควบคุมการขาย หรือปล่อยสินเชื่อชนิดหนึ่งแล้วมาต่อยอดสินค้าชนิดอื่นๆ เพื่อไปใช้ในการจับจ่ายใช้สอย จะเห็นว่ารูปแบบการทำธุรกิจที่ไม่ได้ล็อคอยู่ที่ขาใดขาหนึ่ง เป็นการสร้างการตลาด และ กระจายความเสี่ยงไปตามสภาพเศรษฐกิจแต่ละช่วง 

อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่น่ากังวลมากกว่าสำหรับซิงเกอร์ซึ่งเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้คนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะคู่ค้า พนักงาน ทีมงาน จะทำอย่างไรให้ “คนขาย” ซึ่งเป็น “ด่านหน้า” ที่จะทำให้แบรนด์ซิงเกอร์ไปถึงลูกค้าเดินหน้าไปขายได้ไม่ว่าสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจ หรือการเมืองเป็นอย่างไร?  เป็นเรื่องสำคัญต้องหล่อหลอมคนกลุ่มนี้เพื่อออกไปขายสินค้า ไปดูคุณภาพของลูกค้า ดังนั้น กระบวนการฝึกอบรม การใช้เทคโนโลยี จะช่วยให้พนักงาน หรือทีมขาย คัดกรองลูกค้า เข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นำมาซึ่งการเติบโตของรายได้ ยอดขาย และความมั่นคงของธุรกิจร่วมกัน 

ผู้นำทัพขับเคลื่อนซิงเกอร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า อยากเห็นซิงเกอร์เติบโตไปเรื่อยๆ ยาวๆ เป็นบริษัทที่อยู่คู่สังคมไทยไปอีก 100 ปี ไม่ว่าวันนั้นจะเป็นสภาวะแบบไหน  หรือพลิกโฉมเป็น ซิงเกอร์ ไซเบอร์ เต็มตัว!! ไม่ได้ขายของเหมือนวันนี้  แต่การเตรียมพร้อมทั้งด้าน คน เทคโนโลยี และตลาดที่เข้าถึง!!  จะทำให้ซิงเกอร์ปรับเปลี่ยนไปตามทุกสถานการณ์อย่างรวดเร็ว ทำให้ดำรงกิจการอยู่ได้อย่างยั่งยืน   

 --------------

ซิงเกอร์ใต้เงา“เจมาร์ท”

“ทรานส์ฟอร์ม”ธุรกิจ130ปี

จักรเย็บผ้าซิงเกอร์ตัวแรกสนนราคาตัวละ 100 กว่าบาทในยุค 100 กว่าปีที่แล้ว จัดได้ว่าแพงอักโข!! เทียบที่ดินขณะนั้นตารางวา “หลักสตางค์” และจักรเย็บผ้าน่าจะเป็นเทคโนโลยีที่สมัยใหม่และนำสมัยที่สุดเวลานั้นทีเดียว หรือหากเทียบยุคสมัยนี้ถือว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยก็ว่าได้ 

จากจุดตั้งต้นการขายเมื่อปี 2432 จากนั้น ปี 2468 เริ่มให้มีการ “ผ่อนจ่ายสินค้า” เรียกว่าเปิดฉากธุรกิจเงินผ่อนเมื่อ 90 ปีที่แล้ว พร้อมๆ จากยุคแรกในการขายจักรเย็บผ้าของซิงเกอร์ สู่ยุคที่ 2 เริ่มนำเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ามาขาย ช่วงปี 2500 ประเทศไทยเริ่มมีการกระจายเสาไฟฟ้าออกนอกเมืองหลวง มุ่งสู่เมืองใหญ่ นั่นเป็นโอกาสของ “ซิงเกอร์” และชื่อของซิงเกอร์ที่ขยายวงกว้างออกไปเรียวก่า มีเสาไฟฟ้าที่ไหน มีซิงเกอร์ที่นั่น!! 

เป็นยุคแรกๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า บ้านไหนมี “ทีวี” ถือว่าเรื่องใหญ่ในชุมชน เป็นเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ใหญ่มาก “กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์” 

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ซิงเกอร์ประเทศไทย เล่าว่า ตอนนั้นซิงเกอร์เติบโตแข็งแรงมาก ทีวีขาวดำ และตู้เย็นเป็นของใหม่สำหรับครัวเรือนไทย พร้อมๆ กับการไต่ระดับสถานะสินค้าหลักในบ้านที่ต้องมี จากนั้นจึงตามมาด้วยเครื่องซักผ้า ส่วนเครื่องปรับอากาศอยู่ในยุคหลังๆ 

จากสินค้าครัวเรือนซิงเกอร์ขยับสู่สินค้าเชิงพาณิชย์ในปี 2524 จากการมองเห็นโอกาสร้านขายของชำ หรือร้านค้าที่ต้องการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปประกอบธุรกิจ ทั้งตู้แช่ ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ตู้เติมเงิน กระทั่งการขยายไลน์โปรดักท์อีกระลอกใหญ่ในกลุ่มสินเชื่อ 

ในเชิงองค์กรจาก ปี 2432 ที่ซิงเกอร์แห่งสหรัฐอเมริกาเข้ามาแต่งตั้ง บริษัท เคียมฮั่งเฮง จำกัด เป็นผู้แทนจำหน่ายจักรเย็บผ้าซิงเกอร์ในไทย ตั้งสาขาขึ้นใช้ชื่อ บริษัท ซิงเกอร์ โซอิ้ง แมชีน จำกัด ในปี 2512 ได้จดทะเบียนก่อตั้ง บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด เพื่อเข้ารับช่วงธุรกิจของ บริษัท ซิงเกอร์ โซอิ้ง แมชีน จำกัด ซึ่งหยุดดำเนินกิจการ จากนั้นแปลงสภาพเป็น “บริษัทมหาชน” ในปี 2527 เรียกว่าเป็นบริษัทแรกๆ ที่เข้าเทรดในกระดานหุ้น ซึ่งเวลานั้นเคาะกระดานขาย!! 

เส้นทางอันยาวนานไม่แปลกที่ชาวไทยคุ้นชินว่า “ซิงเกอร์” เป็นบริษัทคนไทย หากแต่ความจริงแล้วซิงเกอร์เป็นบริษัทต่างชาติมาตลอด!!  เพิ่งเปลี่ยนแปลงส่วนผู้ถือหุ้นเมื่อกลางปี 2558 เมื่อ เจมาร์ท  ยักษ์ใหญ่ทางด้านธุรกิจจัดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ กล้องถ่ายรูป และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่มีช่องทางการจำหน่ายทั่วประเทศ ก้าวเข้ามาถือหุ้นใหญ่ 

วันนี้เรียกได้ว่าวันนี้ซิงเกอร์เป็นบริษัทคนไทย 100% !!

ซิงเกอร์ เป็น1ใน6พอร์ตธุรกิจของกลุ่มเจมาร์ท ภายใต้การกุมบังเหียนของ อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ เอกชัย สุขุมวิทยา บุตรชายผู้รับไม้ต่อในยุคที่ 2 นำทัพขับเคลื่อนเจมาร์ทขยายอาณาจักรกว้างไกล จากธุรกิจห้องแถวขายเครื่องใช้ไฟฟ้าเงินผ่อน และโทรศัพท์มือถือ ในอดีต วันนี้ไม่ได้ขายแค่โทรศัพท์มือถืออีกต่อไป!!  

สถานะกลุ่มเจมาร์ทในทศวรรษที่ 4 ก้าวสู่บริษัทโฮลดิ้งค้าปลีกและการเงิน ขยายเครือข่ายธุรกิจหลากหลาย ประกอบด้วย  "Jaymart mobile“ จำหน่ายโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทดีไวซ์ ”JMT Network Service“ ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการติดตามหนี้ ”Jas Asset" บริหารพื้นที่เช่าในส่วนของธุรกิจมือถือและศูนย์การค้าแบบคอมมูนิตี้มอลล์ “J Fintech” ธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการสินเชื่อลิสซิ่งและสินเชื่อรายย่อย “SINGER” จำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายสินค้า ซิงเกอร์ และอื่นๆ สุดท้าย “J Venture”  บริษัทที่ลงทุนในฟินเทคและสตาร์ทอัพเป็นหลัก

ธุรกิจอายุ 100 กว่าปีพิสูจน์ศักยภาพ!!  และสะท้อนแนวคิดหลัก  “การเปลี่ยนแปลง” ที่่ใช้เป็นแกนหลักในการดำเนินธุรกิจให้ก้าวไปสู่ข้างหน้าตลอดเวลานั้นถูกต้อง!! ซึ่ง “การเปลี่ยนแปลงตัวเอง”  ไม่ต่างจากการ “ทรานส์ฟอร์ม” ธุรกิจศัพท์ฮิตที่นิยมเรียกกันในยุคนี้นั่นเอง 

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงในตลาดรอบด้านทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน เทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซิงเกอร์มั่นใจในความได้เปรียบของ “แบรนด์ดิ้งซิงเกอร์” มีความแข็งแรงด้วยความผูกพันกับคนไทยมายาวนาน

“สภาพเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลกระทบต่อทุกธุรกิจอยู่แล้ว เป็นข้อจำกัดของกำลังซื้อ แต่กลยุทธ์ของซิงเกอร์เน้นสินค้าที่มีราคาหรือค่างวดการผ่อนต่ำ ผ่อนยาว เข้าถึงการอนุมัติง่าย เป็นจุดแข็งที่ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรลูกค้ายังสามารถจ่ายค่างวดได้ไม่สูงสำหรับคนที่ต้องการซื้อสินค้า”

ธุรกิจซิงเกอร์ยังกระจายความเสี่ยงรอบทิศเช่นกัน ด้วยการไดเวอร์วิไฟด์ธุรกิจหลากหลาย ยกตัวอย่าง ในสภาพเศรษฐกิจไม่ดี อาจควบคุมการขาย หรือปล่อยสินเชื่อชนิดหนึ่งแล้วมาต่อยอดสินค้าชนิดอื่นๆ เพื่อไปใช้ในการจับจ่ายใช้สอย จะเห็นว่ารูปแบบการทำธุรกิจที่ไม่ได้ล็อคอยู่ที่ขาใดขาหนึ่ง เป็นการสร้างการตลาด และ กระจายความเสี่ยงไปตามสภาพเศรษฐกิจแต่ละช่วง 

อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่น่ากังวลมากกว่าสำหรับซิงเกอร์ซึ่งเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับผู้คนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะคู่ค้า พนักงาน ทีมงาน จะทำอย่างไรให้ “คนขาย” ซึ่งเป็น “ด่านหน้า” ที่จะทำให้แบรนด์ซิงเกอร์ไปถึงลูกค้าเดินหน้าไปขายได้ไม่ว่าสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจ หรือการเมืองเป็นอย่างไร?  เป็นเรื่องสำคัญต้องหล่อหลอมคนกลุ่มนี้เพื่อออกไปขายสินค้า ไปดูคุณภาพของลูกค้า ดังนั้น กระบวนการฝึกอบรม การใช้เทคโนโลยี จะช่วยให้พนักงาน หรือทีมขาย คัดกรองลูกค้า เข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นำมาซึ่งการเติบโตของรายได้ ยอดขาย และความมั่นคงของธุรกิจร่วมกัน 

ผู้นำทัพขับเคลื่อนซิงเกอร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า อยากเห็นซิงเกอร์เติบโตไปเรื่อยๆ ยาวๆ เป็นบริษัทที่อยู่คู่สังคมไทยไปอีก 100 ปี ไม่ว่าวันนั้นจะเป็นสภาวะแบบไหน  หรือพลิกโฉมเป็น ซิงเกอร์ ไซเบอร์ เต็มตัว!! ไม่ได้ขายของเหมือนวันนี้  แต่การเตรียมพร้อมทั้งด้าน คน เทคโนโลยี และตลาดที่เข้าถึง!!  จะทำให้ซิงเกอร์ปรับเปลี่ยนไปตามทุกสถานการณ์อย่างรวดเร็ว ทำให้ดำรงกิจการอยู่ได้อย่างยั่งยืน