ตลาดหุ้นเอเชียผันผวน เหตุดาวโจนส์ร่วง-วิตกไวรัสเดลตาฉุด ศก.

ตลาดหุ้นเอเชียผันผวน เหตุดาวโจนส์ร่วง-วิตกไวรัสเดลตาฉุด ศก.

  • 0 ตอบ
  • 70 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ตลาดหุ้นเอเชียเปิดผันผวนในวันนี้ โดยบางส่วนนั้นได้รับแรงกดดันจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดลบเมื่อคืนนี้ (7 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,673.40 จุด ลดลง 3.19 จุด หรือ -0.09%, ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 29,819.55 จุด ลดลง 96.59 จุด หรือ -0.32% และดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 26,396.11 จุด เพิ่มขึ้น 42.48 จุด หรือ +0.16%

ตลาดหุ้นในภูมิภาคถูกกดดันจากดัชนีดาวโจนส์ที่ปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ โดยรอนนี วอล์คเกอร์ นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ให้ความเห็นว่า ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคเริ่มปรากฎให้เห็นมากขึ้น ซึ่งได้แก่ การระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในไตรมาส 3, มาตรการกระตุ้นด้านการคลังที่เริ่มแผ่วลง และการฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าของภาคบริการ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐในระยะกลาง และคาดว่าผู้บริโภคชาวอเมริกันจะเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมากกว่าที่คาดไว้ในเบื้องต้น

นอกจากนี้ นักลงทุนยังวิตกกังวลถึงแนวโน้มการกลับมาเปิดเศรษฐกิจได้ช้าลง รวมถึงการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยตลาดยังคงจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการหารือเกี่ยวกับการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทางด้านสำนักงานคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลในวันนี้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ขยายตัว 1.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยปรับเพิ่มขึ้นจากการขยายตัว 1.3% ในการรายงานครั้งแรก

เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 0.5% ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 2 ไตรมาส

ทั้งนี้ การใช้จ่ายทุนที่แข็งแกร่งช่วยหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น แม้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่พุ่งขึ้น ยังคงกดดันการใช้จ่ายในภาคบริการ และบดบังแนวโน้มเศรษฐกิจก็ตาม