กรมวิทย์ฯ เผยยังไม่พบโควิดสายพันธุ์มิว-C.1.2 ในไทย สั่งเฝ้าระวังเข้ม

กรมวิทย์ฯ เผยยังไม่พบโควิดสายพันธุ์มิว-C.1.2 ในไทย สั่งเฝ้าระวังเข้ม

  • 0 ตอบ
  • 66 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




วันนี้ (6 ก.ย.) ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด19 ในประเทศไทย ว่า ตั้งแต่เกิดการระบาดโควิด-19 ในปี 2563 มีการตรวจโควิด19 ไปทั้งหมดกว่า 63 ล้านตัวอย่าง ซึ่งตรวจพบติดเชื้อโควิดด้วยวิธี RT-PCR จำนวน 13 ล้านตัวอย่าง และยังมีบางส่วนที่ยังไม่ได้รายงานการตรวจเข้าระบบอีกจึงเป็นไปได้ว่าขณะนี้มีการตรวจตัวอย่างไปแล้ว 15 ล้านตัวอย่าง โดยในภาพรวมที่ผ่านพบสายพันธุ์อู่ฮั่น สายพันธุ์ G จากพื้นที่สนามมวย และสายพันธุ์ G (B.1.3.16) ในจ.สมุทรสาคร สายพันธุ์อัลฟ่าที่แพร่กระจายในไทยเป็นหลัก ก่อนที่สายพันธุ์เดลตาจะเข้ามาแทนที่เป็นสายพันธุ์หลักในเดือนพ.ค. จากการพบเคสติดเชื้อที่แคมป์คนงาน ดังนั้นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายอยู่ในประเทศไทย ได้แก่ สายพันธุ์อัลฟ่า, สายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์เบตา

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีการตรวจตัวอย่างประมาณ 1,500 คน พบว่าเป็นสายพันธุ์อัลฟ่า 75 คน สายพันธุ์เดลตา 1,417 คน เบตา 31 คน ในภาพรวมประเทศสายพันธุ์หลักที่แพร่กระจายอยู่ยังคงเป็นเดลตา 93% พบในทุกจังหวัดทั้งประเทศไทย ส่วนเบตายังจำกัดวงอยู่แค่ภาคใต้ในเขตสุขภาพที่ 12 ได้แก่ จ.นราธิวาส 28 คน ปัตตานี 2 คน ยะลา 1 คน ส่วนเคสที่พบการติดเชื้อสายพันธุ์นี้อยู่ในกรุงเทพฯและบึงกาฬ รักษาหายเรียบร้อยแล้ว ไม่มีการติดเชื้อเพิ่ม เมื่อแยกเป็นพื้นที่พบว่าในกรุงเทพฯ สายพันธุ์เดลตาแพร่กระจายเกือบ 98% เปรียบได้กับการติดเชื้อ 100 คน พบ 98 คนที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์อัลฟ่าพบประมาณ 2.4% ในส่วนของภูมิภาค พบสายพันธุ์เดลตาประมาณ 85% สายพันธุ์เบต้าที่พบในภาคใต้ 5.7% ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก(WHO) ยังมีการจัดชั้นของการกลายพันธุ์โควิด19ได้แก่ ชั้น VOI คือการกลายพันธุ์ที่อยู่ในความสนใจ ส่วนอีกชั้น VOC คือการกลายพันธุ์ที่มีความน่าเป็นห่วงและกังวล มีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ อัลฟ่า เดลตา เพราะมีการแพร่กระจายเร็วมาก ไม่ค่อยดื้อวัคซีน ส่วนเบต้า แกรมมา แม้ว่าจะดื้อวัคซีน แต่การแพร่กระจายเชื้อไม่เร็ว

นพ.ศุภกิจกล่าวอีกว่า ในสายพันธุ์ C.1.2 ยังไม่มีการถูกจัดชั้น และยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ แต่เป็นที่น่าจับตาดู เฝ้าระวังเนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ที่ตรวจตัวอย่างเชื้อพบว่าสายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่เคยอยู่ในเดลตา แกรมมา เช่น E484K ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ไวรัสหลบหลีกภูมิคุ้มกันหรือดื้อวัคซีน หรือ N501Y เป็นตัวทำให้ไวรัสมีการแพร่กระจายเร็ว เป็นต้น โดยมีการตรวจพบสายพันธุ์นี้เป็นครั้งแรกและมากสุดในแอฟริกาใต้จำนวน 117 ตัวอย่าง แต่ไม่ต้องตระหนก เพราะยังไม่พบในประเทศไทย และมีเพียง 3% ที่ตรวจเจอในการระบาดที่แอฟริกาใต้

ส่วนสายพันธุ์มิว(Mu) ถูกจัดอยู่ในชั้น VOI ซึ่งในความน่าสนใจ เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง E484K จากแกรมมา เบต้า ทำให้หลีกภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเดิม N501Y จากอัลฟ่า มีความต่อต้านวัคซีนที่ต่ำอยู่ ยังไม่มีข้อมูลว่าจะแพร่กระจายเชื้อได้เร็วหรือติดเชื้อง่ายหรือไม่ ซึ่งทั่วโลกยังพบน้อยมากเพียง 0.1% ปัจจุบันพบแล้วกว่า 39 ประเทศ พบมากในสหรัฐอเมริกาประมาณ 2,400 ตัวอย่าง เฉลี่ย 37% โคลัมเบีย 965 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นประเทศแรกที่รายงานว่าพบสายพันธุ์นี้และพบมากในประเทศถึง 40% ของประชากรโคลัมเบีย โดยมีผู้ติดเชื้อประมาณ 5 ล้านคน เสียชีวิต 1.2 แสนคน จึงต้องเฝ้าระวังติดตาม และในประเทศอื่นๆ ได้แก่ เม็กซิโก สเปน เอกวาดอร์” นพ.ศุภกิจ ระบุ

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยมีการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด19 ที่มีการตรวจตัวอย่างเชื้อสัปดาห์ละ 1,000 คน ที่มีการตรวจเฉพาะด้วย RT-PCR ซึ่งมีการใช้น้ำยาเฉพาะสายพันธุ์ และการตรวจโฮจีโนม โดยสุ่มจากผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ บุคลากรทางการแพทย์ หรือผู้ที่มีอาการหนักมากขึ้น ในพื้นที่คลัสเตอร์ และกระจายไปส่วนภูมิภาคต่างๆ อาจจะมีการปรับกลุ่มเป้าหมายในการตรวจให้มากกว่าเดิม โดยนับตั้งแต่วันนี้-ธ.ค.64 จะมีการตรวจให้ได้ 10,000 ตัวอย่าง และจะมีการรายงานทุก 2 สัปดาห์ ไปที่ฐานข้อมูลโควิดโลก หรือ GISAID

"ส่วนที่มีการพบเดลตากลายพันธุ์ AY12 ในไทย กำลังมีการพิจารณาในเรื่องของการใส่รหัสสายพันธุ์ให้ถูกต้อง และจะเผยแพร่อีกครั้ง ขอย้ำในเรื่องการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ที่ฉีดไปกว่า 2 ล้านโดส เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน และยังไม่พบผลข้างเคียง นอกเหนือจากผลข้างเคียงของวัคซีนปกติ และหากหลังฉีดพบการเสียชีวิตจะต้องมีการตรวจพิสูจน์ เพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจน "นพ.ศุภกิจกล่าว