Solar-Corporate PPA ตอบโจทย์ Green Economy

Solar-Corporate PPA ตอบโจทย์ Green Economy

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


Solar-Corporate PPA ตอบโจทย์ Green Economy
« เมื่อ: กันยายน 07, 2021, 08:17:26 pm »


Solar-Corporate PPA (Power Purchase Agreement) เป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการจะทำการลงทุนติดตั้งและผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ ตามความต้องการของลูกค้า (ผู้ใช้ไฟฟ้า) ก่อน แล้วจึงเรียกเก็บค่าไฟฟ้าภายหลัง ซึ่งมีโอกาสเติบโตตามกระแส Green Economyโดยทาง Bloomberg NEF ประเมินว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าของธุรกิจ Corporate Ruay PPA ทั่วโลก (ส่วนมากเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์และลม) จะเพิ่มเป็น 116.7 พันเมกะวัตต์ในปี 2573 จากปี 2563 อยู่ที่ 23.7 พันเมกะวัตต์ หรือขยายตัวสูงถึง 5 เท่า

Solar-Corporate PPA มีโมเดลธุรกิจที่นิยมใช้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) Synthetic เป็นการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ภายนอกสถานที่ของผู้ใช้ไฟฟ้า โดยอาศัยตัวกลางหรือผู้จัดจำหน่ายไฟฟ้าในการกระจายไฟ และมีตลาดกลางการซื้อขายไฟฟ้า เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบปริมาณการผลิตและการนำจ่ายไฟฟ้าให้ครบตามสัญญา ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในสหรัฐฯ 2) Sleeved เป็นการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ภายนอกสถานที่ของผู้ใช้ไฟฟ้า โดยสามารถเช่าสายส่งไฟฟ้าจากภาครัฐ เพื่อส่งไฟฟ้าไปให้ผู้ใช้ไฟฟ้าได้โดยตรง ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในสหราชอาณาจักร และ 3) Private wire เป็นรูปแบบการติดตั้งโซลาร์เซลล์และจ่ายไฟฟ้าภายในสถานที่ของผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง

สำหรับโมเดลธุรกิจที่ไทยนำมาใช้เป็นแบบ Private wire เนื่องจากการตั้งแหล่งผลิตไฟฟ้าภายนอกสถานที่ของผู้ใช้ไฟฟ้าในไทยยังมีข้อจำกัดด้านการนำจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งภาครัฐไทยยังไม่อนุญาตให้เช่าสายส่งไฟฟ้าในพื้นที่สาธารณะอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ไทยยังไม่มีตลาดกลางการซื้อขายไฟฟ้าที่จะช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบปริมาณผลิตไฟฟ้าจาก Solar-Corporate PPA ได้

ธุรกิจ Solar-Corporate PPA ในไทยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งจะช่วยดึงดูดให้เกิดการลงทุนธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง โดยใน ปี 2563 กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ซึ่ง Solar-Corporate PPA เป็นหนึ่งในนั้น มีมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอที่ 34,812 ล้านบาท ซึ่งเติบโตสูงถึง 66% จากปี 2562 ที่มีมูลค่า 20,958 ล้านบาท และคาดว่าผู้ประกอบการธุรกิจนี้จะสนใจขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เพิ่มต่อไป โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ซึ่งมักตั้งโรงงานในพื้นที่ EEC ทำให้การใช้บริการ Solar-Corporate PPA ในพื้นที่ EEC จะขยายตัวตาม ทั้งนี้ ธุรกิจนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและมิใช่ภาษีจากบีโอไอเพิ่มเติม หากลงทุนในพื้นที่ EEC ยกตัวอย่างเช่น หากลงทุนในเขตนวัตกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ผู้ประกอบการจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เพิ่มอีก 2 ปี เพิ่มเติมจากการได้รับยกเว้นภาษีนิติบุคคลที่สูงสุดถึง 8 ปี

นอกจากภาคอุตสาหกรรมแล้ว ความต้องการใช้ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในภาคครัวเรือนมีแนวโน้มเติบโตดีเช่นกัน เห็นได้จากโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาของอาคารมากขึ้น ทั้งหมดนี้ ทำให้ Krungthai COMPASS คาดว่ารายได้ของธุรกิจนี้มีศักยภาพเติบโตสูงเป็น 37.7-118.2 พันล้านบาท ในปี 2580 จากปี 2563 ที่มีรายได้เพียง 2.2 พันล้านบาท

อย่างไรก็ดี ธุรกิจนี้จะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ หากภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมเพิ่มเติม ได้แก่ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพิ่มเติม เช่น สมาร์ทมิเตอร์และสมาร์ทกริด เพื่อให้มีเครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบปริมาณการผลิตและการนำจ่ายไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง 2) การเพิ่มโควตาการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์จากทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับใหม่ที่ปัจจุบันภาครัฐกำลังจัดเตรียมแผนนี้ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจนี้สามารถขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น และ 3) การพิจารณา ผ่อนคลายกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการผลิตและนำส่งไฟฟ้า เช่น การอนุญาตให้เช่าสายส่งไฟฟ้าของภาครัฐในพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีโอกาสนำจ่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้หลายรายในเวลาเดียวกัน