สุดปลื้ม! กล้องดักถ่าย จับภาพฝูงกระทิง ออกมาใช้บริการ“โป่งเทียม”

สุดปลื้ม! กล้องดักถ่าย จับภาพฝูงกระทิง ออกมาใช้บริการ“โป่งเทียม”

  • 0 ตอบ
  • 81 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ชมภาพฝูงกระทิงจากกล้องดักถ่ายในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ออกมากินโป่ง ซึ่งเป็นโป่งเทียมที่เจ้าหน้าที่สร้างไว้ให้สัตว์ป่าได้เสริมแร่ธาตุ วิตามิน อีกหนึ่งมาตรการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับสัตว์ป่า ด้วยการเสริมแร่ธาตุอาหาร เพื่อช่วยให้สัตว์ป่าแข็งแรง และปลอดภัยจากโรคต่างๆ

ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกัมทีมสัตวแพทย์ เดินหน้าตามแนวทางอนุรักษ์สัตว์ป่า โดยร่วมกันทำคลังยา สร้างโป่งเทียมในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งต่อมามีการติดตั้งกล้องดักถ่ายเพื่อเก็บข้อมูลการเข้ามาใช้ประโยชน์จากโป่งเทียม รวมถึงเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และติดตามสัตว์ป่าในพื้นที่อีกทางหนึ่ง

“โป่งเทียม” มีลักษณะเป็นโป่งดิน โดยการขุดดินให้เป็นแอ่ง แล้วนำเกลือสมุทรเทลงผสมกับดินบริเวณที่ขุด เมื่อมีฝนตกหรือความชื้นจากน้ำค้าง เกลือก็จะละลายทำให้ดินเค็มและกลายเป็นอาหารให้กับสัตว์ป่า

ในการทำโป่งเทียมนั้นเป็นการจัดทำและบำรุงรักษาแหล่งอาหารและน้ำ สำหรับช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆ ที่ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และ เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี หรือ POWER of Kuiburi ที่ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น

ทั้งนี้ โป่ง คือบริเวณหรือพื้นที่ที่สามารถพบแร่ธาตุชนิดต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายและการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า โดยเฉพาะสัตว์ป่าที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น ช้างป่า กระทิง เป็นต้น เนื่องจากพืชที่สัตว์กินเข้าไปไม่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุดังกล่าว สัตว์จึงต้องทดแทนโดยการกินดินหรือดื่มน้ำจากโป่งแทน โป่งที่พบโดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ โป่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และโป่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า โป่งเทียม

ข้อมูลอ้างอิง ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช