หัวเว่ย เร่งขยายเครือข่ายมหาวิทยาลัยในโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัล

หัวเว่ย เร่งขยายเครือข่ายมหาวิทยาลัยในโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัล

  • 0 ตอบ
  • 102 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




หัวเว่ย เดินหน้าขยายเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศผ่านโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ (Huawei ICT Academy Program) พัฒนาทักษะดิจิทัล และบ่มเพาะบุคลากรในอนาคตให้มีทักษะความสามารถด้านดิจิทัลตรงกับความต้องการของตลาด ผ่านความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหารบริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า หัวเว่ยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร เพราะพวกเขาคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมไอซีที ดังนั้นโครงการหัวเว่ย ไอซีที
อะคาเดมี่ จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสามารถของนักศึกษาและยกระดับวงการไอซีทีของไทยให้พร้อมขับเคลื่อนอีโคซิสเต็มบุคลากรอย่างมั่นคงในอนาคต

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา หัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ ประเทศไทย ได้เดินหน้าลงนามบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยระดับชั้นนำของไทย เพื่อสร้างระบบนิเวศด้านบุคลากรที่แข็งแกร่ง และส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์แก่ผู้คนในพื้นที่ได้มากขึ้น

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยกว่า 25 แห่งในประเทศไทย ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านไอซีทีให้แก่นิสิตและนักศึกษา กระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้และเพิ่มทักษะด้านนวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเองและการแก้ไขปัญหา หัวเว่ยมุ่งมั่นพัฒนาหลักสูตรและบริการที่มีคุณภาพ ร่วมพัฒนาหลักสูตรและสร้างห้องปฏิบัติการที่ครบครันด้วยเทคโนโลยีไอซีทีของบริษัท เช่น 5G, คลาวด์ คอมพิวติ้ง, ไอโอทีและบิ๊กดาต้า เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์การใช้โซลูชันจริง ที่จะช่วยส่งเสริมความคิดในเชิงสร้างสรรค์

มหาวิทยาลัยชั้นนำต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ฯลฯ ล้วนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างบุคลากรคุณภาพที่สามารถเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศและร่วมผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการเรียนรู้ในห้องเรียนสู่การรับรองที่ได้มาตรฐาน

สำหรับผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมผ่านโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ จะได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย ซึ่งเป็นการรับรองที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการสมัครงานของนิสิตนักศึกษา รวมไปถึงโอกาสฝึกงานกับบริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย ตลอดจนอาจได้เป็นพนักงานของหัวเว่ยหรือบริษัทในเครือพันธมิตรอีกด้วย

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังให้การสนับสนุนด้วยการมอบบัตรกำนัลสำหรับการเข้าสอบประกาศนียบัตรระดับ HCIA มูลค่า 200 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่นิสิตนักศึกษาทุกคนที่เข้าร่วมโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ รวมถึงอุปกรณ์อันล้ำสมัยสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการให้แก่สถาบันการศึกษา เพื่อประโยชน์แก่นิสิตนักศึกษาในรุ่นต่อ ๆ ไป

นายอาเบล กล่าวเสริมว่า “ผมอยากเชิญชวนวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในไทยให้เข้าร่วมโครงการ หัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์หลักสูตรที่สอดรับกับความต้องการของตลาดไอซีทีที่มีการพัฒนาตลอดเวลา ความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างอีโคซิสเต็มบุคลากรด้านไอซีทีที่เปิดกว้าง ร่วมกันคิดสร้างสรรค์ และเอื้อประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน เพื่อช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนเเปลงสู่ยุคดิจิทัลและก้าวสู่ประเทศไทย 4.0”

ภายใต้วิสัยทัศน์ของหัวเว่ย ประเทศไทย ในการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด โครงการ หัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ มุ่งที่จะสร้างมาตรฐานการศึกษาด้านเทคโนโลยี พัฒนาความสามารถทางเทคนิค ส่งเสริมการบ่มเพาะนวัตกรรม รวมถึงการสร้างสรรค์ธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน