เครือข่ายต้นไม้ฯหาทางออกปรับภูมิทัศน์หาดพัทยาหวังรักษาต้นไม้เก่าให้มากที่สุด

เครือข่ายต้นไม้ฯหาทางออกปรับภูมิทัศน์หาดพัทยาหวังรักษาต้นไม้เก่าให้มากที่สุด

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

hs8jai

  • *****
  • 2219
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




วันนี้ (5 ก.ย.) กลุ่มตัวแทนภาคประชาชนที่เห็นความสำคัญของต้นไม้ในเมือง ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายต้นไม้ในเมือง ,กลุ่มบิ๊กทรี ,สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทยและสมาคมรุกขกรรมไทย นำโดย น.ส.ช่อผกา วิริยานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายต้นไม้ในเมือง และนายนำชัย แสนสุภา นายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย ได้ประชุมร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเมืองพัทยา

เพื่อหาทางออกในการรักษาธรรมชาติบนชายหาดเมืองพัทยา จากโครงการปรับภูมิทัศน์ชายหาดพัทยา ก่อนร่วมเดินทางลงพื้นที่เพื่อดูสภาพความเป็นจริงบริเวณชายหาดพัทยา

โดย น.ส.ช่อผกา วิริยานนท์ ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายต้นไม้ในเมือง เผยว่าจากกระแสข่าวการตัดต้นหูกวางบริเวณชายหาดพัทยา เพื่อปลูกต้นอินทผาลัมและต้นปล์าม ทดแทนจนทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจในโลกสังคมออนไลนื และเกิดการต่อต้านจากกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนทำให้กลุ่มประชาชนที่เห็นความสำคัญของต้นไม้ต้องเดินทางดูพื้นที่จริง



จนได้ข้อสรุปว่า อาจมีการเข้าใจผิดด้านการสื่อสารโดยเฉพาะเรื่องการตัดต้นไม้ ซึ่งเมืองพัทยา ยืนยันว่าจะไม่มีการตัดต้นไม้เก่าออก ซึ่งทางเครือข่ายฯ ได้เสนอแนวทางการจัดการต้นไม้ในเมืองใหม่ทั้งระบบ ด้วยการนำศาสตร์รุกขกรรมเข้ามาจัดการตั้งแต่กระบวนการก่อสร้างที่จะไม่ทำให้ต้นไม้เสียสุขภาพ

รวมทั้งการนำเทคโนโลยีการก่อสร้างและการเลือกใช้วัสดุเพื่อรักษาชีวิตต้นไม้ และการจัดอบรมผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการให้รู้วิธีการดูแลต้นไม้ รวมทั้งการดูแลรากต้นไม้เพื่อฟื้นฟูสุขภาพต้นไม้เก่าบริเวณชายหาดพัทยา

“ ซึ่งหลักการดังกล่าว เมืองพัทยา พร้อมรับและหลังจากนี้ 1 เดือนจะมีการลงรายละเอียดเพื่อให้ได้วิธีปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลง” น.ส.ช่อผกา กล่าว

ขณะที่ นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา เผยว่าที่ผ่านมา เมืองพัทยา อาจดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์โดยไม่มองให้ลึกถึงศาสตร์รุกขกรรมที่จะทำให้การพัฒนาและการรักษาธรรมชาติเป็นไปตามเป้าหมายของการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในโครงการ EEC

โดยเฉพาะการปรับปรุงและพัฒนาชายหาดพัทยาเพื่อให้เป็นพื้นที่พักผ่อน กีฬา และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ จะต้องมีการผสมผสาน ซึ่งหลังจากนี้จะต้องเริ่มสร้างความรู้ในการดูแลต้นไม้ในระดับผู้บริหารไปจนถึงผู้ปฏิบัติ ทั้งในส่วนของต้นไม้รวมไปถึงต้นไม้ประจำถิ่น อาทิ ต้นเกศ และต้นนนทรี ที่จะไม่มีการตัดแต่อย่างใด

ส่วนต้นหูกวาง อาจจำเป็นต้องตัดและล้อมย้ายบ้างเพื่อให้มีการปลูกต้นใหม่เพิ่ม แต่อย่างไรก็ตามยืนยันว่าต้นไม้เก่าจะยังคงเก็บรักษาไว้ให้ได้มากกว่า 75%