เปิดสูตร “ทวิตเตอร์” ยอดขายปัง ช้อปปิ้งเดย์

เปิดสูตร “ทวิตเตอร์” ยอดขายปัง ช้อปปิ้งเดย์

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




การตลาด - โควิด-19 ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดหลายอย่างและความไม่แน่นอน รวมถึงมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดของไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคบนโลกออนไลน์โดยเฉพาะวงการค้าปลีก โดยงานวิจัยใหม่ล่าสุดของทวิตเตอร์พบว่า 31% ของชาวทวิตภพที่ซื้อสินค้าออนไลน์รู้สึกว่าพวกเขาติดนิสัยการสั่งซื้อของออนไลน์ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ 92% หันมาช้อปออนไลน์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาปี 2564

การช้อปออนไลน์แทนที่จะเป็นกิจกรรมที่ต่างคนต่างทำ แต่ผู้คนหันมาใช้ทวิตเตอร์มากขึ้นเพื่อคอนเน็คกับชุมชนในวงกว้างและพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสินค้าที่ได้ซื้อมา นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีบทสนทนาเกี่ยวกับการช้อปปิ้งมากถึง 53 ล้านบทสนทนาบนทวิตเตอร์ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 36% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ 75% ยังมีการค้นหาสินค้าและร้านค้าออนไลน์ใหม่ๆ อีกด้วย

บทสนทนาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เกิดการช้อปออนไลน์ โดยคนไทยบนทวิตเตอร์ 39% มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าเมื่อได้อ่านรีวิวการใช้งานจากคนอื่น และ 1 ใน 3 (หรือประมาณ 36%) มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าเมื่อทวีตนั้นมียอด “ไลค์” เยอะหรือมีคอมเม้นต์ดีๆ บนโซเชียลมีเดีย

นายมาร์ติน ยูเรน หัวหน้าแผนกงานวิจัย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและระดับโลกของทวิตเตอร์ เปิดเผยว่า “แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ก็ตาม แต่งานวิจัยของเราพบว่าผู้บริโภคชาวไทย มีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศไทยและระดับโลก ซึ่งนำไปสู่การซื้อของออนไลน์ที่มีการเติบโตพุ่งสูงขึ้น โดย 35% ของผู้คนบนทวิตเตอร์ชาวไทยมีการซื้อของออนไลน์มากกว่า 10 ครั้งในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และ 1 ใน 3  ของกลุ่มนี้มีการซื้อสินค้าออนไลน์จำนวนที่มากกว่าซื้อที่ร้านค้าอีกด้วย”
อีกไม่กี่เดือนก็จะสิ้นปี2564แล้ว ทวิตเตอร์จึงได้เจาะลึกเทรนด์ #ShoppingDays ในประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้



*** การช้อปออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ
ถึงแม้หลายๆ คนต้องหันมาซื้อของทางออนไลน์เพราะความจำเป็น แต่ก็เห็นได้ชัดว่าร้านค้าปลีกมีความพยายามที่จะสร้างความตื่นเต้นและกระตุ้นให้นักช้อปทั้งหลายซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น เช่นการดึงเหล่าคนดัง ดารา พรีเซนเตอร์ชื่อดังมาร่วมงานและจัดอีเวนต์ขายของด้วยระบบไลฟ์สตรีมมิ่งที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการทำการตลาดเนื่องจากการช้อปปิ้งออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับทุกคนไปแล้ว
ทั้งนี้15% ของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย รู้สึกว่าการซื้อสินค้าออนไลน์มอบประสบการณ์ที่ไม่ต่างจากการไปซื้อสินค้าที่ร้านค้า ในขณะที่ 23% ชื่นชอบประสบการณ์การซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มากกว่า โดย 31% เชื่อว่าพวกเขาซื้อสินค้ามากขึ้น เมื่อเทียบกับการไปซื้อที่ร้านค้า และ 27% เชื่อว่าถึงแม้ร้านค้าปลีกจะกลับมาเปิดให้บริการตามปกติพวกเขาก็จะยังคงสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ต่อไป

*** ทางเลือกของรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป
ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดทำให้การจัดลำดับความสำคัญของการซื้อสินค้าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
ยกตัวอย่างการซื้อของใช้ที่จำเป็น ก็ถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมมาซื้อสินค้าทางออนไลน์แทน ทำให้นักช้อปออนไลน์เลือกซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น เช่น เสื้อผ้า (48%) และผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว (51%)

เนื่องจากทุกคนจำเป็นต้องใช้เวลาอยู่บ้านเพิ่มมากขึ้น คนไทยส่วนใหญ่จึงมองหาสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้เวลาอยู่บ้าน เช่น 44% ต้องการซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ส่วนอีก 30% มองหาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ส่วนการรักษารูปร่างให้ฟิตแอนด์เฟิร์มและมีสุขภาพที่ดีแข็งแรง ยังคงเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ โดยนักช้อป 21% เลือกที่จะซื้อยาและอาหารเสริมทางออนไลน์ และอีก 9% เลือกที่จะลงทุนในแผนประกันต่างๆ



*** ปิดการขาย
บทสนทนาของผู้บริโภคมีความสำคัญกับแบรนด์ โดยเฉพาะเมื่อเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ เนื่องจากผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ 45% บนทวิตเตอร์ประเทศไทยกล่าวว่า รีวิวจากผู้ใช้งานจริงช่วยให้พวกเขาตัดสินใจซื้อสินค้าต่างๆ ขณะที่ 34% ให้น้ำหนักกับคอมเม้นต์และรีวิวที่อยู่บนทวิตเตอร์ โดย 34% ระบุว่า ได้เข้าไปดูสินค้าที่เว็บไซต์หรือไม่ก็จะหาข้อมูลของสินค้านั้นๆ เพิ่มเติม หลังจากที่ได้เห็นโฆษณาบนทวิตเตอร์
แล้วแบรนด์จะสามารถสร้างแรงจูงใจในแง่บวกต่อผู้บริโภคได้อย่างไร? ระหว่างที่นักช้อปไทยกำลังศึกษาข้อมูลในการซื้อ พบว่ามีหลายปัจจัยสร้างแรงดึงดูดในการตัดสินใจซื้อ เช่น การจัดส่งฟรี (62%) มีคูปองและส่วนลด (58%) และบริการเก็บเงินปลายทาง (36%)

อย่างไรก็ตาม การได้เป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาทั้งหมดบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น คนไทยจำนวน 61% มีแนวโน้มที่จะศึกษาหาข้อมูลของสินค้าทางออนไลน์ และ 65% มีแนวโน้มที่จะใช้คูปองและโค้ดส่วนลด ถ้าหากว่าพวกเขาเพิ่งใช้งานเป็นครั้งแรก เช่น เห็นจากการรีวิวหรือแคมเปญ โดยเฉลี่ยแล้วแบรนด์ที่ผลักดันให้เกิดบทสนทนาบนทวิตเตอร์ให้เพิ่มขึ้น 10% จะสามารถเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น 3%



แบรนด์สามารถใช้สูตรสำเร็จของทวิตเตอร์มาปรับใช้กับกลยุทธ์รับวันช้อปปิ้ง #ShoppingDays ได้ดังนี้

1. ฟัง (Listen) - แคมเปญที่จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้น ต้องมีความเกี่ยวข้องและกำลังจะมีความเกี่ยวข้อง แบรนด์ควรฟังกลุ่มเป้าหมายบนทวิตเตอร์และมองหาว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ หรือ กำลังสนใจ หรือ สนทนาเกี่ยวกับเรื่องอะไรอยู่
2. อุ่นเครื่อง (Tease) - แบรนด์ควรเป็นผู้เริ่มบทสนทนากับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นการสร้างและผูกสัมพันธ์ ตลอดจนสร้างความสนใจก่อนที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ
3. การเปิดตัว (Reveal) - เป็นช่วงเวลาที่แบรนด์เปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่ตลาดและสร้างการรับรู้
4. หลังการเปิดตัว (Reinforce) - หลายแบรนด์อาจมองข้ามสเต็ปเพื่อหล่อเลี้ยงบทสนทนากับกลุ่มเป้าหมายนี้ไป โดยขั้นตอนนี้จะช่วยผลักดันให้แบรนด์ต่างๆ เข้ามาอยู่ในใจ ตลอดจนกระตุ้นการตัดสินใจซื้อและเกิดการบอกต่อ

*** เชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายบนทวิตเตอร์
ทวิตเตอร์คือสถานที่ที่ผู้คนเข้ามาเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น #WhatsHappening และเห็นว่ามีบทสนทนา แพสชั่น เหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังขับเคลื่อนสังคมและส่งผลต่อด้านอื่นๆ ของชีวิตได้
นอกจากชาวทวิตภพจะทรงอิทธิพลและมีความกระตือรือร้นแล้ว ทวิตเตอร์นับได้ว่าเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของแบรนด์ เพราะสามารถสื่อสารไปในวงกว้างได้มากกว่าและเร็วกว่าแพลตฟอร์มอื่น อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการสร้างความเชื่อมโยงทั้งแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี เทศกาลแห่งการช้อปปิ้งออนไลน์ #ShoppingDays กำลังใกล้เข้ามาอีกครั้ง.