ครอบครัว‘นกกระเรียนพันธุ์ไทย’ โชว์ตัว! สัตว์ป่าสงวนที่เคยหายไป

ครอบครัว‘นกกระเรียนพันธุ์ไทย’ โชว์ตัว! สัตว์ป่าสงวนที่เคยหายไป

  • 0 ตอบ
  • 99 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา) เผยแพร่ภาพครอบครัวนกกระเรียนไทย ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่าสามารถขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติแล้ว พร้อมกับเชิญชวนคนไทยช่วยกันอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยในพื้นที่ชุ่มน้ำ 3 แห่ง ในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งที่นี่ยังเป็นพื้นที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของนกอีกหลายชนิด

ในอดีต นกกระเรียนไทย (Sarus Crane) เป็น 1 ในสัตว์ป่าสงวน 19 ชนิดของไทย ไม่พบรายงานในธรรมชาติของประเทศไทยมานานร่วม 50 ปี ต่อมาด้วยความร่วมมือระหว่าง องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมกันเพาะพันธุ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยในกรงเลี้ยง พร้อมทำการศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม จนกระทั่งเมื่อปี 2554 ได้ดำเนินการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติเป็นครั้งแรกที่จังหวัดบุรีรัมย์



จากความร่วมมือดังกล่าวทำให้นกกระเรียนไทยสามารถกระจายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ ในพื้นที่ชุ่มน้ำ 3 แห่ง ได้แก่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน จังหวัดบุรีรัมย์ และพื้นที่โดยรอบ

ทั้ง 3 พื้นที่ชุ่มน้ำเหมาะแก่การอยู่อาศัยของนกหลายชนิด และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ มีความสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติ นันทนาการ และการท่องเที่ยว รวมทั้งมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของประชาชน

จึงขอความร่วมมือช่วยกันอนุรักษ์นกกระเรียนไทย และพื้นที่ชุมน้ำ ทั้ง 3 แห่ง ให้คงอยู่คู่กับประเทศไทย สืบไป และหากพบเห็นสัตว์ป่าได้รับบาดเจ็บ หรือ พบสัตว์ป่าพลัดหลง หรือ การล่าสัตว์ป่า โปรดแจ้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หมายเลขสายด่วน 1362 ตลอด 24 ชั่วโมง



นกกระเรียนไทยเป็นนกขนาดใหญ่ เมื่อยืนสูงถึง 1.8 เมตร คอยาว หัวและคอเป็นหนังเปลือยสีแดงสด กระหม่อมเป็นแผ่นกระดูกแข็งสีเทา ขนลำตัวสีเทา ขายาวสีแดงสด พบตามท้องนาและพื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ ของประเทศไทย ปัจจุบันมีสถานะการอนุรักษ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (VU)

ทั้งนี้ นกกระเรียนไทยไม่ใช่นกอพยพทางไกลเหมือนนกกระเรียนชนิดอื่นๆ แต่ก็มีการอพยพเป็นระยะทางช่วงสั้น ๆ ในฤดูแล้งและฤดูฝน ประชากรนกกระเรียนที่มีการอพยพนั้นพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น นกกระเรียนที่จับคู่จะปกป้องอาณาเขตจากนกกระเรียนอื่นด้วยเสียงร้องกู่ร้อง "แกร๋...แกร๋..." ดังเหมือนแตรและกางปีก ส่วนนกที่ยังไม่จับคู่ก็มักจะอยู่รวมกันเป็นฝูง

เครดิตภาพโดย : นายเพิ่มศักดิ์ กนิษฐชาต, นายปรีชา หนอสิงหา
ที่มา : สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 (นครราชสีมา)



เครดิตคลิป PrasitPhoto

นกกระเรียนไทย คืนถิ่นที่บุรีรัมย์ หลังจากที่เคยยสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในเมืองไทยยาวนานถึง
50 ปี บันทึกภาพและถ่ายทำโดยอาจารย์ประสิทธิ์ จันเสรีกร (โพสต์ไว้เมื่อ17 ม.ค.2019)