กนอ.เพิ่มตัวเลือกแหล่งน้ำ เซ็นรายใหม่ซื้อน้ำป้อนอีอีซี

กนอ.เพิ่มตัวเลือกแหล่งน้ำ เซ็นรายใหม่ซื้อน้ำป้อนอีอีซี

  • 0 ตอบ
  • 82 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Cindy700

  • *****
  • 3330
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ความต้องการน้ำในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะขาดแคลน โดยปัจจุบันมีต้นทุนน้ำรวม 1,537 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีความต้องการน้ำรวม 2,190 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเป็นความต้องการภาคอุตสาหกรรมเท่ากับ 625.31 ล้านลูกบาศก์เมตร

วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า เพื่อให้การบริการจัดการน้ำในอีอีซีมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่และเป็นฐานสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย กนอ.ลงนามสัญญาซื้อขายน้ำดิบกับ บริษัท วาย.เอส.เอส.พี.แอกกริเกต จำกัด เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการด้านน้ำภาคอุตสาหกรรม และรองรับการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมในอีอีซี รวมถึงสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้นิคมอุตสาหกรรมในอีอีซี

ทั้งนี้ มีการพยากรณ์ความต้องการน้ำใน 5 ปี ข้างหน้า เท่ากับ 2,481 ล้านลูกบาศก์เมตร ใน 10 ปีข้างหน้าเท่ากับ 2,615 ล้านลูกบาศก์เมตร และใน 20 ปีข้างหน้า 2,722 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งแสดงถึงความเสี่ยงของการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอนาคต

ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณารายจังหวัดจะเห็นว่า จังหวัดชลบุรี ปริมาณความต้องการน้ำภาคอุตสาหกรรม 247.02 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปริมาณน้ำต้นทุนของจังหวัดมีเพียง 291.63 ล้านลูกบาศก์เมตร และจังหวัดระยอง ปริมาณความต้องการน้ำภาคอุตสาหกรรมมี 307.3 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยที่ปริมาณน้ำต้นทุนของจังหวัดมีเพียง 757.77 ล้านลูกบาศก์เมตร

“จากความต้องการใช้น้ำที่จะเพิ่มต่อเนื่อง กนอ.ต้องพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อสร้างความมั่นคงให้ภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้กระบวนการผลิตต่อเนื่อง สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการ”


สำหรับปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 2 แห่ง มีโรงงาน 303 แห่ง แบ่งเป็น นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง 221 แห่ง ในปีนี้ต้องการใช้น้ำ 740,000 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน และ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 82 แห่ง ต้องการใช้น้ำ 6.4 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อเดือน และแต่ละปีเพิ่มขึ้น 1% โดยปี 2566 คาดว่าจะมีปริมาณการใช้น้ำ 74-75 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพราะมีโรงงานใช้การผลิตเยอะขึ้น

ทั้งนี้ จากปริมาณการใช้น้ำที่ค่อนข้างสูงจึงต้องสรรหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ ขณะเดียวกันยังป้องกันการขาดแคลนน้ำช่วงฤดูแล้งที่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งของการลงนามในสัญญาซื้อขายน้ำดิบ เพื่อให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมไม่สะดุด และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในอีอีซี

ส่วนแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังมาจาก บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ โดยจ่ายน้ำจากอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 80% และจากอ่างหนองค้อหรืออ่างบางพระ 20% ขณะที่แหล่งน้ำดิบของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มาจากอ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่

สำหรับบริษัท วาย.เอส.เอส.พี.แอกกริเกต จำกัด มีแหล่งน้ำคุณภาพและจ่ายน้ำให้นิคมอุตสาหกรรมในราคาเหมาะสม โดยจัดหาและจ่ายน้ำดิบให้ กนอ.เพื่อใช้บริหารจัดการน้ำนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังไม่น้อยกว่า 15,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ไม่น้อยกว่า 200,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

สำหรับการลงนามซื้อขายน้ำดิบครั้งนี้ มีอายุสัญญา 20 ปี โดยเป็นราคาซื้อขายที่ถูกกว่าแหล่งน้ำหลักที่ขายให้ปัจจุบัน อีกสัญญายังระบุว่าอนาคตหากมีการเปลี่ยนแปลงจะโดนปรับกี่เปอร์เซ็นต์ ทำให้ กนอ.มั่นใจว่าจะบริหารจัดการน้ำได้ยั่งยืน

“การลงนามกับเอกชนครั้งนี้ ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเกิดจากปี 2562-2563 มีน้ำให้เราไม่พอจึงต้องการหาความมั่นคงให้ผู้ประกอบการในภาคตะวันออก เราพยายามหาหลายที่จนมาเจอบริษัทนี้ อนาคตจะดูต่อไปหากน้ำมีเพียงพอที่จะซัพพลายให้ที่อื่น เชื่อว่านิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ร่วมกับเราคงสนใจ”

ส่วนแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้ง กนอ.ประเมินว่า เมื่อบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ได้ยั่งยืนเพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมแล้ว การจัดเตรียมแหล่งน้ำเพื่อรองรับน้ำฝนให้มากขึ้นจะเป็นส่วนหนึ่งของการกักเก็บน้ำไว้ใช้ ดังนั้นการลงนามครั้งนี้จะแก้ปัญหาภัยแล้งได้ในระยะเวลา 5-10 ปี