พาณิชย์ผนึกกำลังร่วมกับปั๊มน้ำมัน ส่งเสริมการบริโภคลำไยอบแห้ง

พาณิชย์ผนึกกำลังร่วมกับปั๊มน้ำมัน ส่งเสริมการบริโภคลำไยอบแห้ง

  • 0 ตอบ
  • 66 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chigaru

  • *****
  • 2319
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) ทำให้มีการชะลอการรับซื้อของตลาดทั้งในและต่างประเทศ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จึงได้เร่งเข้าไปแก้ไขปัญหา ตามมาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2564 ดังนี้ 

1. สนับสนุนการรับซื้อผ่านสัญญาข้อตกลงระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับห้างค้าส่ง-ค้าปลีก 7 ราย ได้แก่ บิ๊กซี เดอะมอลล์ สยามแมคโคร โลตัส ท็อปมาร์เก็ต ตลาดกลางสินค้าเกษตร และ P80 2. รณรงค์บริโภคผลไม้ผ่านร้านธงฟ้า, รถโมบายผลไม้ จำหน่ายในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 30 คัน, สถานีบริการน้ำมัน 3 ราย ได้แก่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน), บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน), ผ่านห้างท้องถิ่น, ห้างค้าส่ง-ค้าปลีก และททบ.5 มากกว่า 24,000 ตัน และ 3. เข้าไปรับซื้อผลผลิตลำไยรูดร่วง 3,000 ตัน ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ซึ่งเกษตรกรประสบปัญหาไม่มีช่องทางการตลาด ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น



ในส่วนของกิจกรรมในวันนี้ กรมฯ ได้ผนึกกำลังร่วมกับสถานีบริการน้ำมัน 3 รายใหญ่ ประกอบด้วย บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน), บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท. น้ำมัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) รับซื้อลำไยอบแห้งแล้วในปริมาณ 200 ตัน ซึ่งคิดเป็นลำไยสด 600 ตัน นำมามอบให้กับผู้ใช้บริการในสถานีให้บริการน้ำมัน ทั้งกรุงเทพ ปริมณฑลฯ และภาคอีสาน รวมกว่า 1,000 สาขา ในจำนวน 1,000,000 ถุง โดยกรมฯ ช่วยสนับสนุนค่าบริหารจัดการ และประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อส่งเสริมการบริโภคลำไยอบแห้ง ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่ไม่สามารถกระจายผลผลิตออกสู่แหล่งเพาะปลูกได้ ในห้วงเวลานี้

อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ มั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าการเข้าไปช่วยเร่งกระจายผลผลิตลำไย สู่ผู้บริโภคโดยตรงจะสามารถกระตุ้นการบริโภคได้เป็นอย่างมาก และจะสามารถรักษาเสถียรภาพด้านราคาส่งผลให้สถานการณ์ราคาลำไยในภาคเหนือกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง อีกทั้งพี่น้องเกษตรกรก็จะมีรายได้ที่ดีขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน