BBIK จ่อขายไอพีโอ 25 ล้านหุ้น ก.ย.นี้

BBIK จ่อขายไอพีโอ 25 ล้านหุ้น ก.ย.นี้

  • 0 ตอบ
  • 90 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 


BBIK จ่อขายไอพีโอ 25 ล้านหุ้น ก.ย.นี้
« เมื่อ: กันยายน 01, 2021, 05:27:18 am »


นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK เปิดเผยว่า บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจในปี 2556 โดยเล็งเห็นถึงการเติบโตของธุรกิจที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในประเทศไทย จึงได้นำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทีมผู้บริหารและบุคลากร ที่เคยร่วมงานกับบริษัทคอนซัลต์ชั้นนำระดับโลก เพื่อให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ให้เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันรองรับการเติบโตแบบไร้ขีดจำกัดและตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ด้วยความเข้าใจในบริบทของการดำเนินธุรกิจในระดับภูมิภาค  

ADVERTISING

ปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้าเป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆ จาก 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจการเงิน ประกันภัย เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และธุรกิจอื่นๆ อาทิ พลังงานและสาธารณูปโภค อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ทั้งที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET 50 และ SET 100 และบริษัทจำกัด โดยมี 5 บริการหลักตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย ได้แก่  

1. บริการให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการ (Management Consulting) โดยทำหน้าที่ค้นหาปัจจัยความสำเร็จทางธุรกิจให้แก่ลูกค้า กำหนดทิศทางกลยุทธ์ด้านต่างๆ วิเคราะห์ผลกระทบและโอกาสเชิงเศรษฐศาสตร์จากการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเติบโตอย่างก้าวกระโดด (Exponential Growth) 

2. บริการที่ปรึกษาการบริหารจัดการโครงการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic PMO) โดยทำหน้าที่บริหารโครงการขนาดใหญ่ ที่มีความซับซ้อนสูงให้กับองค์กรขนาดใหญ่ และเข้าไปวางโครงสร้างระบบไอทีภายในองค์กร   

3. บริการพัฒนาระบบดิจิทัลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี (Digital Excellence and Delivery) โดยทำหน้าที่         ให้คำปรึกษาเชิงลึกด้านดิจิทัลครบวงจรและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับแต่ละองค์กร  

4. บริการที่ปรึกษาด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Big Data & Advanced Analytics) โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย AI และให้คำแนะนำการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล เพื่อสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม   

5. บริการด้านทรัพยากรบุคคลชั่วคราวที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอที (IT Staff Augmentation) โดยจัดหาพนักงานที่เชี่ยวชาญด้านไอที อาทิ โปรแกรมเมอร์ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อปฏิบัติงานตามกำหนดระยะเวลาจนจบโครงการ 

ทั้งนี้ ประเมินว่าในปี 2564 ภาพรวมตลาดดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในประเทศไทยจะมีมูลค่ารวม 280,000 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 442,000 ล้านบาท ในปี 2568 ซึ่งจะมีผลต่อการเติบโตของ GDP เฉลี่ยปีละ 0.4% (อ้างอิงจากข้อมูลของไมโครซอฟท์และไอดีซี เอเชียแปซิฟิก) สอดคล้องกับทิศทางการขยายตัวของตลาดโลก ซึ่งในปี 2563 มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 469,800 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,009,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2568 คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย 16.5% ต่อปี (ข้อมูลจาก MarketsandMarkets) เนื่องจากบริษัทต่างๆ เห็นถึงความจำเป็นในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานสู่ดิจิทัล ส่งผลให้การใช้งานระบบเชื่อมต่อข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet of Things : IoT)  บิ๊กดาต้า และเทคโนโลยีคลาวด์  มีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้น โดยมี COVID-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในองค์กรเพื่อรับมือกับกระแสดิสรัปชันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) 

บริษัทฯ จึงวางแผนขยายธุรกิจเพื่อการเติบโต เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเป็นบริษัทคอนซัลต์ด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันชั้นนำแบบครบวงจร ได้แก่ 1. การเพิ่มบุคลากรและพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ตลอดจนวางแผนพัฒนาศูนย์การพัฒนาทักษะ (Learning Academy Center) 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลเพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Software as a Service หรือ SaaS) รวมถึงจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Research and Development Center) 3. เสริมศักยภาพการบริหารจัดการภายใน ผ่านการยกระดับระบบซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการเติบโตขององค์กร 4. ขยายพื้นที่สำนักงานรองรับการเพิ่มบุคลากร 5. ลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องและมีศักยภาพเพื่อสร้างการเติบโตและรับมือความผันผวนของตลาด และ 6. เสริมศักยภาพด้านเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน  

'นอกจากการให้บริการที่ครบวงจร บริษัทฯ ยังเดินหน้าขยายความร่วมมือกับองค์กรชั้นนำในการนำเทคโนโลยีมาช่วย ทรานส์ฟอร์มองค์กร โดยล่าสุดได้ร่วมมือกับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR จัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อ บริษัท ออร์บิท ดิจิทัล จำกัด (ORBIT) เพื่อเติมเต็มนวัตกรรมและศักยภาพด้านดิจิทัลสู่การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ซึ่งมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนของ ORBIT เป็น 50 ล้านบาท เพื่อยกระดับขีดความสามารถขององค์กรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่การเพิ่มมูลค่าและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับ OR ในอนาคต รวมถึงยกระดับเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในอุตสาหกรรมค้าปลีก' นายพชร กล่าว 


นางสาวศรีแพร ธนฐิติพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK กล่าวว่า บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานปี 2561 – 2563 เติบโตก้าวกระโดด โดยมีรายได้จากการขายและบริการ 132.76 ล้านบาท 184.94 ล้านบาท และ 200.53 ล้านบาทตามลำดับ เติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 22.90% และมีกำไรสุทธิ 19.22 ล้านบาท 31.71 ล้านบาท และ 44.29 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 51.8% เนื่องจากได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าที่ต้องการทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัลเพิ่มขึ้น  

ขณะที่ผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกปีนี้ มีรายได้จากการขายและบริการ 126.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิ 30.06 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราส่วนกำไรสุทธิที่ 23.67% โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการเติบโตของธุรกิจบริการที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบดิจิทัลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี (Digital Excellence and Delivery) ธุรกิจบริการที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการ (Management Consulting) และธุรกิจที่ปรึกษาด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Big Data & Advanced Analytics)  


ด้าน นายพายุพัด มหาผล กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บมจ.บลูบิค กรุ๊ป ถือเป็นหุ้นคอนซัลต์ด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันตัวแรกในไทย ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการทรานส์ฟอร์มองค์กรด้วยเทคโนโลยี  มีจุดเด่นด้านผลการดำเนินงานย้อนหลังที่เติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งรายได้และผลกำไร   มีพอร์ตลูกค้าที่แข็งแกร่งซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำ มีคณะกรรมการบริษัทฯ ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์จากบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก รวมถึงมีโอกาสขยายตัวอีกมากจากเมกะเทรนด์ จึงส่งผลให้ BBIK เป็นหุ้นอีกตัวที่มีศักยภาพเติบโตสูงและน่าจับตามอง  

ทั้งนี้ หลังจาก บมจ.บลูบิค กรุ๊ป ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 25 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้ ปัจจุบันแบบ คำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ได้รับการอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต.แล้ว หลังจากนี้จะร่วมกันกำหนดวันที่เหมาะสมในการเสนอขาย IPO และคาดว่าจะนำ บมจ.บลูบิค กรุ๊ป เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ภายในเดือนกันยายนนี้