หอการค้าไทย แนะใช้ Digital Health Pass ช่วยควบคุมการเปิดธุรกิจ

หอการค้าไทย แนะใช้ Digital Health Pass ช่วยควบคุมการเปิดธุรกิจ

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Shopd2

  • *****
  • 2300
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายสนั่น  อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทย และคณะทำงานกลุ่มมาตรการสำหรับการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ (Business Resume) ภายใต้คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้มีข้อเสนอเปิดเมืองปลอดภัย เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเสนอให้มีการผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจ ให้สามารถกลับมาดำเนินการได้ พร้อมปรับการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ปลอดภัย และควบคุมการระบาดของโรคให้อยู่ในระดับที่ความสามารถทางสาธารณสุขรองรับได้

“ภาคเอกชนได้เห็นตรงกันว่า การผ่อนคลายให้กิจการและธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการ ควรพิจารณาจากความพร้อมของพื้นที่และลักษณะของกิจการ ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลในปัจจุบันมาเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงของพื้นที่ใหม่แทนการพิจารณาจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพียงอย่างเดียว โดยสามารถพิจารณาจาก ความครอบคลุมของการฉีดวัคซีน ทั้งในภาพรวมและกลุ่มเสี่ยง ขีดความสามารถทางสาธารณสุข เช่น จำนวนเตียงสีเหลือง แดงที่เหลือ หรือจำนวนผู้ป่วย ICU หรือ สัดส่วนการเสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อ” นายสนั่น กล่าว



นายกลินท์  สารสิน ประธานอาวุโสหอการค้าไทย ในฐานะประธานคณะทำงานกลุ่มมาตรการสำหรับการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ กล่าวว่า ควรมีการพิจารณาให้กิจกรรมบางประเภทกลับมาจัดได้ แต่ต้องประเมินและจัดลำดับความเสี่ยงของกิจกรรม เพราะเราต้องใช้ชีวิตแบบ new normal ซึ่งภาคเอกชนพร้อมที่จะเข้าไปร่วมดำเนินการจัดทำมาตรฐาน กระบวนการป้องกัน และกระบวนการรักษาความสะอาด เพื่อให้เป็นมาตรฐานที่ยอมรับได้ รวมทั้งให้ธุรกิจเดินหน้าได้ ซึ่งเสนอให้แบ่งเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำ สามารถดำเนินการผ่อนคลายได้เลย


ส่วนกิจการที่มีความเสี่ยงปานกลาง ต้องมีมาตรการเพิ่มเติม ตรวจเรื่องความปลอดภัยของทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ โดยใช้ Digital Health Pass มาช่วยดำเนินการควบคุมการเปิดดำเนินการและการใช้บริการ แต่หากเป็นกิจการที่มีความเสี่ยงสูง ยังต้องปิดการดำเนินการไปก่อน

สำหรับระบบ Digital Health Pass สามารถนำมาใช้เพื่อตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีน หรือผลการทดสอบ Rapid Test ของประชาชน ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ โดยเชื่อมข้อมูลกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยืนยันและคัดแยกว่าประชาชนนั้นไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อ เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบที่มีอยู่ โดยระบบจะตรวจสอบข้อมูลจาก Centralized Portal ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. ผู้ออกเอกสารรับรอง (Issuers) เป็นข้อมูลจากส่วนกลางที่ระบุข้อมูล ทั้งข้อมูลการฉีดวัคซีน หรือผลการตรวจ ATK ที่จะเชื่อมโยงกับระบบปัจจุบันที่มีอยู่ได้ ซึ่งฐานข้อมูลสามารถแยกกันเก็บได้

2.ผู้ตรวจสอบคุณสมบัติในการเข้าสถานที่ (Verifiers) เจ้าของสถานประกอบการที่เป็นคนตรวจสอบก่อนให้เข้ามาในสถานประกอบการ โดยต้องกำหนดมาตรการและเงื่อนไขการเข้าสถานที่ เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อ โดยภาครัฐควรออกแนวปฏิบัติที่ชัดแจนออกมา

3. ประชาชนหรือบุคคลที่ขอเข้ารับบริการจากสถานที่ (Individual) ข้อมูลของแต่ละคน ที่จะต้องนำระบบ SMART PHONE หรือ QR CODE ซึ่งสามารถสั่งพิมพ์ออกมาได้ และเชื่อมข้อมูลไปยัง Issuers ว่าเป็นบุคคลนั้น ๆ โดยจะแสดงข้อมูลเฉพาะว่า “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน” เท่านั้น

“จากการศึกษาแนวทางผ่อนคลายกิจกรรมการเปิดประเทศจากต่างประเทศ พบว่า ใช้วิธีการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับสถานการณ์การระบาด พร้อมกับการป้องกันการเสียชีวิตควบคู่กันไป และการนำระบบดังกล่าวนี้มาใช้ จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นจุดแพร่ระบาดของเชื้อใหม่ได้ ซึ่งภาคเอกชนเห็นว่า ควรใช้เฉพาะบางกิจการที่มีความเสี่ยงเท่านั้น และเห็นว่า การสื่อสารและการขอความร่วมมือจากประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้น แนวทางที่ออกมาจึงต้องง่าย และสามารถปฏิบัติได้จริง” นายกลินท์ กล่าว

นอกจากนั้น คณะทำงานยังมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Digital Health Pass อาทิ ควรรองรับการอ่าน Vaccine Certificate ของชาวต่างชาติในอนาคตได้ และรองรับการทำงานแบบ offline เพื่อป้องกันระบบล่มเมื่อมีการใช้งานพร้อมกันมาก ๆ ควรมีการเข้ารหัส เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและอ่านข้อมูล รวมทั้ง ระบบต้องคำนึงถึงเรื่องความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ เพื่อสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วตามสถานการณ์ เป็นต้น