วว.ชูความสำเร็จ 'บีซีจีโมเดล' ยกระดับเกษตรกรรมไทยสู่เวทีโลก

วว.ชูความสำเร็จ 'บีซีจีโมเดล' ยกระดับเกษตรกรรมไทยสู่เวทีโลก

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ในการกำกับดูแลของ วว.ได้เดินหน้า BCG โมเดล ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลางตะวันตก ในปีงบประมาณ 2564 โดยสามารถยกระดับการผลิตพืชด้วยรูปแบบเกษตรสมัยใหม่ จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาให้เกิดการทำการเกษตรที่ปลอดภัย โดยใช้สารชีวภัณฑ์เป็นหลักในการผลักดันการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของกระบวนการผลิต ช่วยให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการได้รับผลิตผลที่ดีขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ลดปัญหาสุขภาพของเกษตรกร และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่ เพิ่มแต้มต่อให้ภาคเกษตรของไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

ทั้งนี้ วว. ได้ดำเนินงานในพื้นที่ 4 จังหวัดในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลางตะวันตกเป็นพื้นที่นำร่อง BCG Model ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกกว่า10 ล้านไร่ ใน 2 กลุ่มพืช คือ พืชไร่เศรษฐกิจหลักในพื้นที่ ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง พืชสวน ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม ส้มโอ กล้วยไข่ และหน่อไม้ฝรั่ง พื้นที่ดังกล่าว

นอกจากจะมีศักยภาพเป็นฐานการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญแล้ว ยังเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงเส้นทางการค้าการขนส่งระหว่างทะเลตะวันตกและทะเลตะวันออก มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่ง ที่เชื่อมต่อภาคอื่นๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และยังมีสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง สามารถเป็นเครือข่ายสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าในพื้นที่ได้อีกด้วย


วว. ดำเนินโครงการ BCG Model ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) การยกระดับการผลิตพืชรูปแบบเกษตรสมัยใหม่โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Biological Economy) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านกระบวนการผลิต ลดต้นทุน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2) การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ 3) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติจากขยะเหลือทิ้งทางการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) สร้างโอกาสและเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ ลดความเหลื่อมล้ำเศรษฐกิจฐานราก


โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น เทคโนโลยีข้าวเสริมซีลีเนียม การพัฒนาวัสดุเพาะเห็ดจากฟางข้าวเสริมซีลีเนียม พัฒนาวัสดุเพาะเห็ดจากกากมันสำปะหลัง บรรจุภัณฑ์ (Non Food) หน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออก การเพิ่มคุณภาพผลผลิตอ้อยด้วยปุ๋ยอินทรีย์เคมีเสริมจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต การเพิ่มคุณภาพและเพิ่มผลผลิตพืชด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต (มันสำปะหลังและกล้วย) ขยายชีวภัณฑ์ทางการเกษตรอย่างง่าย เทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์เวชสำอาง และเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ฯลฯ
 
ด้วยความร่วมมือจากเกษตรกรและเครือข่ายหน่วยงานสนับสนุนในท้องถิ่น ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการถึง 494 คน สามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีในพื้นที่นำร่องได้ประมาณปีละ 11.5 ล้านบาท หรือราว 25% ของมูลค่าสารกำจัดศัตรูพืชทั้งหมด มีกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารสุขภาพ (Functional Food) และต้นแบบบรรจุภัณฑ์ จำนวน 163 ราย เกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน สามารถผลิตสารชีวภัณฑ์ไว้ใช้เองได้จำนวน 5 ชนิด
 

นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าจำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างต้นแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Non Food) และผสานแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green Technology) และแนวคิดการออกแบบแบบองค์รวม (Holistic Design) ได้ 2 ต้นแบบ คือ ถาดเพาะชำกล้าอ้อยจากชานอ้อย และแผ่นกันการกระแทกจากกาบกล้วย รวมถึงได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเข้าร่วมลงทุนในด้านวิจัยและพัฒนาภายใต้ BCG โมเดลอีกจำนวน 6 ราย
 

"BCG Model เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จครั้งสำคัญของ วว. ที่ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ทางการเกษตรของสถาบัน สามารถช่วยยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรไทยในการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตได้หลากหลายรูปแบบยิ่งขึ้น ช่วยให้ผลผลิตในแปลงของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับผลผลิตที่ดีขึ้น ทั้งในแง่ปริมาณ คุณภาพ ความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สร้างรายได้ให้แก่เกษตรเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจ นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างเกษตรกรคุณภาพรุ่นใหม่ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจ ภายใต้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของชาติด้วย BCG โมเดลอย่างยั่งยืน" ชุติมา กล่าวทิ้งท้าย