เกษตรกรคอนแทรกต์ฟาร์ม ซีพีเอฟ เดินหน้าอาชีพต่อเนื่อง

เกษตรกรคอนแทรกต์ฟาร์ม ซีพีเอฟ เดินหน้าอาชีพต่อเนื่อง

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




วิกฤตโควิด-19 เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ใส่ใจความปลอดภัยของอาหารตลอดกระบวนการผลิตจนถึงมือผู้บริโภค เกษตรกรคอนแทรกต์ฟาร์มของซีพีเอฟ นอกจากเป็นอาชีพที่ไม่มีความเสี่ยง สร้างหลักประกันความมั่นคงในอาชีพแล้ว ยังสร้างหลักประกันความปลอดภัยในอาหารที่จะส่งถึงมือผู้บริโภคอีกด้วย

เกษตรกรที่ร่วมโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์ หรือคอนแทรกต์ฟาร์ม กับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า โควิด-19 ทำให้ยิ่งต้องเข้มข้นเรื่องมาตรการความปลอดภัยสูงกว่าเดิม นี่คือสิ่งที่พวกเราต้องปรับตัวเช่นกัน ถึงแม้ว่าอาชีพที่ทำจะมั่นคง ยั่งยืน เป็นอาชีพที่สามารถส่งต่อสู่ลูกหลาน แต่ในสถานการณ์อย่างนี้ “ความปลอดภัย” เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

เวทย์ ผิวพิมพ์ หรือลุงเวทย์ เจ้าของรัตนะฟาร์ม ต.บ้านโข้ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ที่ผันตัวเองจากอาชีพทำนาเพราะผลผลิตและราคาข้าวที่ไม่แน่นอน จึงตัดสินใจร่วมโครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงสุุกรขุนกับซีพีเอฟมาตั้งแต่ปี 2550 เป็นฟาร์มส่งเสริมแห่งแรกของ อ.อู่ทอง



ตลอด 14 ปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ลุงเวทย์มีโรงเรือนเลี้ยงสุกรขุน 9 หลัง ความจุรวม 6,000 ตัว ทั้งหมดควบคุมผ่านกล้องวงจรปิด ทำให้สามารถดูแลสุกรได้ทุกที่ทุกเวลา และยังเป็นการลดการเข้าไปในโรงเรือน ลดความเสี่ยงที่คนจะนำโรคเข้าฝูงสุกรได้เป็นอย่างดี เพื่อเสริมความปลอดภัยในอาหารอีกขั้นหนึ่ง ปัจจุบันลุงเวทได้ส่งต่ออาชีพให้ลูกชายเข้ามาดูแลสุกรจำนวน 6 โรงเรือน ลุงเวทย์บอกว่า การร่วมโครงการกับบริษัทเป็นการการันตีถึงความมั่นคงในอาชีพ การมีรายได้ที่แน่นอน และมีทีมงานมืออาชีพมาให้คำแนะนำดูแลใกล้ชิด เพื่อให้เกษตรกรมีผลผลิตดีที่สุด โดยเฉพาะในวิกฤตโควิดที่ซีพีเอฟให้ความรู้ด้านการป้องกันโรคสำหรับบุคลากรภายในฟาร์ม และการป้องกันโรคสุกรต่างๆ ด้วยระบบไบโอซีเคียวริตี (Biosecurity) เต็มรูปแบบ เพื่อให้คนปลอดภัยจากโควิดและสัตว์ปลอดโรค

“การร่วมเป็นคอนแทรกต์ฟาร์มกับซีพีเอฟไม่ต้องกังวลเรื่องตลาด เพราะบริษัทเป็นตลาดรองรับผลผลิตทั้งหมด อาชีพนี้จึงไม่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะสถานการณ์โควิดเช่นนี้ เกษตรกรยังเดินหน้าอาชีพต่อได้ แต่เราก็ต้องเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยให้ดีกว่าเดิมเพื่อยกระดับความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค” ลุงเวทย์ กล่าว



ส่วน พิทักษ์พงศ์ เนื่องแก้ว เกษตรกรรุ่นใหม่ วัย 24 ปี เล่าจุดเริ่มต้นการร่วมเป็นคอนแทรกต์ฟาร์มว่า เกิดจากการตัดสินใจของพ่อไพบูลย์ และแม่อิงอร เนื่องแก้ว ที่ต้องการมีอาชีพที่มั่นคง จากคำแนะนำของญาติที่ร่วมโครงการเลี้ยงสุกรกับซีพีเอฟอยู่แล้ว จึงลงทุนทำฟาร์มสุกรพ่อแม่พันธุ์ 120 ตัว ในชื่อ หจก.อิงอรไพบูลย์ฟาร์ม ที่ ต.โคกสี อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อปี 2544 จากนั้นได้ขยายฟาร์มเพิ่มขึ้นจนเป็น 350 แม่ในปี 2555 และมีผลประกอบการที่ดีมาโดยตลอดจนได้รับเลือกให้เป็นฟาร์มต้นแบบคอนแทรกต์ฟาร์มของซีพีเอฟในภาคอีสาน ที่เปิดรับคณะศึกษาดูงานทั้งไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง



จากการที่พิทักษ์พงศ์เห็นความสำเร็จของพ่อแม่มาตลอด และคลุกคลีกับการเลี้ยงสุกรมาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์มากว่า 18 ปี และจึงตัดสินใจสร้างฟาร์มสุกรขุน หจก.พิทักษ์พงศ์ วิชุดา รุ่งเรืองฟาร์ม ต.คูคำ อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น ของตนเอง 2 หลัง ความจุ 1,600 ตัว เมื่อปี 2563 ในรูปแบบสมาร์ทฟาร์มควบคุมการเลี้ยงผ่านระบบอัตโนมัติ พร้อมติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อมอนิเตอร์สุขภาพสัตว์และตรวจสอบย้อนกลับกระบวนการเลี้ยง

“ความสำเร็จของครอบครัวผมมีซีพีเอฟเป็นผู้ผลักดัน แม้ในวิกฤตโควิดอาชีพก็ไม่มีสะดุด เพราะบริษัทให้ความรู้ทั้งเรื่องการป้องกันโรคคนและโรคสัตว์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตสุกรที่มีคุณภาพ ส่งต่อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งพวกเราเกษตรกรทุกคนภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างหลักประกันอาหารปลอดภัย และเป็นหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตอาหารให้ทุกคนได้บริโภคอย่างเพียงพอในทุกๆสถานการณ์” พิทักษ์พงศ์กล่าว



ด้านเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ วิง บุญเกิด หรือผู้ใหญ่วิง เจ้าของบุญเกิดฟาร์ม ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อีกหนึ่งเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมากว่า 23 ปี กับอาชีพเลี้ยงไก่ไข่กับซีพีเอฟ นับจากที่หันหลังให้อาชีพเลี้ยงปลาช่อน และการเลี้ยงไก่ไข่แบบอิสระ ที่ตลาดมีความผันผวนสูงมาก ต้องรับภาระความเสี่ยงด้านการตลาดเองทั้งหมด รายได้จึงไม่แน่นอน เรียกว่าท้อจนเกือบถอย แต่มีซีพีเอฟยื่นมือเข้ามาช่วย จนกลายเป็นเกษตรกรรุ่นบุกเบิกในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่แบบประกันราคามาตั้งแต่ปี 2541

การตัดสินใจครั้งนั้นช่วยพลิกชีวิตจนสามารถปลดหนี้ที่ติดตัวมาก่อนกว่า 20 ล้านบาทได้สำเร็จ จากชีวิตที่ติดลบก็ยืนหยัดได้อย่างมั่นคง เพราะไม่ต้องเสี่ยงทั้งการผลิตและการตลาด มีบริษัทจัดหาพันธุ์ไก่ อาหาร วัคซีนให้ในราคาประกัน พร้อมส่งสัตวบาลมาดูแลการเลี้ยงไก่ 50,000 กว่าตัว ใน 10 โรงเรือน และแนะนำการป้องกันทั้งโรคคน และโรคสัตว์อยู่ตลอด โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 เราป้องกันเรื่องความปลอดภัยในระดับสูงสุด พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ที่สำคัญ อาชีพนี้ยังสร้างโอกาสและศักยภาพของเราในการเป็น “ผู้ให้ โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 โดยได้ใช้เงินทุนของตนเองและขอสนับสนุนจากซีพีเอฟบางส่วน นำไข่ไก่มาแจกให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่เดือดร้อน



ขณะที่ นาลอน หารวย เจ้าของนาลอนฟาร์ม ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ที่ตัดสินใจร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่กับซีพีเอฟมาตั้งแต่ปี 2543 จากที่เห็นความสำเร็จของน้องชายที่เลี้ยงไก่ไข่กับบริษัทอยู่ก่อนแล้ว ประกอบกับอยากมีอาชีพอิสระที่เป็นเจ้านายตัวเอง ทำงานที่บ้านไม่ต้องทิ้งครอบครัวไปทำงานที่อื่น ได้อยู่กับพ่อแม่และลูกๆ จึงได้สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ 1 หลัง ความจุ 5,000 กว่าตัว โดยมีแรงงานของคนในครอบครัวช่วยกัน ตลอดระยะเวลา 21 ปีที่ผ่านมามีซีพีเอฟคอยสนับสนุนในทุกๆ ด้าน เพื่อให้มีอาชีพมั่นคง มีรายได้ที่พออยู่ได้ มีอยู่มีกินไม่เดือนร้อน ในช่วงโควิดก็ยังทำอาชีพได้ต่อเนื่องไม่ได้รับผลกระทบ เจ้าหน้าที่ของบริษัทยังคงให้การดูแลและติดตามการเลี้ยงให้ได้ผลผลิตคุณภาพ และเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยในอาหาร เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพส่งมอบให้แก่ลูกค้า ขณะเดียวกัน นาลอนยังได้แบ่งปันให้แก่ชาวชุมชน โดยบริจาคไข่ไก่ที่ขอการสนับสนุนจากบริษัท สนับสนุน อบต.และสถานีอนามัย ซึ่งซีพีเอฟก็ยินดีช่วยในทุกๆ ครั้ง

ภาพความสำเร็จของเกษตรกรคอนแทรกต์ฟาร์มของซีพีเอฟมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน เดินหน้าอาชีพต่อได้ในสถานการณ์วิกฤต ยิ่งไปกว่านั้น เป็นการสร้างหลักประกันความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งบริษัทฯ และเกษตรกรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัยสู่ผู้บริโภค