กู๊ดดอกเตอร์ เทคโนโลยี ผนึกกำลัง สปสช. ส่ง Telemedicine 

กู๊ดดอกเตอร์ เทคโนโลยี ผนึกกำลัง สปสช. ส่ง Telemedicine 

  • 0 ตอบ
  • 79 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

deam205

  • *****
  • 2773
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




วันนี้ (25 ส.ค.) กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี (Good Doctor Technology: GDT) บริษัทเทคโนโลยีด้านสุขภาพระดับภูมิภาคที่ยึดมั่นในวิสัยทัศน์การให้บริการที่ว่า “หนึ่งแพทย์ต่อหนึ่งครอบครัวทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA)” ขอประกาศว่า ทางบริษัทได้รับการการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้เป็นผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วย

โรคโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการและผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงระหว่างการแยกกักตัวอยู่ที่บ้านหรือ Home Isolation ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดย GDTT มีเป้าหมายที่จะเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการแพทย์สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลและมียารักษาครบครันผ่านการให้บริการการแพทย์ทางไกลได้อย่างทันท่วงทีผ่านแอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่พร้อมใช้งานบนมือถือ ซึ่งความร่วมมือนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการบรรเทาวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของทางสปสช. หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่บริหารจัดการและให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพอย่างทั่วถึงภายในประเทศไทยในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นการรับมือกับปัญหาการขาดแคลนเตียงผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล และลดจำนวนผู้ป่วยติดค้างตามสถานพยาบาลต่าง ๆ อันเนื่องมาจากยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นของแต่ละวันในปัจจุบัน 



การบริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) จะสามารถช่วยลดภาระที่มากจนเกินรับมือให้กับระบบการดูแลสุขภาพในช่วงวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างไร

ในขณะที่ประเทศไทยยังคงต่อสู้กับการแพร่กระจายของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 GDTT ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องผลักดันความพยายามระดับประเทศในการแก้ไขปัญหาเรื่องของการจัดการการดูแลผู้ป่วยโดยใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพที่พร้อมใช้งานบนช่องทางดิจิทัล ด้วยการเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพแก่ผู้ที่แยกกักตัวอยู่ที่บ้านหรือภายในชุมชน GDTT มีเป้าหมายที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างความมั่นใจว่าทุกครอบครัวในประเทศไทยจะสามารถเข้าถึงแพทย์ประจำครอบครัวได้อย่างทั่วถึง และได้ผลักดันให้เกิดการนำบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) มาใช้ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดใหญ่ แอปพลิเคชันของบริษัท GDTT ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือและเข้ากับบริบทของผู้ใช้ชาวไทย โดยนอกเหนือจากบริการการแพทย์ทางไกลแล้ว ยังมีส่วนลดพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามต่างๆ รวมถึงเป็นแหล่งรวมบทความด้านสุขภาพที่เขียนโดยทีมแพทย์ประจำของ GDTT

แอปพลิเคชัน Good Doctor ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีการพิสูจน์แล้วว่าสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องของการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นประเทศอินโดนีเซียหรือประเทศจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบอัตโนมัติผู้ป่วยจะสามารถเชื่อมต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ภายใน 60 วินาที โดยไม่ต้องทำการนัดหมายล่วงหน้า อีกทั้งยังจะได้รับการวินิจฉัยและแผนการรักษาที่แนะนำได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียง 15 นาที 



นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ บริษัท กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายว่า “ด้วยการแพทย์ทางไกลและการดูแลผ่านช่องทางออนไลน์ เราจะสามารถให้การดูแลที่เหมาะสมแก่ผู้ที่กักตัวอยู่ในบ้านหรือภายในชุมชนได้อย่างทันท่วงที โดยเราจะ พยายามทำให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างดีที่สุด ที่สำคัญ คือ ในช่วงเวลานี้ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับคำแนะนำอย่างดีเพื่อที่พวกเขาจะสามารถเข้าใจอาการและจัดการอาการเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม ในที่สุดแล้ว เราหวังว่าจะสามารถลดความเสี่ยงที่อาการของผู้ป่วยจะทรุดลง รวมถึงป้องกันไม่ให้พวกเขามีอาการที่ร้ายแรงขึ้นอันจะนำไปสู่การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การให้บริการการแพทย์ทางไกลในประเทศไทยจะทำให้เรามีโอกาสปรับปรุงการจัดการบริการการแพทย์เบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว”

การที่กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายขอบเขตให้สถานพยาบาลเอกชนสามารถเบิกจ่ายค่ารักษาได้ในโครงการทำให้ GDTT สามารถช่วยสนับสนุนแนวทางการจัดการผู้ป่วยได้สองวิธี คือ

การทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบแอนติเจน (Antigen test kits: ATK) จะทำให้ผู้ป่วยสามารถตรวจการติดเชื้อได้อย่างง่ายดายรวดเร็วและสามารถนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งแต่การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR เพียงอย่างเดียว ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ

การดูแลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องแยกกักตัวที่บ้านหรือในชุมชนเพื่อคอยให้การดูแลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด-19 และรักษาผู้ป่วยตามอาการ

ในกรณีแรกผู้ป่วยสามารถปรึกษากับแพทย์และหากจำเป็นแพทย์จะสั่งชุดทดสอบแอนติเจนให้กับผู้ป่วย หากผลลัพธ์เป็นลบ ผู้ป่วยจะยังคงได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการสังเกตอาการด้วยตนเองอย่างเหมาะสม หากผลลัพธ์เป็นบวก จะมีการย้ายผู้ป่วยไปอยู่ในส่วนของการดูแลเบื้องต้นของ GDTT ในกรณีที่สองผู้ป่วยที่จำเป็นต้องแยกกักตัวที่บ้านหรือในชุมชนจะต้องลงทะเบียนกับสปสช. ก่อนเริ่มกักตัว หลังจากนั้นพวกเขาจะสามารถรับบริการด้านสุขภาพเพิ่มเติมด้วยการติดตามอาการและการให้คำปรึกษาผ่านช่องทางแอปพลิเคชันกับทีมแพทย์ประจำของ GDTT และยังจะมีการส่งยาไปให้ถึงที่บ้านเป็นระยะเวลา 14 วันตลอดช่วงที่ผู้ป่วยกักตัวอยู่ที่บ้าน ซึ่งบริการนี้รวมถึงยารักษาอาการที่แพทย์สั่ง ยารักษาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ได้รับการอนุมัติจากทางการและอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ ชุดทดสอบการติดเชื้อด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ปัจจุบัน GDTT ได้ร่วมกับผู้ให้บริการ์จัดส่งสินค้าซึ่งให้บริการตามความต้องการของผู้ป่วยครอบคลุมในหลายพื้นที่ เพื่อให้บริการตามควมต้องการของผู้ป่วย โดยจะทำการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ต่างๆที่จำเป็นให้ผู้ป่วยอย่างรวดเร็วที่สุด

เมลวิน หวู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับภูมิภาคของ กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี กล่าวเสริมว่า ความสามารถในการให้บริการที่เพียงพอกับปริมาณผู้ใช้งานเป็นปัจจัยสำคัญที่เราต้องพิจารณาเพื่อประเมินถึงระดับประสิทธิภาพของการบริการผ่านช่องทางออนไลน์ของเรา และเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้กับระบบการดูแลผู้ติดเชื้อโควิดที่บ้านและชุมชนของ สปสช. ด้วยรูปแบบการให้บริการทางไกลที่ไม่เหมือนใครของเราซึ่งมีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อแพทย์ของเรากับผู้ป่วยได้ทันทีเช่นนี้ เราพร้อมที่จะให้บริการผู้ป่วยจำนวนมาก ซึ่งต้องการเข้าถึงแพทยอย่างเร่งด่วนได้อย่างรวดเร็วเพียงปลายนิ้วสัมผัสในช่วงระยะเวลาการแยกกัก 14 วัน ด้วยเครือข่ายร้านขายยาและการจัดส่งสินค้าที่แข็งแกร่งของเราซึ่งครอบคลุมทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร เราจะสามารถดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้นและให้บริการทางการแพทย์ได้อย่างง่ายดายเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและสมรรถนะของระบบซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของบริการสุขภาพดิจิทัลของเรา”