จี้ ศบค.เร่งพิจารณา​ข้อเสนอขอนำเข้าแรงงานเพื่อนบ้านช่วยเก็บลำไย

จี้ ศบค.เร่งพิจารณา​ข้อเสนอขอนำเข้าแรงงานเพื่อนบ้านช่วยเก็บลำไย

  • 0 ตอบ
  • 85 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jenny937

  • *****
  • 2838
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




จันทบุรี​-  นายกสมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา จันทบุรี  หวั่นไม่มีแรงงานเก็บผลผลิตลำไยที่กำลังจะเริ่มออกสู่ตลาดในเดือน ก.ย.นี้และจะออกมากช่วงปลายปี  จี้  ศบค.เร่งพิจาณาข้อเสนอขอนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านภายใต้มาตรการป้องกันโควิด-19 

จากกรณีที่​ผลผลิตลำไยของไทยที่เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่ช่วงเดือน ส.ค.นี้เป็นต้นไป ขณะที่ผลผลิตลำไยใน จ.จันทบุรี จะทยอยออกสู่ตลาดจำนวนมากนับตั้งแต่เดือน ต.ค.-ธ.ค. และคาดว่าในปีนี้จะมีผลผลิตมากถึง 300,000 ตันจนทำให้เกษตรกรในพื้นเริ่มหวั่นวิตกว่าอาจเก็บผลผลิตไม่ทันจากปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานในประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่สามารถเดินทางเข้าไทยได้ จากปัญหาการระบาดอย่างหนักของโรคโควิด-19 ทั้งในประเทศกัมพูชา และไทยนั้น

ล่าสุด ดร.รัฐวิทย์ ตั้งเกียรติพชร นายกสมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา จันทบุรี ได้ออกมาเปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่าขณะนี้สมาคมฯ ได้ทำหนังสือผ่าน จ.จันทบุรี เพื่อให้ส่งต่อไปยัง ศบค.เพื่อให้พิจารณาเรื่องการอนุมัติ​นำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกร​ เพื่อแก้ไขการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร(เก็บลำใย) จ.จันทบุรี

นอกจากนี้ยังได้แนบแผนการนำเข้าแรงงานและควบคุมแรงงานเพื่อภาคการเกษตรเสนอต่อ ศบค.เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที



ดร.รัฐวิทย์ ยังกล่าวอีกว่าในปี 2563 ที่ผ่านมา จ.จันทบุรี ได้ขอนำเข้าแรงงานจากจังหวัดไกล้เคียงในประเทศกัมพูชาทั้งจาก จ.พะตะบอง และไพลิน จำนวน 1,000 คนเพื่อช่วยเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยตั้งแต่สุดท้ายเมื่อถึงเวลาจริงกลับไม่สามารถนำเข้าแรงงานได้

" ในครั้งนี้เราได้เสนอความต้องการแรงงานต่อ ศบค.เข้าไปใหม่โดยไม่ได้ระบุจำนวนว่าในแต่ละวันต้องใช้เท่าใดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับชาวสวนที่มีความต้องการแรงงาน แต่ได้เน้นนำเสนอมาตรการแรงงานที่จะนำเข้ามาคือ แรงงานกัมพูชา ที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ซึ่งในช่วงกลางเดือนก.ย.นี้ ประเทศกัมพูชา จะฉีดวัคซีนให้ประชานได้ครบร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด"

และหลังแรงงานเดินทางเข้ามาในไทยแล้วเจ้าของสวนต่างๆก็จะต้องทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจโควิดให้กับแรงงานก่อนนำเข้ากักตัวในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้เป็นเวลา 14 วันก่อนเข้าทำงานในสวนผลไม้อีกด้วย