ฮือฮา! ญี่ปุ่นใช้ “ยาค็อกเทลแอนติบอดี” จากสหรัฐฯเป็นอาวุธใหม่สู้โควิด-19

ฮือฮา! ญี่ปุ่นใช้ “ยาค็อกเทลแอนติบอดี” จากสหรัฐฯเป็นอาวุธใหม่สู้โควิด-19

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Joe524

  • *****
  • 2320
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เอเจนซีส์ – เจ้าหน้าที่ระดับสูงญี่ปุ่นต่างคาดหวังว่าวิธีใหม่ในการรักษาโควิด-19ด้วยค็อกเทลยาแอนติบอดี (antibody cocktail)ของบริษัทยาสหรัฐฯชื่อดัง เรเจนเนอรอน ฟาร์มาซูติคอลส์ อิงค์( Regeneron Pharmaceuticals Inc) จะกลายเป็นอีกหนึ่งเสาหลักในการต่อสู้วิกฤตโรคโควิด-19ระบาดได้สำเร็จหลังจากที่ผ่านมาพึ่งพาการใช้วัคซีนเพียงอย่างเดียว เกิดขึ้นหลังการเพิ่มขึ้นของขอบเขตการใช้ยาเกินกว่าจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษา

เจแปนไทม์ส สื่อญี่ปุ่นรายงานวันนี้(24 ส.ค)ว่า รัฐบาลนายกรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูงะ ได้ผ่อนคลายกฎกำกับของการใช้เมื่อต้นเดือนเมื่อกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นได้แจ้งต่อทางเมืองต่างๆว่าสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของแอนติบอดี 2 ชนิดในเวลานี้สามารถใช้กับผู้ป่วยที่ต้องกักตัวตามลำพังภายในโรงแรมที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นสถานพยาบาลโควิด-19ชั่วคราว ซึ่งก่อนหน้าพบว่าการรักษาประเภทนี้ถูกจำกัดสำหรับผู้ป่วยโควิด-19ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น

มีส่วนผสมของสารภูมิต้านทานโมโนโคลน(monoclonal antibody)ยาคาซิริวิแมบ(casirivimab) และยาอิมดีวิแมบ(imdevimab)เป็นการบำบัดทางหลอดเลือดดำที่มีการแสดงผลการทดสอบทางคลินิกวิทยาในต่างประเทศว่ามีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันผู้ป่วยจากการป่วยหนักขึ้นสำหรับโรคโควิด-19 ประสิทธิภาพของมันช่วยลดความเสี่ยงของการต้องรักษาพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ถึง 70% สร้างความหวังว่ามันจะช่วยทำให้โรงพยาบาลไม่ต้องมีผู้ป่วยจนล้นที่ต่างล้วนการรักษาขั้นฉุกเฉิน

ญี่ปุ่นอนุญาตยาแอนติบอดี “โรนาเพรฟ” (Ronapreve) และยาตัวนี้ถูกขึ้นชื่อว่าเป็นมิติใหม่ในนโยบายต่อต้านไวรัสของญี่ปุ่นซึ่งที่ผ่านมาหลายเดือนพึ่งพาการเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19ให้กับประชาชนแต่อย่างเดียว

ปัจจุบันนี้ผู้ป่วยที่มีสิทธิ์ได้รับการรักษาด้วยวิธีค็อกเทลสูตรผสมแอนติบอดีนั้นเป็นผู้ป่วยที่ถูกพิจารณาว่าจะมีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงสูงจากไวรัส รวมถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป สิงห์อมควัน และบุคคลที่มีภาวะอ้วน ป่วยโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง และโรคปอดเป็นต้น

นายกรัฐมนตรีซูงะได้กล่าวชื่นชมความสำเร็จว่าเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งวิธีการรักษาด้วยแอนติบอดีนี้ถูกคิดค้นโดยบริษัทยาสหรัฐฯ เรเจนเนอรอน ฟาร์มาซูติคอลส์ อิงค์( Regeneron Pharmaceuticals Inc) และบริษัทยาญี่ปุ่น ชูไก ฟาร์มาซูติคอล โค. (Chugai Pharmaceutical Co. )เป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์สำหรับการรักษานี้เข้ามาในญี่ปุ่น

ส่วนผู้ว่าการกรุงโตเกียว ยูริโกะ โคอิเกะ( Yuriko Koike) ชื่นชมเป็นอย่างมากถึงขั้นเรียกว่า “เป็นอาวุธชนิดใหม่” ของกรุงโตเกียวต่อวิกฤตโควิด-19 ซึ่งญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาพาราโอลิมปิก 2020 ขึ้น

เจแปนไทม์สรายงานว่า มีหลายจังหวัดในญี่ปุ่นเริ่มต้นใช้วิธีการรักษาด้วยค็อกเทลแอนติบอดีกับผู้ป่วยที่ต้องกักตัวในโรงแรมหรือแสดงความปราถนาว่าต้องการจะเริ่มใช้รวมไปถึง กรุงโตเกียว จังหวัดฟูกุโอกะ จังหวัดไซตามะ และจังหวัดโอซาก้า

อย่างไรก็ตามปัญหาความล่าช้าของการใช้วิธีรักษาด้วยแอนติบอดีคือจำนวนเจ้าหน้าที่การแพทย์ที่สามารถให้การช่วยเหลือในการรักษาและจำนวนซัพพลายยาค็อกเทลแอนติบอดีที่ไม่แน่นอน

แต่ซูงะยืนยันว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้จัดซื้อมาอย่างเพียงพอโดยมีรายงานว่ามีจำนวน 70,000 โดสที่คาดว่าจะมีการส่งมาเพิ่มอีก 200,000 โดสภายในสิ้นปีนี้

เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นเตือนไปถึงผลข้างเคียงร้ายแรงในการรักษาด้วยวิธีแอนติบอดีนี้โดยชี้ว่า เป็นยาตัวใหม่ที่พลเมืองญี่ปุ่นยังไม่เคยรู้จักและข้อมูลการวิจัยทางคลิกนิกวิทยายังจำกัด

โดยสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯได้แสดงถึงผลข้างเคียงว่า ภาวะภูมิไวเกินขั้นร้ายแรง(Hypersensitivity) ที่รวมไปถึงปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลัน(Anaphylaxis) และปฎิกริยาอื่นๆที่ต้องได้รับการเฝ้าดูอาการนาน 24 ชั่วโมงหลังรับยา