บริษัทผลิตไฟฟ้า จำหน่าย และส่งไฟฟ้าของอิหร่าน (Tavanir) เผยว่าการ
ห้ามทำเหมือง cryptocurrency ที่กำหนดโดยกระทรวงอุตสาหกรรม เหมืองแร่ และการค้า กำลังจะถูกยกเลิกในวันที่ 22 กันยายนนี้ หลังกำลังการผลิตไฟฟ้าเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
จากการเปิดเผยของ financialtribune ระบุถึงถ้อยแถลงของ Mostafa Rajabi Mashhadi โฆษกของหน่วยงานด้านการผลิตไฟฟ้าชั้นนำกล่าวกับ ISNA ว่าบริษัทหวังว่าการใช้พลังงานจะลดลงภายในสิ้นฤดูร้อน ซึ่งสร้างเงื่อนไขสำหรับการดำเนินงานของผู้ขุดสกุลเงินดิจิทัลที่ถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตามเพื่อลดแรงกดดันต่อโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศและป้องกันไฟดับ อดีตประธานาธิบดี Hassan Rouhani ได้สั่งห้ามการขุดคริปโตทั้งหมดจนถึงสิ้นฤดูร้อน โดยประกาศตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม Cryptominers ถูกตำหนิถึงผลกระทบหลังในการสร้างปัญหาที่ทำให้เกิดการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าอย่างร้ายแรงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เกิดความผิดหวังทั่วทั้งกระดานเทรด แม้ว่าข้อเท็จจริงที่ว่าส่วนแบ่งของนักขุดที่ถูกกฎหมายในการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดมีน้อย
โดยในเดือนกรกฎาคม 2562 รัฐบาลกล่าวว่าจะยอมรับการขุด crypto เป็นอุตสาหกรรมที่ถูกกฎหมาย ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเหมืองเองก็ต้องได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมและชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่กฏหมายกำหนด
ทั้งนี้กระทรวงได้ออกใบอนุญาตสำหรับ 30 หน่วยการขุด crypto ในจังหวัด Semnan ตามรายงานที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของกระทรวง โดยในพื้นที่ของ Semnan มีเหมืองขุดคริปโตจำนวนมากที่สุด ซึ่งได้รับอนุญาตกว่าหกแห่ง ขณะที่ในจังหวัดอัลบอร์ซมีเหมืองขุดจำนวน 4 แห่ง ตามมาด้วยจังหวัดมาซันดารัน อาซาร์ไบจานตะวันออก และแซนจัน
อย่างไรก็ตามยังมีผู้ประกอบการเหมืองขุดที่ไม่มีใบอนุญาตในการใช้กำลังไฟฟ้าเกือบ 2,000-3,000 เมกะวัตต์ต่อวัน มากเท่ากับครึ่งหนึ่งของการใช้พลังงานทั้งหมดต่อวันในเมืองเตหะราน
อย่างไรก็ดีปัญหาการใช้ไฟฟ้าที่สูงไม่ใช่ปัญหาเดียว เนื่องจากผู้ขุดที่ไม่ได้ลงทะเบียนกับทางหน่วยงานรัฐ ได้สร้างความเสียหายให้กับระบบจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้เกิดไฟดับในช่วงหลายเดือนที่อากาศร้อน ส่งผลให้เมื่อสถานการณ์ด้านพลังงานเลวร้ายลง Tavanir ได้เริ่มสั่งปิดศูนย์การขุด crypto ที่ผิดกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนและปกป้องเครือข่ายระดับชาติ
ตามรายงานของ Tavanir มีการยึดอุปกรณ์ขุดมากกว่า 212,373 เครื่องในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยในรายงานดังกล่าวระบุว่าอุปกรณ์เหล่านั้นสร้างความเสียหายไม่น้อยกว่า 180 ล้านล้านเรียล ต่อระบบสาธารณูปโภคและอุปกรณ์จ่ายพลังงานของประเทศ