จบปมค่า VO รถไฟสีแดง!บอร์ดรฟท.เคาะเพิ่มงบ4.5 พันล้านบาท เร่งชงครม.เห็นชอบ

จบปมค่า VO รถไฟสีแดง!บอร์ดรฟท.เคาะเพิ่มงบ4.5 พันล้านบาท เร่งชงครม.เห็นชอบ

  • 0 ตอบ
  • 79 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

luktan1479

  • *****
  • 3464
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




บอร์ดรฟท.เคาะเพิ่มงบก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ค่า VO และภาษีกว่า 4,500 ล้านบาท หลังร่อนหนังสือถามอัยการ ไจก้ามั่นใจสั่งเพิ่มงานปฎิบัติไปตามสัญญา เตรียมชงคมนาคมและครม.เห็นชอบ และ ไฟเขียวให้รฟฟท.นำเงินล่วงหน้าไปเคลียร์ภาษีย้อนหลัง ปี54-55

นายจิรุฒม์ วิศาลจิตร ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม บอร์ด รฟท.เมื่อวันที่ 23 ส.ค.2564 ได้พิจารณาอนุมัติ ทบทวนปรับกรอบวงเงินลงทุน กรณีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงานปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม (Variation order - VO) พร้อมทั้งอนุมัติจัดหาแหล่งเงินรองรับสำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วง บางซื่อ-ตลิ่งชัน ทั้งนี้ บอร์ดได้มีข้อสังเกตุในบางเรื่อง โดยให้รฟท.ทำรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมทั้งยืนยันความถูกต้องให้ครบถ้วนก่อน เสนอไปที่กระทรวงคมนาคม และเพื่อนำเสนอคณะรัฐมตรี(ครม.) พิจารณาต่อไป

“เรื่องนี้บอร์ดไม่ได้อยู่หน้างาน ดังนั้นบางเรื่องต้องมีการยืนยันจากผู้บริหารโครงการ ว่าเรื่องการสั่งงาน VO ได้ดำเนินการตามกฎระเบียบและข้อกฎหมายครบถ้วนแล้วอย่างไรบาง ”นายจิรุฒม์กล่าว 

รายงานข่าวจากรฟท.เปิดเผยถึงว่า โครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง มีค่างาน VO จำนวน 10,345 ล้านบาท เป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 3,000 ล้านบาท  และเป็นงานก่อสร้างเพิ่มเติมจากที่ออกแบบ ประมาณ 6,220 ล้านบาท โดยในการพิจารณาตัวเลขล่าสุด ได้ปรับในส่วนของสัญญา 3 งานระบบไฟฟ้าเครื่องกลและขบวนรถ และค่าที่ปรึกษา ออกเนื่องจากสามารถดำเนินการอยู่ในวงเงินของสัญญา ทำให้มีค่างานเพิ่ม VO และค่าภาษี ที่ประมาณ 4,500 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ของผู้รับเหมาที่เกิดจากการขยายสัญญา 1 สัญญา 2 วงเงินกว่า 800 ล้านบาท 

ส่วนประเด็น อำนาจสั่งการและอนุมัติในการเพิ่มงานของวิศวกรผู้มีอำนาจ หรือ The Enginee นั้น จากที่รฟท.ได้มีหนังสือสอบถาม อัยการสูงสุด ในแง่ของสัญญา ซึ่งอัยการตอบว่า ให้รฟท.ปฎิบัติตามสัญญา และความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ซึ่งรฟท.ได้สอบถามไปยังบริษัท ผู้รับจ้างทั้ง 3 สัญญา ซึ่งมีความเข้าใจตรงกันถึงความจำเป็นในการทำงานตตามสัญญา 

นอกจากนี้ ยังได้สอบถามองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือไจก้า ในฐานะผู้ให้เงินกู้แล้ว และยังได้จ้างที่ปรึกษากฎหมาย คือ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เป็น third party วิเคราะห์สัญญา เพื่อให้ความมั่นใจในความถูกต้องอีกด้วย

@ เห็นชอบให้รฟทท.นำเงินล่วงหน้าไปเคลียร์ภาษีย้อนหลัง

นายจิรุฒม์ กล่าวว่า นอกจากนี้ บอร์ดรฟท.ยังได้อนุมัติแก้ไขสัญญาจ้างบริหารการเดินรถไฟฟ้า ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง(แอร์พอร์ตเรลลิงก์) เลขที่ บฟ.007/2563 ลงวันที่ 15 ต.ค.2563 โดยงดการหักเงินค่าจ้างประจำงวด จากบริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) ทั้งนี้ เพื่อให้ รฟฟท.นำไปชำระค่าภาษี 

รายงานข่าวแจ้งว่า รฟฟท. ของดการจ่ายเงินล่วงหน้ารายเดือน 25% งวดเดือนมิ.ย.-ก.ย. 2564 เป็นเวลา 4 เดือน เพื่อนำไปชำระค่าภาษี ซึ่งเงินล่วงหน้านี้ เป็นเงินที่รฟท.จะหักจากค่าจ้างรายเดือน ที่จ่ายให้รฟทท.ในการบริหารเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 

ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก กรมสรรพากร ได้มีหนังสือถึง กรรมการผู้จัดการ รฟฟท. เมื่อเดือนมิ.ย. 2564 เรื่องไม่อนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากร ตามที่ รฟฟท.ได้มีคำร้องไปยังกรมสรรพากร ขอทุเลาการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนมิถุนายน 2555 รวมเป็นเงินจำนวน24,337,780 บาท ไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งรฟทท.ไม่ได้จัดให้มีหลักประกันการชำระภาษีอากรดังกล่าว ซึ่งกรมสรรพากรพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุอันควรผ่อนผัน ทำให้รฟฟท.จำเป็นต้องจัดหาเงินไปชำระภาษีดังกล่าว

@ ทำข้อตกลงกับบริษัทลูกทรัพย์สิน ในการทำสัญญาเช่าช่วงที่ดิน

นอกจากนี้บอร์ดรฟท.ยังเห็นชอบ ข้อตกลงหลักหรือMaster Agreemen ระหว่างรฟท. และบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ รฟท. โดยเป็นข้อตกลง คล้ายกับสัญญาระหว่างกัน แต่เนื่องจากรัฐวิสาหกิจด้วยกัน จึงต้องทำเป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทแม่กับ บริษัทลูก โดยจะเป็นข้อตกลงหลักในการให้บริษัทลูกฯ เข้ามาบริหารทรัพย์สินของ รฟท. ขอบเขต หน้าที่ในการดำเนินการ ในที่ดิน ทรัพย์สินของรฟท. กรณีมีการเช่าช่วง การจ้างบุคคลที่ 3 อะไรที่บริษัทลูกทำได้ อะไรที่ต้องเสนอ รฟท. พิจารณา ซึ่งหลักในการจัดซื้อจัดจ้าง จะต้องเป็นไปตามระเบียบ และพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ