เปิดแผน 'แฟคตอรี่ แซนด์บ็อกซ์' ป้องกันภาคส่งออก 7 แสนล้าน รักษาจ้างงาน 3 ล้านคน

เปิดแผน 'แฟคตอรี่ แซนด์บ็อกซ์' ป้องกันภาคส่งออก 7 แสนล้าน รักษาจ้างงาน 3 ล้านคน

  • 0 ตอบ
  • 91 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปี 2564 การส่งออกถือเป็นเครื่องยนต์สำคัญที่สุดที่จะช่วยเศรษฐกิจไทยปี 2564 ขยายตัวได้และไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย โดยการส่งออกปีนี้ได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การผ่อนคลายมาตรการการล็อกดาวน์ในประเทศคู่ค้า และการเริ่มกลับมาเปิดเศรษฐกิจของหลายประเทศคู่ค้าสำคัญ

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานข้อมูลภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2564 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 67,761 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 36.2% (สูงสุดรอบ 44 ไตรมาส) โดย สศช.คาดว่าการส่งออกปีนี้ มูลค่าในรูปดอลลาร์จะขยายตัวถึง 13.3% สอดคล้องการปรับเพิ่มสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณ การค้าโลกและเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ สถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา รวมถึงการเกิดคลัสเตอร์ในโรงงานจำนวนมาก ทำให้หลายฝ่ายกังวลกระทบกับภาคการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกจึงต้องมีมาตรการรับมือส่วนนี้ 

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2564 โดยต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมการแพร่ระบาดพื้นที่ฐานการผลิตสำคัญด้วยการมีมาตรการป้องกันควบคุมในพื้นที่เฉพาะ “Bubble and seal” รวมทั้งตรวจเชิงรุกเพื่อแยกผู้ติดเชื้อออกจากผู้ไม่ป่วยในโรงงาน เพื่อลดอัตราการแพร่เชื้อในโรงงาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อจำกัดและอุปสรรคในการขนส่งสินค้า การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการผลิต รวมถึงการสร้างตลาดส่งออกใหม่กับคู่ค้าใหม่ด้วยเพื่อให้ไทยมีตลาดการส่งออกเพิ่มขึ้น

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) สั่งการให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัด การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) โดยเร็ว และสถานประกอบการหรือโรงงานไม่พร้อมให้กระทรวงสาธารณสุขดูแลการตรวจหาเชื้อ การจัดหาสถานที่กักตัว ยารักษาโรค ตลอดจนวัคซีนให้แรงงาน


โครงการ Factory Sandbox เป็นแนวคิดการจัดการโครงสร้างและกระบวนการในลักษณะ “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข” ที่มุ่งดำเนินการควบคู่ระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ โดยใน Sandbox จะมุ่งเป้าที่โรงงานภาคการผลิตส่งออกขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นกลไกหลักของประเทศในปัจจุบัน มีมูลค่าการส่งออกรวมถึง 7 แสนล้านบาท และจ้างงานถึง 3 ล้านตำแหน่ง ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1.ยานยนต์ 2.ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 3.อาหาร 4.อุปกรณ์การแพทย์ 

สำหรับการดำเนินการจะป้องกันคลัสเตอร์โรงงานจากการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างสมดุลระหว่างมาตรการทางด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนต่อได้ และสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนไทยและชาวต่างชาติในช่วงเวลาที่ซัพพลายเชนของประเทศคู่แข่งกำลังปิดตัวลง โดยโครงการนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 

ระยะที่ 1 ดำเนินการ 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานีและสมุทรสาคร มีสถานประกอบการเข้าร่วม 60 แห่ง มีลูกจ้าง 138,795 คน 

ระยะที่ 2 ดำเนินการ 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา และสมุทรปราการ 

ทั้งนี้ มีขั้นตอนหลัก ได้แก่ การตรวจ การรักษา การดูแลและการควบคุม เพื่อให้บริหารทรัพยากรที่มีจำกัดได้ตรงเป้าหมาย โดยโรงงานที่มีลูกจ้าง 500 คนขึ้นไป ต้องตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานประกอบการไม่ต่ำกว่า 5% ของพนักงาน ดำเนินการ Bubble and Seal โดยกำหนดให้ลูกจ้างเดินทางกลับที่พักแบบไม่แวะระหว่างทาง และอยู่แต่ในเคหสถานเท่านั้น 

รวมทั้งตรวจหาเชื้อแบบ PCR 1 ครั้ง ให้ลูกจ้างทั้งหมด และตรวจแบบ Self ATK ทุก 7 วัน ดำเนินการฉีดวัคซีนให้ลูกจ้างทุกคน ยกเว้นคนที่ติดเชื้อให้รักษาในส่วนค่าบริการฉีดวัคชีน สถานประกอบการต้องเป็นผู้จ่ายให้สถานพยาบาล และสถานประกอบการทำหนังสือยินยอมดำเนินการตามแนวทางกระทรวงแรงงานและจังหวัด



สำหรับแผน Bubble and Seal จะป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อในพื้นที่และไม่ให้ระบาดไปสู่ชุมชน รวมถึงป้องกันการเสียชีวิตและลดผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมจากการหยุดดำเนินกิจการ โดยมีหลักการสำคัญ

1.การป้องกันโรค โดยดำเนินการก่อนเกิดการระบาด และการควบคุมโรคเมื่อเกิดการระบาด 

2.การให้ทำกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมหรือทำงานได้ รวมทั้งเดินทางเคลื่อนย้ายระหว่างที่พักและที่ทำงาน โดยการควบคุมกำกับ 

3.การบริหารจัดการทั้งด้านการแพทย์และสาธารณสุข และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเครื่องอุปโภคบริโภค โดยมีมาตรการป้องกันควบคุมโรค มาตรการด้านสังคม มาตรการกำกับและประเมินผล รวมทั้งมีการบูรณาการจากหลายภาคส่วน 

ในขณะที่ขั้นตอนการดำเนินงาน Bubble & Seal ดังนี้

1.ผู้ประกอบการทำความเข้าใจหลักการจัดทำมาตรการรวมทั้งสื่อสารสร้างการรับรู้ การมีส่วนร่วมของพนักงานและชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

2.ผู้ประกอบการจัดทำแผนการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยยึดตามหลักการ แต่ทำแนวปฏิบัติขึ้นกับลักษณะแรงงาน ที่พัก การเดินทางและชุมชน ซึ่งสถานประกอบการออกแบบเองได้

3.ผู้ประกอบการควรกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานและกำกับติดตามให้ชัดเจน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและถอดบทเรียน เพื่อปรับมาตรการให้เหมาะสมในระยะยาวเหมาะสมกับสถานการณ์ 

4.กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดกลไกการสื่อสารเพื่อให้เกิดการปฏิบัติและการกำกับติดตามการดำเนินงานต่อเนื่อง

ส่วนกลไกการดำเนินงาน Bubble & Seal ประกอบไปด้วย 1.กลไกด้านการสื่อสารทำความเข้าใจ ได้แก่ จัดทำคู่มือที่ประกอบด้วย หลักการ แนวคิด มาตรการการป้องกัน มาตรการควบคุมโรค การตรวจด้วย ATK และ การดูแลด้านสุขภาพจิต มีการจัดทำแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) สำหรับทีมผู้ประเมินกำกับมาตรการระดับจังหวัด และจัดทำวีดีโอประชาสัมพันธ์มาตรการ Bubble & Seal ตั้งแต่ก่อนการระบาดและเมื่อเกิดระบาด

2.กลไกด้านการให้คำแนะนำและระบบพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา (Coaching) ได้แก่ ทีมส่วนกลางประกอบด้วย กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทีมระดับเขต

ประกอบด้วย สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ศูนย์อนามัย ศูนย์สุขภาพจิต และทีมระดับจังหวัด ประกอบด้วยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) อุตสาหกรรมจังหวัด สวัสดิการแรงงานจังหวัด สำนักงานประกันสังคม จังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้าจังหวัด กระทรวงมหาดไทยหรือหน่วยงานอื่นภายใต้คำสั่งแต่งตั้งและมติคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด โดยกลไกด้านกำกับประเมินผล แบ่งเป็น3 ทีม ได้แก่ ทีมส่วนกลาง ทีมเขต และทีมบูรณาการ ระดับจังหวัด