ยูโอบีแนะลดน้ำหนักหุ้นจีน นโยบายรัฐเข้ม-โควิดยังกดดันศก.

ยูโอบีแนะลดน้ำหนักหุ้นจีน นโยบายรัฐเข้ม-โควิดยังกดดันศก.

  • 0 ตอบ
  • 69 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Fern751

  • *****
  • 2936
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์การลงทุนบลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าการที่หุ้นจีนที่เผชิญแรงกดดันจากการจัดระเบียบและนโยบายการควบคุมของภาครัฐ เนื่องจากรัฐบาลจีนกังวลมากที่สุดในตอนนี้คือเรื่อง “ความไม่เท่าเทียม” และ “การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม” ทำให้คนในประเทศไม่มีความสุข ในช่วงต้นของการเปลี่ยนแผนเศรษฐกิจ ทางการจีนมักจะใช้นโยบายหลากหลายรูปแบบควบคู่กันไปในการบริหารจัดการ ในแผนเศรษฐกิจ 5 ปีล่าสุด เน้นที่ “การหมุนเวียนภายในประเทศ” (dual circulation) กลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะถูกกดดันต่อเนื่องคือ เทคโนโลยีขนาดใหญ่ และกลุ่มธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงอุตสาหกรรม

นอกจากนั้น ธุรกิจที่คาดว่าจะถูกควบคุมมากขึ้นคือ อสังหาริมทรัพย์ การศึกษา และการรักษาพยาบาล ที่ถูกเรียกว่าเป็น “สามภูเขา” ของคนจีน คาดว่าจะมีการควบคุมต่อเนื่องทั้งในแง่ของการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อลดการเก่งกำไร ลดต้นทุนการศึกษาของคนในประเทศ ไปจนถึงการควบคุมราคายา และเร่งให้เอกชนเพิ่มคุณภาพการบริการด้านสาธารณสุข

มุมมองเชิงกลยุทธ์ แนะนำ Underweight จีนและกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) ในระยะสั้น แม้เราจะเดาได้ว่าทางการจีนมีความต้องการกำหนดภาพรวมเศรษฐกิจไปในรูปแบบไหน แต่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จึงควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ด้านเศรษฐกิจคาดว่าจะไม่สามารถฟื้นตัวแรงได้ในระยะสั้น เนื่องจากนโยบายการควบคุมสถานการณ์การระบาดโควิดส่วนใหญ่เน้นหนักไปทางการล็อกดาวน์เพื่อลดการระบาด แตกต่างจากฝั่งตะวันตกที่เน้นการฉีดและพัฒนาวัคซีน และด้านมูลค่า แม้จะมีการปรับฐานลงมาแล้ว แต่หุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีก็ยังถือว่าไม่ได้ถูกจนน่าสนใจ

สำหรับนักลงทุนที่ยังสนใจลงทุนในจีน แนะนำการกระจายการลงทุนไปยังหุ้นขนาดเล็ก หรือหุ้นที่มีส่วนแบ่งตลาดไม่สูง นอกธุรกิจ เทคโนโลยี อสังหาริมทรัพย์ การศึกษา และการรักษาสุขภาพ โดยเปรียบเทียบกับช่วงการที่ทางการจีนใช้นโยบายควบคุมเศรษฐกิจอย่างเข้มงวดในช่วงปี 2015 และช่วงสงครามการค้าในปี 2018 มองว่าภาครัฐและเอกชนจะใช้เวลาราวกันอย่างน้อยสามไตรมาสในการปรับตัวเข้ากับกฏเกณฑ์ใหม่