จับตา ก.คลัง เสนอโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ เตรียมบังคับใช้ ต.ค. นี้

จับตา ก.คลัง เสนอโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่ เตรียมบังคับใช้ ต.ค. นี้

  • 0 ตอบ
  • 70 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fairya

  • *****
  • 2954
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ และประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ขณะนี้ใกล้ถึงกำหนดที่กระทรวงการคลังเตรียมเสนอกำหนดอัตราภาษีบุหรี่ใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศบังคับใช้ในเดือนตุลาคมนี้ แทนระบบภาษีที่ใช้มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ซึ่งระบบภาษีที่ใช้อยู่ในขณะนี้คือ เป็นระบบ 2 อัตรา คือ บุหรี่ที่มีราคาขายปลีกต่ำกว่าซองละ 60 บาท เก็บภาษีร้อยละ 20 และบุหรี่ที่มีราคาขายปลีกสูงกว่า 60 บาท เก็บภาษีร้อยละ 40 โดยระบบภาษีปัจจุบันมีจุดอ่อนที่เปิดโอกาสให้บริษัทบุหรี่ลดราคาขายปลีกลงมาเท่ากับหรือต่ำกว่าซองละ 60 บาท เพื่อเสียภาษีน้องลง ทำให้ราคาขายปลีกเฉลี่ยลดลง รัฐบาลเก็บภาษีได้ลดลง ทำให้จากการประเมินผลของของศูนย์ภาษียาสูบ มหาวิทยาลัยชิคาโก ให้คะแนนมาตรการภาษีบุหรี่ของไทยอยู่ที่ 1.75 จาก 5 คะแนนเต็ม ถือว่าไทยสอบตก

ศ.นพ.ประกิต กล่าวต่อว่า ขณะที่การจัดเก็บภาษียาเส้นเก็บในอัตราที่ต่ำมาก ทำให้ราคาขายปลีกบุหรี่ยาเส้นต่อซองต่ำกว่าบุหรี่ซิกาแรต 6-7 เท่า คือราคายาเส้นซองละ 10-12 บาท เทียบกับบุหรี่ซิกาแรตราคาถูกที่สุดซองละ 60 บาท ดังนั้น ระบบภาษียาสูบที่ไทยใช้อยู่ จึงไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายควบคุมยาสูบโลก ที่แนะนำให้ใช้ภาษีอัตราเดียว และยาสูบต่างชนิดกันต้องมีระดับภาษีที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้ราคาขายไม่แตกต่างกันมาก เพราะคนสูบบุหรี่จะหันไปสูบยาเส้นราคาถูก แทนที่จะเลิกสูบ ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของภาษียาสูบ ที่สร้างเงื่อนไขที่จะทำให้คนเลิกสูบหรือสูบน้อยลง และป้องกันไม่ให้เด็กเข้ามาเสพติดบุหรี่ ราคายาเส้นที่ถูกมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กและเยาวชนเข้ามาติดบุหรี่



“ระบบภาษียาสูบของกระทรวงการคลังในปัจจุบัน ทำให้เก็บภาษีได้ไม่มากเท่าที่ควรจะเก็บได้ และการสูบบุหรี่ก็ไม่ได้ลดลง ขณะที่รัฐบาลก็ต้องรับภาระค่ารักษาพยาบาลคนไทยที่ป่วยจากการสูบบุหรี่ยาเส้น ไม่แตกต่างกันกับคนที่ป่วยจากบุหรี่ซิกาแรต โดยปัจจุบันมีคนสูบบุหรี่ราว 10 ล้านคน ในจำนวนนี้เกือบ 5 ล้านคนสูบบุหรี่ยาเส้น จึงหวังว่า การปรับโครงสร้างภาษีของไทยครั้งใหม่นี้ จะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ทำให้ได้นโยบาย วินวิน คือ จะช่วยชีวิตคนไทยนับหมื่นนับแสนคนจากการที่เลิกสูบบุหรี่ได้ และป้องกันเด็กนับแสนคนจากการเสพติดบุหรี่ (วิน) นอกเหนือจากการที่กระทรวงการคลังจะเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น (วิน) เป็นรายได้ให้กับรัฐบาล” ศ.นพ.ประกิต กล่าว

ศ.นพ.ประกิต กล่าวต่อว่า มีหลักฐานจากประเทศต่างๆ ตรงกันว่า การที่จะทำให้ประชากรสูบบุหรี่ลดลงคือการขึ้นภาษีเป็นมาตรการสำคัญที่สุด ภาษีมีส่วนทำให้การสูบบุหรี่ลดลงประมาณ 50% และอีก 50% เป็นผลจากการดำเนินมาตรการอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน เช่น ห้ามโฆษณา ห้ามสูบในที่สาธารณะ การรณรงค์ การรักษาให้เลิกสูบบุหรี่ ฯลฯ โดยในอิสราเอล สมาคมมะเร็งและองค์กรควบคุมยาสูบได้ฟ้องศาล ขอให้ศาลสั่งการให้กระทรวงการคลังขึ้นภาษียาเส้น ให้ใกล้เคียงกับภาษีบุหรี่ซิกาแรต และศาลสูงตัดสินให้กระทรวงการคลังต้องดำเนินการตามฟ้อง ทั้งที่อิสราเอลเก็บภาษีซิกาแรตสูงกว่าภาษียาเส้นต่างกัน 3 เท่า เทียบกับไทยที่ต่างกันถึง 6-8 เท่า ขณะที่ในอังกฤษเก็บภาษีบุหรี่ซิกาแรตซองละ 8 ปอนด์เศษ และภาษียาเส้น ซองละเกือบ 6 ปอนด์ ระบบภาษีของอังกฤษได้เกือบ 5 คะแนนเต็ม

(ข่าวประชาสัมพันธ์)