‘เหล้า’ ฝ่าด่านวิกฤติโควิดโต 3.6% หนุน ‘ไทยเบฟ’ 9 เดือน โกย 1.92 แสนล้าน

‘เหล้า’ ฝ่าด่านวิกฤติโควิดโต 3.6% หนุน ‘ไทยเบฟ’ 9 เดือน โกย 1.92 แสนล้าน

  • 0 ตอบ
  • 82 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

PostDD

  • *****
  • 1581
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




2 ปีที่ทั้งโลกและ “ประเทศไทย” ต้องฝ่าวิกฤติครั้งใหญ่  จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตผู้คน ต้องหยุดเชื้อเพื่อชาติ เศรษฐกิจ ธุรกิจชะงักงัน จากการร่วมมือหยุดการแพร่ระบาดไวรัส รวมถึงมาตรการรัฐสั่ง “ล็อกดาวน์” พื้นที่ต่างๆ ทำให้กิจกรรมการค้าต้องแน่นิ่งไปไม่น้อย 

ทั้งนี้ การคาดหวังผลประกอบการของแต่ละบริษัทใหอยู่ในภาวะขาขึ้นหรือเป็นบวก “เติบโต” ไม่ใช่เรื่อง่าย ท่ามกลางสถานการณ์เปราะบางทั้งเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภค แต่ผู้ประกอบการต้องงัดทุกยุทธวิธี เพื่อใหธุรกิจอยู่รอด หากผ่านด่านหรือบททดสอบยากๆได้ ย่อมส่งผลดีต่อองค์กร ภาพรวมเศรษฐกิจ 

หนึ่งในอาณาจักรธุรกิจยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยอย่าง “บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน” ของ “เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” มักถูกจับตาเสมอ ไม่ว่าจะทำอะไร ยอดขาย รายได้ กำไรของบริษัทออกมา “เติบโต-ติดลบ” ล่าสุด ไทยเบฟฯ รายงานผลประกอบการ 9 เดือน(ต.ค.63-มิ.ย.64) ต่อตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ บริษัทสร้างยอดขายรวม 192,120 ล้านบาท เติบโตล็กน้อย 1.1% และมีกำไรก่อนหักภาษี(EBITDA) 36,638 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.5% โดยไม่เผย “กำไรสุทธิ”


หากย้อนดูผลประกอบการ “ครึ่งปีแรก” บริษัทมีรายได้จากการขายรวม 137,092 ล้านบาท หดตัว 4.3% โกยกำไรสุทธิ 16,076 ล้านบาท เติบโต 7.6%

เมื่อแยกผลประกอบการเป็นรายกลุ่ม โปรดักท์แชมป์เปี้ยนตลอดกาลที่ทำรายได้สูง และทำ “กำไร” เป็นกอบเป็นกำ เพิ่มความมั่งคั่งให้กับ “ราชันย์น้ำเมา” ยังคงเป็น “กลุ่มสุรา” โดย 9 เดือน ทำรายได้จากการขายรวม 91,630 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% ด้านยอดขายเชิงปริมาณเติบโตไม่แพ้กันที่ 4.2% ภายใต้ข้อจำกัดการค้าขายที่ช่องทาง On-Premise หรือผับ บาร์ ร้านอาหาร สถานบันเทิงในประเทศไทยถูกปิดให้บริการนานแรมปี แต่การปรับตัว มีความยืดหยุ่น สินค้าในพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายผ่่านช่องทางห้างร้านต่างๆหรือ Off-Premise ตอบโจทย์การบริโภคในบ้านได้ 

ธุรกิจสุราในไทยสร้างผลงานโดดเด่น แต่ตลาดใน “เมียนมา” ทรงตัว แต่แบรนด์และส่วนแบ่งทางการตลาดของ “วิสกี้” ยังแข็งแกร่ง ทำให้ภาพรวมกำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่  23,605 ล้านบาท พิ่มขึ้น 9.5% 

“กลุ่มเบียร์” ทั้งตลาดในประเทศไทยและเวียดนาม ต่างได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทำให้ยอดขายรวมอยู่ที่ 80,265 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2% แต่ยอดขายเชิงปริมาณ “ลดลง 1.1%” หากเทียบตลาดเบียร์โดยรวม “ติดลบ” มากกว่านี้ จึงสะท้อนว่า “ไทยเบฟ” ฝ่าวิกฤติได้ดีไม่น้อย อย่างไรก็ตาม ลงลึกรายละเอียดยอดขาย เกิดจาก “SABECO” หรือไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่นเป็นปัจจัยที่ “ฉุด” ตัวเลขให้ดิ่งลงนั่นเอง ด้านกำไรก่อนหักภาษีธุรกิจเบียร์อยู่ที่ 10,631 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.4% โดยบริษัทมีการบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ ปรับแผนการขายให้เข้ากับสถานการณ์


ส่วน “กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์” ยอดขายรวม 11,688 ล้านบาท ลดลง 6.4%โดยยอดขายเชิงปริมาณลดลง 8.6% ทำให้บริษัทต้องบริหารจัดการต้นทุนอย่างระมัดระวัง ลดค่าใช้จ่าย ทั้งด้านสื่อสารการตลาดด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ สำหรับเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในพอร์ตโฟลิโอของไทยเบฟมีมากมาย เช่น น้ำดื่มคริสตัล, น้ำอัดลมเอส, ชาเขียวพร้อมดืื่มโออิชิ, เครื่องดื่มชูกำลังเรนเจอร์ เป็นตน 

ขณะที่ “กลุ่มอาหาร” ยอดขายรวม  8,649 ล้านบาท ลดลง 12.9% ผลพวงเกิดจากมาตรการรัฐห้ามเปิดบริการนั่งรับประทานในร้าน ดังนั้น ภารกิจควบคุม บริหารจัดการต้นทุนจึงต้องทำต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มผลิตผล(Productivity)การทำงานของพนักงาน และที่ขาดไม่ได้คือการปรับตัวของธุรกิจ หันมารุกการซื้อกลับบ้าน(Take Away) ส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น โดยร้านอาหารขึ้นชื่อมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ชาบูชิ, โออิชิ อีทเทอเรียม, เคเอฟซี, โออิชิ ราเมน เป็นต้น 

ทั้งนี้ การปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารโออิชิ ล่าสุด ส่งมากรบ  “รถจำหน่ายอาหารเคลื่อนที่  โออิชิ ฟู้ด ทรัค” เสิร์ฟเมนูอร่อยให้ผู้บริโภคซื้อกลับบ้านและจัดส่งหรือเดลิเวอรี่ โดยอาหารจานโปรดง่ายๆ มาครบครันย้ำต้นตำรับอาหารญี่ปุ่น ราคาย่อมเยา เช่น เมนูกลุ่มเบนโตะ (ข้าวกล่องญี่ปุ่น) : ยากิโทริ เทอริยากิ เบนโตะ เซ็ต, บูตะ สตะมินะ เบนโตะ เซ็ต, และ แซลมอน เบนโตะ เซ็ต เมนูกลุ่มดงบุริ (ข้าวหน้าญี่ปุ่น) : ข้าวหน้าหมูเกาหลี, ข้าวหน้าไก่ย่างซีอิ๊ว, และ ข่าวหน้าปลากซาบะ ไปจนถึง เมนูกลุ่มอาหารว่างและของทานเล่น ราคาเริ่มต้น 69 บาท (สำหรับเมนู เกี๊ยวซ่าทอด) เป็นต้น

สำหรับโมเดล โออิชิ ฟู้ด ทรัค ไม่เพียงเป็นการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือหวังสร้างสีสันในการทำตลาดเท่านั้น แต่จะชูเป็นกลยุทธ์หลักในการขยายสาขาและพื้นที่ให้บริการ ในเวลาที่ร้านอาหารญี่ปุ่น โออิชิ ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ เพื่อสร้างโอกาสในช่วงล็อกดาวน์นั่นเอง