‘อริย์ธัช’ ชี้ กรมอนามัยแนะยกระดับมาตรการโควิดในบ้าน

‘อริย์ธัช’ ชี้ กรมอนามัยแนะยกระดับมาตรการโควิดในบ้าน

  • 0 ตอบ
  • 71 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Chigaru

  • *****
  • 2319
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




วันนี้(20 ส.ค.)นายอริย์ธัช ชาติอาริยะพงศ์ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคกล้าเขตสวนหลวง-ประเวศกล่าวว่า จากกรณีที่ อธิบดีกรมอนามัย เรียกร้องว่ามีความจำเป็นต้องยกระดับมาตรการป้องกันโควิดด้วยการให้สวมหน้ากากในบ้านเพิ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนในบ้าน เพราะสถานการณ์ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อจากการสัมผัสสมาชิกในครอบครัวหรือเกิดกับผู้ใกล้ชิดเพิ่มมากขึ้นนั้น

นายอริย์ธัช ระบุต่อไปว่า โดยหลักการถือว่าเป็นข้อแนะนำที่ชวนให้ตระหนักถึงปัญหาและสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงมาตรการนี้อาจมีความลำบากในทางปฏิบัติ เพราะหลายครอบครัวไม่ได้มีพื้นที่มากนัก สุดท้ายแล้วก็ต้องมีสัมผัสใกล้ชิดในชีวิตประจำวันซึ่งสามารถสัมผัสเชื้อได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นเชื้อที่ติดอยู่ตามสถานที่ใช้งานร่วมกันต่างๆโดยมือสามารถป้ายไปยังที่ต่างๆในบ้าน หรือเวลารับประทานอาหารที่ยังคงต้องถอดหน้ากากอยู่ดี อย่างไรก็ตาม ในสิ่งที่ตนเป็นห่วงและยังไม่ได้ถูกจัดการให้ดีพอในตอนนี้สำหรับภาคครัวเรือนก็คือ ขยะติดเชื้อต่างๆที่ไม่ได้รณรงค์หรือหาเครื่องมือช่วยให้มีการคัดแยกตั้งแต่ต้นทางได้มากพอ และปัญหาการเกิดสภาพล้นเกินปริมาณการกำจัดในแต่ละวันที่ปลายทาง ซึ่งหากมีการสวมใส่หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวันแม้อยู่ในบ้านก็จะเป็นการเพิ่มขยะให้มากขึ้นอีก

“ปริมาณขยะปี 2563 คาดว่าน่าจะอยู่ที่ราว 25 ล้านตัน แต่ที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้องมีประมาณ 9 ล้านตันเท่านั้น ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษที่สำรวจไว้พบว่า การนำหน้ากากอนามัยไปทิ้งในบ่อฝังกลบทั่วไป ทำได้เพียงร้อยละ 25  เผาในเตาขยะติดเชื้อร้อยละ 9 จ้างเอกชนรับกำจัดร้อยละ 8 ที่มากที่สุดคือรวบรวมให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำจัดถูกวิธีร้อยละ 51 จึงยังมีขยะติดเชื้ออีกพอสมควรที่ยังไม่ถูกจัดการ และปัญหาใหญ่ก็คือการไม่แยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำให้ขยะติดเชื้อจากครัวเรือนไม่ว่าจะเป็นหน้ากากหรือทิชชู่หรืออื่นๆที่อาจมีเชื้อ เช่น ชุดตรวจ ATK ถูกรวมในถุงขยะเดียวกันทำให้ไม่สามารถนำไปกำจัดอย่างถูกต้องได้ ยิ่งพื้นที่กำจัดล้นจนระบายไม่ทันก็อาจแพร่กระจายเชื้อติดไปยังขยะอื่นได้ โดยอาจมีคนมาเก็บคัดแยกขยะก็กลายเป็นความเสี่ยง ดังนั้น สำหรับคนเก็บและแยกขยะจึงควรต้องนับรวมเป็นบุคลากรด้านหน้าที่ควรได้รับวัคซีนไฟเซอร์เพื่อป้องกันเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ จะเห็นว่าปัญหาขยะติดเชื้อมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นทุกที เมื่อจะยกระดับการควบคุมโรคแล้วก็ต้องคิดให้ครบถ้วนถึงปลายน้ำ นั่นคือการหาทางยกระดับมาตรการจัดการขยะติดเชื้อด้วย”นายอริย์ธัช กล่าว