‘ดีเอชแอล’ เปิดเทรนด์ธุรกิจขนส่ง ยุคเฟื่องฟู ‘อีคอมเมิร์ซข้ามแดน’

‘ดีเอชแอล’ เปิดเทรนด์ธุรกิจขนส่ง ยุคเฟื่องฟู ‘อีคอมเมิร์ซข้ามแดน’

  • 0 ตอบ
  • 77 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

luktan1479

  • *****
  • 3464
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




เคลวิน เหลียง ซีอีโอ ดีเอชแอล โกล. ฟอร์เวิร์ดดิ้ง เอเชียแปซิฟิก ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในเครือดอยช์โพสต์ดีเอชแอลกรุ๊ป (DPDHL Group) กล่าวว่า ปี 2564 มีการคาดการณ์ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโต 5.5% จากแรงหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผ่านการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการกระจายตัวของซัพพลายเชนของบริษัทภายในภูมิภาค

ดังนั้น ในทิศทางเดียวกันเล็งเห็นถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนของ “การขนส่งทางถนนข้ามพรมแดนระหว่างทวีป” โดยหลังจากนี้ความร่วมมือทางการค้าภายในเอเชียจะเติบโตอย่างแน่นแฟ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การซื้อสินค้าผ่านออนไลน์เติบแบบก้าวกระโดด กลายเป็นนิวนอร์มอลซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคจะคงอยู่ต่อไปแม้โควิดจะคลี่หลายไปแล้วก็ตาม

ขณะเดียวกัน ส่งผลทำให้โซลูชั่นด้านโลจิสติกส์มีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ ทุกวันนี้การขนส่งสัดส่วนกว่า 85% ของตลาดอีคอมเมิร์ซทำผ่านทางทะเล ราง และรถบรรทุก มีเพียง 15% เท่านั้นที่ขนส่งผ่านเครื่องบิน


’อีคอมเมิร์ซ’ หนุนตลาดโต


เขากล่าวว่า หนึ่งในปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาการค้าระหว่างภูมิภาค ได้แก่ ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน หรือ the ASEAN Customs Transit System (ACTS) ที่เริ่มขึ้นในปี 2563 ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งและเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดนอาเซียนได้อย่างราบรื่น ผ่านมาตรฐานและการรับประกันที่ครอบคลุมทั้งอากรขาเข้าขาออกและภาษีตลอดการดำเนินงาน

โดยเฉพาะ หลังจากมีการผ่อนคลายลงของข้อจำกัดทางการค้าและมีการดำเนินตามมาตรการใหม่สำหรับการค้าระหว่างภูมิภาค เช่น ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน (ACTS) และ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศกลุ่มอาเซียน ที่พร้อมจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหลังจากผ่านการแพร่ระบาดของโควิด-19

ข้อมูลระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกที่คาดการณ์ว่าจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางการค้าในปี 2564 ส่งผลให้ตลาดการขนส่งสินค้าทางถนนของอาเซียน มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นกว่า 8% ภายในปี 2563-2568

โทมัส ทีเบอร์ ซีอีโอ ดีเอชแอล โกล. ฟอร์เวิร์ดดิ้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า การใช้จ่ายผ่านรูปแบบอีคอมเมิร์ซของผู้บริโภค และธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบบีทูบีซึ่งคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นราว 70% ภายในปี 2570 ยังมีส่วนเข้ามาเสริมความต้องการของโซลูชั่นการขนส่งสินค้าแบบถึงที่หมาย (door-to-door logistics solutions) ต่อไปในอนาคตอีกด้วย

“การขนส่งทางถนนกำลังมีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในการแก้ปัญหาการขนส่งระยะไกลระหว่างประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าและยั่งยืน”

ปีที่ผ่านมา อัตราค่าขนส่งทางอากาศและทางทะเลมีการผันผวนอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยโซลูชั่นการขนส่งทางถนน หรือการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้นำเสนอราคาที่ยั่งยืนยิ่งกว่า ควบคู่กับความสามารถในการขนส่ง และการเข้าถึงชายแดนที่ง่ายยิ่งขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

’ขนส่งทางถนน’ อนาคตใหม่

ทีเบอร์เผยว่า การขนส่งทางถนนมีราคาถูกและปล่อยมลพิษน้อยกว่าการขนส่งทางอากาศมาก ขณะเดียวกันเพิ่มความปลอดภัย และลดระยะเวลาการขนส่งที่เมื่อเทียบกับการขนส่งทางทะเล

นอกจากนี้ โซลูชั่นการขนส่งทางถนนยังเป็นทางเลือกที่มีความคล่องตัวสูง เพราะรถบรรทุกสามารถทำการขนส่งสินค้าแบบถึงที่หมาย ข้ามพรมแดน ครอบคลุมทั้งในระยะทางทั้งใกล้และไกล

ปัจจุบัน ลูกค้าเลือกใช้การขนส่งทางถนนเพิ่มมากขึ้นสำหรับการขนส่งสินค้าบางส่วนหรือทั้งหมดทั้งระยะใกล้และไกล เพราะการขนส่งทางถนนช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าการขนส่งทางอากาศ

“การขนส่งทางถนนกำลังมุ่งหน้าสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี เพื่อประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และความยั่งยืนที่มากขึ้น ผ่านการใช้เชื้อเพลิงที่ประหยัดพลังงานคาร์บอน”