แบงก์-นอนแบงก์ หวั่น ธปท. สั่ง ‘แฮร์คัท-ลดดอกเบี้ย’

แบงก์-นอนแบงก์ หวั่น ธปท. สั่ง ‘แฮร์คัท-ลดดอกเบี้ย’

  • 0 ตอบ
  • 72 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Cindy700

  • *****
  • 3330
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ แม้จะล็อกดาวน์มาแล้วเกือบ 1 เดือน แต่จำนวนผู้ติดเชื้อกลับไม่ได้ลดลง แถมเดินหน้าทำนิวไฮทุกวัน

โดย ศบค. จะมีการพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 18 ส.ค. นี้ ว่ามาตรการต่างๆ ที่ดำเนินการมานั้นได้ผลแค่ไหน? เพียงพอหรือยัง? หรือ ควรต้องขยายเวลาล็อกดาวน์ออกไปอีกหรือไม่? ซึ่งดูจากสถานการณ์ล่าสุดแล้วคงต้องเป็นเช่นนั้น

ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขได้คาดการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อถึงวันที่ 7 ก.ย. 2564 ว่าหากไม่มีมาตรการล็อกดาวน์จำนวนผู้ติดเชื้อในช่วงปลายเดือน ส.ค. ถึงต้นเดือน ก.ย. จะพุ่งสูงถึง 6-7 หมื่นรายเลยทีเดียว น่าจะเป็นอีกสัญญาณสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่าคงต้องมีการต่อเวลาล็อกดาวน์ออกไปอีก

แน่นอนว่าหากโรคระบาดยิ่งลากยาว ผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยิ่งมากขึ้น จากปัจจุบันก็หนักหนาสาหัสอยู่แล้ว หลายธุรกิจแทบไม่เหลือสภาพคล่อง เนื่องจากไม่มีรายได้เข้ามาเลย ส่วนหนี้ยังต้องชำระ

แม้ที่ผ่านมาจะมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน แต่ก็เป็นมาตรการระยะสั้นเท่านั้น โดยช่วงที่พักชำระดอกเบี้ยยังวิ่งไปเรื่อยๆ ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด

ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยลูกหนี้ในระยะยาว ธปท. อยู่ระหว่างการพิจารณาออกมาตรการชุดใหม่ โดยจะขอความร่วมมือสถาบันการเงินในการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม ภายใต้แนวทาง “การปรับโครงสร้างหนี้”

ด้วยการ “แฮร์คัท” หรือ การลดยอดหนี้ลง, การลดอัตราดอกเบี้ย, ยืดเวลาชำระหนี้ โดยลดยอดเงินชำระในแต่ละงวด จนกว่ารายได้จะดีขึ้น ค่อยกลับมาชำระตามปกติ

นอกจากนี้ จะออกมาตรการเพื่อจูงใจให้สถาบันการเงินให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างเต็มที่ ด้วยการไม่ต้องจัดชั้นลูกหนี้ที่อยู่ในมาตรการช่วยเหลือเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพื่อลดภาระการตั้งสำรอง

ทั้งนี้ คงต้องรอดูความชัดเจนจาก ธปท. อีกครั้ง เพราะมาตรการต่างๆ ที่ระบุออกมานั้นยังเป็นเพียงแค่แนวคิดเบื้องต้น และถ้าหากมีมาตรการออกมาจริง คงไม่ได้เป็นการบังคัง แต่ให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละแบงก์

ถือเป็นความปรารถนาดีของ ธปท. ที่จะเข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤตโควิด-19 แต่ในมุมของสถาบันการเงิน ทั้งแบงก์และนอนแบงก์ดูจะเป็นข่าวลบ เพราะจะส่งผลกระทบต่องบการเงินโดยตรง

โดยปัจจุบันแต่ละแห่งมีแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติมจากที่ ธปท. กำหนดไว้อยู่แล้ว ซึ่งจะพิจารณาการช่วยเหลือเป็นรายกรณี และถ้าหาก ธปท. ขอความร่วมมือให้ออกมาตรการเพิ่มเติม เชื่อว่าในทางปฏิบัติหลายมาตรการคงไม่สามารถนำมาใช้ได้เป็นการทั่วไป เช่น การแฮร์คัทหนี้ เพราะผลกระทบของลูกหนี้แต่ละรายไม่เหมือนกัน และยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อสถานะการเงินของแบงก์

ด้านบล.เคทีบีเอสที ระบุว่า การแฮร์คัทจะส่งผลเสียต่อทุกบรรทัดในงบการเงินของธนาคาร เนื่องจากเป็นการตัดบัญชีลูกหนี้ออกไปทั้งก้อน แม้ปกติธนาคารจะทำอยู่แล้วแต่ไม่มาก ขณะที่รอบนี้ ธปท. เพียงขอความร่วมมือ ยังไม่ได้บังคับ เชื่อว่ากลุ่มธนาคารจะเลี่ยงไปทำเรื่องการปรับโครงสร้างมากกว่า แต่ฝ่ายวิจัยมองว่าหากสรรพากรมีการลดภาษีเท่ากับมูลหนี้ที่จะแฮร์คัท น่าจะทำให้ทุกธนาคารเร่งแฮร์คัทมากขึ้น

ทั้งนี้ ประเมินว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB และ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK จะได้รับจิตวิทยาเชิงลบจากประเด็นนี้มากที่สุด เพราะเมื่อพิจารณาจากโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ (Debt relief program) ของแต่ละธนาคารในงวดไตรมาส 2 ปี 2564 จะเห็นว่า SCB ได้รับจิตวิทยาเชิงลบจากประเด็นนี้มากที่สุด เพราะมีสัดส่วน Debt relief สูงที่สุดในกลุ่มที่ 16% ของสินเชื่อรวม รองลงมาเป็น KBANK ที่ 14% ของสินเชื่อรวม

ส่วนบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO ฝ่ายวิจัยมองว่าได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเพราะมีสัดส่วน Debt relief น้อยที่สุดในกลุ่มที่ 3% ของสินเชื่อรวม