'กพอ.' เล็ง4แหล่งน้ำใต้ดิน ป้อนเมืองใหม่รอบสนามบินอู่ตะเภา

'กพอ.' เล็ง4แหล่งน้ำใต้ดิน ป้อนเมืองใหม่รอบสนามบินอู่ตะเภา

  • 0 ตอบ
  • 70 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

luktan1479

  • *****
  • 3464
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2564 รับทราบความก้าวหน้าแผนบริหารจัดการน้ำในอีอีซี รองรับทั้งภาคการผลิตและการเกิดขึ้นของ “เมืองใหม่ทั้งเมืองอัจฉริยะ” และ “เมืองการบินภาคตะวันออก” ที่ครอบคลุมรัศมี 30 กิโลเมตร รอบสนามบินอู่ตะเภาที่อยู่ระหว่างการออกแบบโครงการ โดยต้องสร้างความมั่นใจว่าจะมีน้ำเพียงพอถึงปี 2580 

สำหรับการจัดหาแหล่งน้ำในอีอีซี ที่มีระบบบริหารน้ำในภาพรวมครบถ้วน ซึ่งการวางแผนให้อีอีซีจะมีน้ำใช้พอเพียงทั้งการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคธุรกิจและการใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรม โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดโครงการสำคัญ เช่น ให้กรมชลประทานเร่งเสนอโครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำกลับคลองสะพาน-ประแสร์ เส้นที่ 2 และเครือข่ายคลองวังโตนด-อ่างเก็บน้ำประแสร์ เส้นที่ 2 เพื่อสร้างความมั่นคงการจัดการน้ำในระยะยาว 

ส่วนในนิคมอุตสหกรรม สั่งการให้แต่ละนิคมอุตสาหกรรมจัดหาแหล่งน้ำสำรองของตนเอง รวมถึงเร่งเพิ่มน้ำต้นทุน และเร่งศึกษาเดินหน้าโครงการเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืด โดยต้องดำเนินการให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด 

ขณะที่การหาแหล่งน้ำเพื่อรองร้บเมืองการบินภาคตะวันออกในรัศมี 30 กิโลเมตรรอบสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคต และจะมีการขยายตัวของที่อยู่อาศัยตามการเติบโตของประชากร โดยนอกจากแผนการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่ิมเติมได้หาแหล่งน้ำใต้ดินเพื่อนำมาใช้ประโยชน์เพิ่มในอนาคต ถือเป็นครั้งแรกที่บริหารน้ำผิวดินร่วมกับน้ำใต้ดิน

ทั้งนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ช่วยทำ “แผนที่น้ำใต้ดิน” ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้ 4 จุด จากการสำรวจพบว่ามีปริมาณน้ำใต้ดินรวมกว่า 4,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งใช้เป็นแหล่งน้ำรองรับความต้องการน้ำในอีอีซีทั้งภาคการผลิต และเมืองการบินภาคตะวันออก 4 พื้นที่ ได้แก่ 

1.อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา ปริมาณน้ำที่กักเก็บ 3,013 ล้านลบ.ม. มีปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถนำมาใช้ได้ 2,260 ล้านลบ.ม. 

2.อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ปริมาณน้ำกักเก็บ 599 ล้านลบ.ม. มีปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถนำมาใช้ได้ 449 ล้านลบ.ม.

3.อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ปริมาณน้ำที่กักเก็บ 883 ล้านลบ.ม. มีปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถนำมาใช้ได้ 662 ล้านลบ.ม.

4.อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ปริมาณน้ำกักเก็บ 890 ล้านลบ.ม. มีปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถนำมาใช้ได้ 668 ล้านลบ.ม.



สำหรับพื้นที่แหล่งน้ำบนดินในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบสนามบินอู่ตะเภา สำรวจพบแหล่งน้ำที่พัฒนาเป็นแหล่งน้ำรองรับการพัฒนาพื้นที่ประกอบด้วย การพัฒนาคลองบางไผ่ จ.ชลบุรี และแหล่งน้ำขนาดเล็กในบริเวณใกล้เคียง โดยมอบให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานหลักบูรณาการกับหน่วยงานที่ี่เกี่ยวข้องเพื่อบริหารจัดการ  

การปรับปรุงและพัฒนาอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่ คณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออก วันที่ 21 พ.ค.2564 เห็นชอบแผนดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาอ่าง พื้นที่ 3,348 ไร่ โดยมอบให้กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

สำหรับแผนระยะยาว ในการบริหารจัดการน้ำในอีอีซีมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำรองรับอีอีซี ปี 2563-2580 รวม 38 โครงการ รวม 52,874 ล้านลบ.ม. โดยเพิ่มน้ำต้นทุน 872 ล้าน ลบ.ม.ปัจจุบันแล้วเสร็จ 9 โครงการ

การผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล (Desalination) โดยแผนงานดังกล่าวได้ประชุม กนช.เมื่อวันที่ 22 ก.ค.2563 เห็นชอบหลักการเร่งรัดแผนงานก่อสร้าง 14 โครงการสำคัญ โดยมี Desalination เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญ และเมื่อวันที่ 24 ก.ค.2564 มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานทางเทคนิคการพัฒนาโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล 
สมเกียรติ ประจําวงษ์ เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ผลการวิเคราะห์ความต้องการใช้น้ำใน 3 จังหวัดอีอีซี โดยใช้ปี 2560 เป็นปีฐาน และวิเคราะห์ความต้องการ ประกอบด้วย น้ำอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อภาคการผลิต ไม่ว่าภาคเกษตรกรรมหรือภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ และผลักดันน้ำเค็ม กรอบเวลากําหนดไว้ 20 ปี ในภาพรวมความต้องการใช้น้ำทุกกิจกรรมในปี 2560 มีจํานวน 2,404.91 ล้านลบ.ม. เพิ่มเป็น 2,777.68 ล้านลบ.ม. ในปี 2570 และ 2,977.55 ล้านลบ.ม. ในปี 2580 

ในช่วง 10 ปีแรก (2570) ความต้องการใช้น้ำในทุกกิจกรรมเพิ่มขึ้นจากปีฐาน 372.77 ล้าน ลบ.ม. และ 10 ปีที่สอง (2580) เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 ปีแรก 199.87 ล้านลบ.ม.

“รวมความแล้วความต้องการใช้น้ำในอีอีซีในปี 2580 จะเพิ่มขึ้นจํานวน 572.64 ล้านลบ.ม. เมื่อโจทย์ความต้องการใช้น้ำชัดแล้วที่เหลือเป็นการค้นหาปริมาณน้ำที่อยู่ในมือและที่ต้องจัดหาเพิ่มเติม เพื่อให้พอความต้องการ”

ทั้งนี้ สทนช.วางแผนพัฒนาแหล่งน้ำและจัดหาน้ำ 7 มาตรการ ได้แก่ 1.ปรับปรุงเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำเดิม 2.พัฒนาอ่างเก็บน้ำเพิ่มเติมใน EEC และนอก EEC 3.พัฒนาระบบผันน้ำเชื่อมโยงแหล่งน้ำ 4.พัฒนาแหล่งน้ำสํารองภาคเอกชน 5.พัฒนาน้ำบาดาลสําหรับภาคอุตสาหกรรมและเสริมในพื้นที่ขาดแคลน 

6.ใช้เทคโนโลยีใหม่ อาทิ การผลิตน้ำจืดจากน้ําทะเล และนําน้ำเสียที่ผ่านการบําบัดมาใช้ประโยชน์ 7.การจัดการด้าน Demand Side ได้แก่ การเสริมประสิทธิภาพการใช้น้ำ การลดน้ำสูญเสีย การปรับ ระบบการเพาะปลูกให้เหมาะสม