ทุนทิ้งไทยหรือ? ไทยไม่มีเสน่ห์ต่อการลงทุน 

ทุนทิ้งไทยหรือ? ไทยไม่มีเสน่ห์ต่อการลงทุน 

  • 0 ตอบ
  • 70 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

luktan1479

  • *****
  • 3464
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ในปีที่แล้วนั้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกลดลง5% โดยลดลงทุกประเทศ รวมทั้งการลงทุนซึ่งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดก็ลดลง 42% หรือเกือบ ๆ ครึ่งที่หายไปจากปีก่อนหน้านี้ หนักที่สุดก็เป็นกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ลดการลงทุนกว่า69%

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วโลกจะลดลง 4% และในส่วนของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้ลดลง31% ลดลงเกือบทุกประเทศ ยกเว้นฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศไทยนั้นมีเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเหลือเพียง 1.5 พันล้านดอลลาร์ ผลสุทธิที่มีจำนวนน้อยนี้ อาจเป็นผลจากถอนการลงทุนของบริษัทเทสโก้ สหราชอณาจักร แต่เมื่อเทียบกับเวียดนาม ที่ลดลง10%  แต่ก็มี FDI ไหลเข้ากว่า 14 พันล้านดอลลาร์  มากกว่าไทยหลายเท่า ก็ทำให้น่าห่วงและมีคำถามใหญ่ ๆ ที่ต้องสนใจว่า “นักลงทุนต่างประเทศกำลังเลิกสนใจไทย” หรือ “ไทยกำลังถูกนักลงทุนทิ้ง”

คำถามที่คนชอบตั้งประเด็นจากผลการศึกษาของหลายสำนักเศรษฐกิจภาคเอกชนที่ FDI ไหลเข้าลดลงมากและตามหลังเกือบทุกประเทศที่สำคัญในภูมิภาคนี้  เพราะเดิมทีประเทศไทยยังคงเสน่ห์ในการเป็นสวรรค์ของนักลงทุนต่างประเทศนั้น ไม่ได้มาจากอัตราภาษีที่ลดแลกแจกแถมเหมือนคนอื่น แต่นักลงทุนจะมองที่ความสงบทางการเมือง สังคมที่เปิดกว้างในการยอมรับวัฒนธรรมอื่น ค่าแรงงานที่ไม่สูง ฝีมือและทักษะ สาธารณูปโภคที่สะดวกสบาย และความโปร่งใสในการทำธุรกิจ รวมทั้งนโยบายของรัฐที่เอื้อและสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ    

       ทำให้กลายเป็นประเทศที่ FDI ด้านการผลิตเข้ามามากที่สุดในอาเซียน (ยกเว้นทางการเงินที่ไปสิงค์โปร์มากสุด) แต่ความรุ่งโรจน์นั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าของอดีตเท่านั้น เสน่ห์ที่เรามีน้อยและบางอย่างไม่มีด้วยซ้ำไปเมื่อเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคนี้

ความยุ่งยากของระบบกฎหมายบ้านเราที่เป็นประเภท One fits all ทำให้เราพยายามสร้างเสน่ห์อื่นขึ้นมาแทนซึ่งในขณะนี้ เราลงไปในระดับพื้นที่เป้าหมายเฉพาะที่ตอนนี้ เรียกง่าย ๆ ว่า เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมี พ.ร.บ. ของตนเอง เพื่อเลี่ยงที่จะใช้ระเบียบแบบเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งก็ทำได้ไม่มาก แต่ก็มีพิเศษมากกว่าที่อื่น ๆ แม้ว่าจะผ่านเครื่องมือเดิม ๆ ก็ตาม เช่น ผ่าน BOI แต่มีสิทธิประโยชน์มากกว่านอกพื้นที่ผ่านการ Plus Plus ให้ หรือการมีสาธารณูปโภคระดับโลก สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ Smart Visa รวมทั้งการเตรียมแรงงานมีฝีมือทันสมัย เพื่อให้พื้นที่นี้เพื่อให้ทุกอย่างโดดเด่นขึ้นมาในสายตาของนักลงทุน ทดแทนสิ่งที่เราไม่มี เช่น FTA กับประเทศใหญ่ ๆ หรือการส่งเสริมการลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง และแรงงานที่ไม่ถูกและยังหายากอีก (ซึ่งอย่างหลังเราก็พยายามเน้นอุตสาหกรรมที่ใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้น)

แม้ว่ามูลค่าการขอรับการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในปี 2564 นี้อาจจะแสดงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศที่มีต่อประเทศไทย แต่เราจะสังเกตเห็นว่ายังคงวนเวียนอยู่กับอุตสาหกรรมเดิม ๆ ที่เรามีรากฐานที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว เช่น ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อาหาร ฯลฯ ส่วนอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่นั้น แม้ว่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นมาบ้างแต่ก็ยังถือน้อยมาก ที่จะเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ให้ประเทศ ดูแล้วเราคงต้องออกแรงกว่านี้มาก เพราะการลงทุนที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการลงทุนไปแล้วกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ในสามปีที่ผ่านมา แต่ก็เป็นการลงทุนของโครงการร่วมรัฐเอกชน (PPP) ด้านสาธารณูปโภคเป็นส่วนมาก แต่ FDI ในอุตสาหกรรม New S-Curve ยังต้องออกแรงอีกเยอะ

เรายังหวังว่า “เสน่ห์” ที่เรากำลังสร้างในพื้นที่ EEC ในส่วนต่าง ๆ ขึ้นมานั้นสามารถทดแทนเสน่ห์เก่า ๆ ที่หายไป หมดยุค หรือไร้ซึ่งความสนใจของลูกค้า และด้อยกว่าคู่แข่ง ก็ได้แต่หวังว่าคนที่ดูแลภาพของเสน่ห์รวม จะพยายามดูให้ครบว่า เสน่ห์ ที่นักลงทุนต้องการนั้นคืออะไรจริง ๆ และหากเราทำไม่ได้ อะไรคือสิ่งที่มี “ค่า” สำหรับเขา (ไม่ใช่เรา) พอจะทดแทนสิ่งที่เราไม่มีให้เขาได้บ้าง ที่มองภาพรวมแล้ว ไทยยังมีเสน่ห์ในการลงทุนมากกว่าที่อื่น