อดีตขุนคลังยันปีนี้ไทยหมดโอกาสฟื้นฟูท่องเที่ยว ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์-สมุยพลัส

อดีตขุนคลังยันปีนี้ไทยหมดโอกาสฟื้นฟูท่องเที่ยว ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์-สมุยพลัส

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Ailie662

  • *****
  • 2858
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายสมหมาย ภาษี อดีต รมว.คลัง โพสต์ข้อความระบุว่า การดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในปีนี้น่าจะจบกัน เมื่อวันพุธที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ในสื่อมีทั้งข่าวดีและข่าวร้ายสำหรับคนไทย ข่าวดีคือท่านนายกรัฐมนตรียอมยกเลิกประกาศปิดปากสื่อโดยใช้การอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ออกข้อกำหนดให้ยกเลิกข้อกำหนดฉบับที่ 29 ที่ออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.เดียวกันนี้ ฟังดูมันเหมือนเรื่องตลกสำหรับคนทั่วไป

จะเอาอะไรกันกับเรื่องแค่นี้ ในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อ 46–47 ปีที่แล้ว สมัยที่ท่านจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ยังได้นำทหารออกมาทำการปฏิวัติตัวเองเลย เรื่องนี้คนไทยสมัยนี้ที่ยังไม่เกษียณคงจำเหตุการณ์ไม่ได้ น่าจะมีการลองทำแบบนี้กันอีกไหมครับ จะทำอะไรก็สุดแท้แต่ผู้มีอำนาจและนักการเมืองทั้งหลายเถอะครับ เพราะตอนนี้ที่พึ่งของประชาชนเหมือนไม่มีแล้ว

สำหรับข่าวร้ายที่ได้ปรากฏอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ในวันพุธที่ 11 นี้ ก็คือข่าวที่ว่า ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ (US Centers for Disease Control and Prevention) หรือ CDC ได้ออกคำเตือนแก่ชาวสหรัฐให้เลี่ยงการเดินทางไปหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยนั้น CDC ได้ปรับให้อยู่ในระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด คือ ห้ามการเดินทาง เพราะมีการระบาดและติดโควิดสูงในไทย!

บางคนอาจจะทำเป็นรู้ดีบอกว่าเราไม่ต้องเป็นกังวล เพราะนักท่องเที่ยวสหรัฐปกติมาเที่ยวไทยน้อยมากอยู่แล้ว แต่ผมว่าเขาพูดถูกแค่นิดเดียวเอง เพราะข้อเท็จจริงคือเมื่อสหรัฐพูดคนทั่วโลกเขาก็ได้ยินด้วยว่าไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงสุดถึงขนาดห้ามการเดินทางเข้ามา

ถ้าผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวพอจำกันได้ว่า เมื่อประมาณกลางเดือนกรกฎาคมที่แล้ว กลุ่มประเทศ EU ก็เคยปรับมาตรการไม่รับคนไทยเข้าประเทศกลุ่ม EU มาแล้ว ซึ่งเท่ากับบอกประชาชนของกลุ่ม EU ที่หน้าหนาวนักท่องเที่ยวชอบมาเมืองไทยกันมากให้รู้ว่าเมืองไทยไม่ควรมานะ

ADVERTISEMENT


เมื่อการท่องเที่ยวไม่มีโอกาสฟื้นในปีนี้ ความพยายามที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวดูเหมือนจะจบแล้ว ความหายนะของประเทศก็จะแผ่ออกไปมากขึ้น นับตั้งแต่การจ้างงานในด้านการท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากสุดของประเทศจะไม่เกิด อาชีพอื่นๆที่เกี่ยวโยงที่มีการจ้างงานมากก็ไม่มีทางฟื้นเช่น ธุรกิจการบิน ธุรกิจทัวร์ ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจนวดแผนโบราณและสปา แม่ค้าแม่ขายของที่ระลึก และรวมถึงร้านอาหารที่มีสภาพล้มทั้งยืนกันให้เห็นทุกจังหวัดตายหมด

ความหวังที่อุตส่าห์คิด อุตส่าห์ทำ เพื่อสร้างโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โครงการสมุยพลัส และยังมีการคิดชื่อล่วงหน้าที่หรูไว้อีกมาก สำหรับกระบี่ พัทยา และที่จังหวัดอื่นๆ ล้วนต้องเป็นฝันกลางวันไปหมด

ใครเป็นคนทำให้ความหวังที่จะฟื้นของการท่องเที่ยวซึ่งเป็นสาขาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศต้องคลานจนโงหัวไม่ขึ้นมาจะสองปีแล้ว ไม่จำเป็นต้องเอ่ยชื่อหรือถามชื่อกันอีกแล้ว สาเหตุที่เศรษฐกิจพังพินาศมาจากโควิด-19 จากการแพร่ระบาดที่มีไม่มากตอนต้นปี 2563 มาถึงขณะนี้จะสองปีแล้วกลับระบาดจนวิกฤตติดอันดับต้นของโลก ใครกันที่รับทำงานสู้รบกับมัน ในทางการเมืองประชาชนเขาต้องชี้ไปที่ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสาธารณสุขเท่านั้นแหละ ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานหนักและเหนื่อยมากนั้น ไม่มีใครไปโทษเขาเหล่านี้หรอก แต่พวกท่านๆทั้งหลายนี่ซิที่คนเขาสาปแช่งวันละสามเวลา

ทำยังไงๆ อธิบายยังไงๆ ประชาชนก็ยังยากที่จะคิดว่าพวกท่านๆทั้งหลายจะเอาอยู่ เพราะแค่ในคุกที่อยู่ในอุ้งมือของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทยยังมีการระบาดได้ และยังเอาไม่อยู่ หรือในแคมป์คนงานก่อสร้างใหญ่ๆใน กทม.ที่ต้องอยู่ในสายตาและการควบคุมของหน่วยงานราชการหลายหน่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานครก็ยังเอาไม่อยู่

ในช่วงนี้จะได้ข่าวกันว่ายังมีการระบาดของโควิด-19 ชุกชุมมากในโรงงานทั้งเล็กและใหญ่รอบๆ กทม. ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร ชลบุรี อยุธยา ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ถ้าเอาไม่อยู่ ปล่อยให้การระบาดทอดยาวออกไปก็จะเกิดผลกระทบกับกระบวนการผลิตเพื่อการส่งออกของประเทศแน่

อย่างไรก็ดียังมีข่าวดีที่เพิ่งผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ศบค. ซึ่งนำไปปฏิบัติได้แล้ว คือข้อเสนอของกระทรวงแรงงงาน เรื่อง Factory Sandbox เพื่อทำการตรวจ รักษา ควบคุม และดูแล สถานประกอบการที่ผลิตเพื่อการส่งออกสำหรับโรงงานขนาดพนักงาน 500 คนขึ้นไป ทั้งนี้ต้องให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องหลัก เช่น มหาดไทย สาธารณสุข แรงงาน และอุตสาหกรรม ร่วมดำเนินการด้วยกันอย่างกระชับและรวดเร็วเป็นระบบ ถือว่าเป็นข่าวดีอีกชิ้นหนึ่งที่เพิ่งคิดกันได้

แต่อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่ายังมีจุดอ่อนที่ใหญ่มากอยู่เรื่องหนึ่ง คือแม้ไม่ใช่โรงงานผลิตเพื่อการส่งออกก็ควรต้องรวมเข้าไปด้วย และโรงงานที่มีขนาดพนักงานต่ำกว่า 500 คน เช่น 200 คน ที่มีการติดโควิด-19 กันระนาวก็ควรนำมารวมเข้าไปในโครงการนี้ด้วยเช่นกัน มิฉะนั้น จะทำให้เกิดการขว้างงูไม่พ้นคอเป็นแน่

เมื่อไม่กี่วันมานี้ เผอิญผมได้ฟังแนวนโยบายการปราบโควิด-19 ของท่านประธานาธิบดีไบเดนว่า “เรื่องต่อสู้กับโควิด-19 นี้จะไม่มีคนหนึ่งคนใดปลอดภัย ตราบใดที่คนอื่นๆ ยังไม่ปลอดภัย” ผมเห็นว่า แม้ผู้นำของเราจะมีความเก่งและความฉลาดเท่าผู้นำของชาติอื่น ก็ไม่ควรทำตัวเอาหูไปนาเอาตาไปไร่กับนโยบายดีๆ ของชาติอื่น