เปิดเส้นทาง 25 ปี 'ณุศาศิริ' จากยักษ์อสังหาฯ รุกสู่ธุรกิจสุขภาพ-บริการทางการแพทย์

เปิดเส้นทาง 25 ปี 'ณุศาศิริ' จากยักษ์อสังหาฯ รุกสู่ธุรกิจสุขภาพ-บริการทางการแพทย์

  • 0 ตอบ
  • 85 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hanako5

  • *****
  • 1982
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




หากเอ่ยชื่อของ “ณุศาศิริ” แวดวงตลาดที่อยู่อาศัยหรืออสังหาริมทรัพย์ รู้จักชื่อชั้นเป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะคร่ำหวอดในวงการมานาน 25 ปี ยังมีโครงการมากมายออกสู่ตลาดทั้งโครงการแนวราบ บ้านเดี่ยวหรู โครงการแนวสูง คอนโดมเนียม แตกไลน์ไปสู่การพัฒนาโครงการห้างค้าปลีกรูปแบบคอมมูนิตี้ มอลล์ เป็นต้น

เส้นทางการเติบโตและแนวทางการพัฒนาธุรกิจ “ณุศาศิริ” ไม่หยุดอยู่แค่ตลาดที่อยู่อาศัย แต่ยังมอโอกาสใหม่ๆ ในธุรกิจท่องเที่ยว หวยออนไลน์ ธุรกิจทางการแพทย์ ล่าสุดยังปั้นโมเดล “Medical Technology” การเปิดแพลตฟอร์มเพื่อสุขภาพและการแพทย์ “Morhello” รุกสู้วิกฤติด้วยการตั้งศูนย์วิจัยพืชเศรษฐกิจใหม่ของไทยอย่าง “กัญชา-กัญชง” เพื่อแปรรูปสู่ตลาดโลกด้วย 

ทว่า ล่าสุดชื่อของ “ณุศาศิริ” ยังปรากฏบนหน้าสื่อ ในฐานะที่ได้รับการแต่งตั้งจาก บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด เพื่อเข้าประมูลชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen self-test Test Kits : ATK)ในโครงการสปสช.ด้วย 

“ณุศาศิริ” มีทุนจดทะเบียนบริษัท 200 ล้านบาท ย้ำถึงการมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนธุรกรรมต่างๆ ขณะที่ตลอดเส้นทางธุรกิจ 25 ปี สร้างที่อยู่อาศัยมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค    

ย้อนรอย 25 ปี ของบริษัท ณุศาศิริ เดิมชื่อบริษัท อั่งเปา แอสเสท จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยเกรียงกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2503 เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งทอ จากนั้นปี 2537 ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนหรือเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) และลุยพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเจาะทุกทำเลทั่วทุกหัวมุมเมืองทุกภาคของประเทศไทยด้วยมูลค่านับหมื่นล้านบาท เช่น เปิดตัวบ้านกฤษณา บ้านสไตล์ Bali ที่จังหวัดอุดรธานี, 

ณุศาศิริ Flexfible Function Home บ้านที่ปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยได้ตามความต้องการ, ณุศาศิริ พระรามสอง (Nusasiri city rama2) โครงการไฮเอนด์บนเนื้อที่กว่า 350 ไร่,โรงเรียนนานาชาติ นอร์วิช (Norwich international school), คอนโดมิเนียม ณุศาศิริ (Nusasiri Grand condominium)คอนโดมิเนียมแห่งแรกในกรุงเทพ ที่มีทางเดินเชื่อมรถไฟฟ้าแห่งแรกในกรุงเทพ, ณุศา ชีวานี่ พัทยา (Nusa chivani pattaya), หมู่บ้านสุขภาพ สไตล์ ทัชคานี่ แห่งแรกของภาคตะวันออก พร้อมการออกแบบภายในแบบ Universal home  ผู้สูงอายุสามารถอยู่ได้อย่างสบาย และปลอดภัย

เมอเวนพิค มาย โฮโซน เขาใหญ่(Movenpick my ozone khaoyai) ซึ่งเป็นโครงการบ้านเพื่อสุขภาพเต็มรูปแบบ มีศูนย์บริการทางการแพทย์ ดูแลรักษาตลอด 24 ชั่วโมง(ชม.) สนามกอล์ฟมาตรฐาน 18 หลุม โดยไฮไลท์เด่นตั้งอยู่บนพื้นที่มีโอโซนอันดับ 7 ของโลก ด้วยพื้นที่ 1,200 ไร่ บนเขาใหญ่นั่นเอง นอกจากนี้ ยังมี นุศา ลากูน่า ภูเก็ต(Nusa laya phuket)


“ณุศาศิริ” ยังก้าวสู่ธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยิ่งใหญ่ ปี 2519 เมื่อบริษัทลูกอย่าง บริษัท ณุศา เลเจนด์ สยาม จำกัด ลงทุนใหญ่ 4,000 ล้านบาท เนรมิต “เลเจนด์ สยาม พัทยา (Legend Siam Pattaya)” ให้เป็นซิกเนอร์ท่องเที่ยวของไทย บนเนื้อที่กว่า 164 ไร่ หรือใช้พื้นที่กว่า 100,000 ตารางเมตร(ตร.ม.) รวบรวมอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้ง 77 จังหวัดของประเทศไทยไว้ในพื้นที่เดียว รองรับนักท่องเที่ยวร่วม 20,000 คนต่อวัน 

ก้าวสู่ปีที่ 25 “ณุศาศิริ” ยังมุ่งสร้างการเติบโตอย่างมีศักยภาพ ภายใต้เป้าหมายที่เด่นชัดในการนำสินค้าไทยสู่ตลาดโลก  จึงผนึกพันธมิตรทางการค้า บริษัท CSR จากประเทศจีน ทุ่มกว่า 1,000 ล้านบาท รุกตลาดปั้นโมเดลธุรกิจใหม่  Medical Technology ตั้งศูนย์วิจัยนำ “กัญชา กัญชง” แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาดโลก

ทั้งนี้ บริษัทมีแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีแบบองค์รวม บริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำทั้งการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทุกหมวด ทั้งสกินแคร์ เครื่องดื่ม และอาหารเสริม ฯลฯที่มีสารสกัดจากกัญชา และ กัญชง ผ่านทุกช่องทาง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  

“ศิริญา เทพเจริญ” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) ฉายภาพ ณุศาศิริ ได้ขับเคลื่อนธุรกิจและก้าวไปสู่ความเป็นสากล ทั้งในด้านอสังหาริมทรัพย์ ท่องเที่ยว และด้านสุขภาพ ฯลฯ มีการร่วมมือกับบริษัทชั้นนำระดับโลก เพื่อดูแลและบริหารการจัดการต่างๆ และจากประวัติอันยาวนาน บริษัทได้เติบโตคู่กับคนไทย  ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านทุกสถานการณ์ จนก้าวสู่ความสำเร็จ และเข้าสู่ปีที่ 25 อย่างมั่นคง 

“เรามุ่งมั่นสร้างแบรนด์ ณุศาศิริ ให้ก้าวไปในทิศทางใหม่อย่างยิ่งใหญ่ฉลองปีที่ 25 ของเราอีกครั้ง”

การเคลื่อนทัพสู่ธุรกิจสุขภาพ ตลอดจนเกาะเทรนด์พืชกัญชา-กัญชงที่มาแรง เพื่อสะท้อนการรุกตลาดจริงจัง บริษัทเตรียมความพร้อมด้วยการปรับพื้นที่ใน 2 โครงการ เนื้อที่i;,นับ “พันไร่” ได้แก่ พื้นที่โครงการ “เลเจนด์ สยาม พัทยา แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แลนด์มาร์ค ธีมพาร์ค และแหล่งชอปปิงที่ใหญ่สุดในภาคตะวันออก จะถูกปรับให้เป็นแหล่งปลูกกัญชา -กัญชงในเชิงงานศึกษาวิจัย เป็นศูนย์การเรียนรู้กัญชา กัญชง ของโลก เพิ่มความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ของพืชมหัศจรรย์นี้สู่สายตานักท่องเที่ยว 

อีกทำเลคือโครงการ เมอเวนพิค มาย โอโซน เขาใหญ่ จะสร้างให้เป็นเมืองกัญชาเพื่อสุขภาพครบวงจร ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมารักษาและฟื้นฟูสุขภาพในประเทศไทยแบบระยะยาว 

 นอกจากนี้ บริษัทยังตั้งใจจะสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ใหม่ ในนาม “ณุศาเทค” ลุยงานด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ(AI) เพื่องานวิจัยและเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของคนไทย ให้เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่จะเป็นศูนย์กลางในเรื่องสุขภาพ ครบจบในที่เดียว ในชื่อ “MORHELLO” แพลตฟอร์มเพื่อสุขภาพและการแพทย์ที่ผู้บริโภคจะได้ใกล้ชิดติดหมอผ่านจอโดยคุณหมอฮัลโหล จะตอบโจทย์ทุกข้อข้องใจ การรักษาเยียวยา การพึ่งพา ไม่ใช่เรื่องที่เข้าถึงยากอีกต่อไป 

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสถาณะการณ์วิกฤติโควิด 19  การเปิดแพลตฟอร์ม Morhello ร่วมกับ โรงพยาบาลพานาซี ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมช่วยกู้วิกฤติเตียงล้น โดยทั้งให้คำปรึกษาและหาเตียงรองรับผู้อยู่ในระยะสีเขียว และเหลือง จัดหายาวิตามินโดสสูงที่เป็นจุดเด่นของ โรงพยาบาลพานาซี รวมทั้งจัดหาชุดตรวจโควิด ทั้งชนิดตรวจหาเชื้อจากน้ำลายและหาเชื้อในโพรงจมูกด้วยตนเองมาให้คนสามารถสั่งได้ผ่านแพลตฟอร์มหมอฮัลโหล 

“หมอฮัลโหล จะเป็นแสงสว่างแค่ปลายนิ้ว คลิ๊กเดียว จบครบเรื่องสุขภาพ โดยในอนาคตเรายังมีโครงการต่อเนื่องเรื่องสุขภาพเข้ามาต่อยอดเพิ่มเติม“ ศิริญา กล่าว  

สำหรับ ณุศาศิริ มีรายได้ระดับ “พันล้านบาท” แต่ปี 2563 บริษัทมีรายได้กว่า 709 ล้านบาท ขณะที่บรรทัดสุดท้าย(Bottom line) ยังเผชิญภาวะ “ขาดทุน” ต่อเนื่อง โดยย้อนหลัง 5 ปีการขาดทุนเป็นดังนี้ ไตรมาส 1 ปี 2564 ขาดทุนกว่า 200 ล้านบาท ปี 2563 ขาดทุนกว่า 900 ล้านบาท ปี 2562 ขาดทุนกว่า 600 ล้านบาท ปี 2561 ขาดทุนกว่า 200 ล้านบาท ปี 2560 ขาดทุนกว่า 200 ล้านบาท