รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้ (11) ว่าผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรัฐบาลไทย รัชดา ธนาดิเรก กล่าวผ่านแถลงการณ์เมื่อวานนี้ (11) ว่า ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (National Center for Genetic Engineering and Biotechnology) ซึ่งเป็นผู้พัฒนา
วัคซีนโควิด-19 แบบสเปรย์พ่นจมูกนั้นเตรียมที่จะเริ่มต้นการศึกษาวิจัยในคนได้ภายในสิ้นปีหลังจากที่ผลการวิจัยเบื้องต้นกับหนูก่อนหน้าชี้ไปให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพ
โดยในแถลงการณ์ระบุว่า สเปรย์พ่นจมูกต้านโควิด-19 นี้ยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาจากองค์การอาหารและยาเพื่อขออนุญาตต่อไป
โฆษกรัฐบาลชี้ว่า การศึกษาจะรวมไปถึงการใช้เพื่อดูประสิทธิภาพในการปกป้องจากไวรัสสายพันธุ์เดลตา โดยเฟสที่ 2 จะเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2022 และเป้าหมายของการผลิตสำหรับการใช้เป็นวงกว้างภายในช่วงกลางปีหน้าได้หากผลการวิจัยสัมฤทธิ
รอยเตอร์รายงานว่า ในเวลานี้นักวิจัยทั่วโลกต่างเริ่มพัฒนาสเปรย์พ่นจมูกเพื่อป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 โดยชี้ไปว่าจมูกถือเป็นช่องทางสำคัญของไวรัส
นอกเหนือจากนี้วัคซีนโควิด-19 เทคโนโลยี mRNA ของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์และวัคซีนเชื้อตายของมหาวิทยาลัยมหิดลกำลังจะเริ่มเฟส 2 ของการศึกษาในคนภายในเดือนสิงหาคมนี้
ที่ผ่านมาไทยนั้นพึ่งพาวัคซีนซิโนแวคและวัคซีนซิโนฟาร์มของจีน วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่มีโรงงานผลิตในประเทศและวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคที่ได้รับการบริจาคจากสหรัฐฯ ใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ซึ่งเป็นด่านหน้า
รัฐมนตรีสาธารณสุขไทยแถลงในวันพุธ (11) ว่า วัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคจำนวน 32.5 ล้านโดสจะส่งมอบมาไทยภายในสิ้นปีนี้ ส่งผลทำให้มีจำนวนการสั่งซื้อทั้งสิ้น 30 ล้านโดส และรวมกับจำนวนที่ได้รับการบริจาคจากรัฐบาลสหรัฐฯ
ไทยแจกจ่ายวัคซีนไปแล้ว 6.8% ของประชากรทั้งหมด 66 ล้านคน