'เกาะบาหลี'แหล่งลงทุนสตูดิโอผลิตภาพยนต์โลก

'เกาะบาหลี'แหล่งลงทุนสตูดิโอผลิตภาพยนต์โลก

  • 0 ตอบ
  • 65 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

deam205

  • *****
  • 2773
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยสีสันและฉากหลังที่เหมือนอยู่ในดินแดนแห่งความฝันทำให้“เกาะบาหลี”ดึงดูดความสนใจเหล่าผู้ผลิตภาพยนต์จากต่างประเทศให้ไปปักหลักถ่ายทำภาพยนต์ที่นั่นมานับไม่ถ้วน

ตั้งแต่ภาพยนต์เรื่อง “Legong, Dance of the Virgins”ภาพยนตร์เงียบแนวดรามาเกี่ยวกับการท่องเที่ยว สร้างเมื่อปี 2478 ภาพยนต์เรื่อง “Baraka” ภาพยนต์สารคดีแนวคัลท์ สร้างเมื่อปี 2535 ,ภาพยนต์เรื่อง“The Endless Summer II” สร้างปี 2537 และภาพยนต์ที่ดัดแปลงจากหนังสือบันทึกความจำที่ขายดีที่สุด “Eat, Pray, Love” มีจูเลีย โรเบิร์ตส นักแสดงชื่อดังของฮอลลีวู้ดนำแสดง

นอกจากถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนต์มาช้านาน บาหลียังเป็นโลเคชันสุดปรารถนาในการถ่ายทำขนาดเล็กกว่าการถ่ายทำภาพยนต์อย่างโฆษณาทางทีวีมากมายหลายชิ้น และตอนนี้ กลุ่มนักลงทุนต่างชาติและท้องถิ่นต้องการเป็นสะพานอุดรอยโหว่ระหว่างสตูดิโอผลิตภาพยนต์ระดับโลกของฮอลลีวู้ดและเหล่าครีเอทีฟชาวอินโดนีเซียด้วยการสร้างสตูดิโอผลิตภาพยนต์บนเกาะแห่งนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอินโดนีเซีย ระบุว่า “ยูไนเต็ด มีเดีย เอเชีย แอนด์ ครีเอทีฟ อาร์ทิส เอเจนซี” (ยูเอ็มเอ)ในสหรัฐ ได้เปิดเผยโครงการนี้ที่เทศกาลภาพยนต์เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเดือนที่แล้ว โดยมองเห็นถึงโอกาสทางเศรษฐกิจของเกาะบาหลีที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลักแม้ว่าเศรษฐกิจบนเกาะแห่งนี้จะหดตัวโดยเฉลี่ยปีละ 9.3%

“ภายใต้แผนการผลิตภาพยนต์นี้ ยูเอ็มเอจะว่าจ้างพนักงานในท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจบนเกาะบาหลี ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโรคโควิด-19 บาหลีเป็นโลเคชันในอุดมคติในการสร้างภาพยนต์”มิสซี เทวี โฆษกยูเอ็มเอ ระบุ

ดูเหมือนแผนการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาลอินโดนีเซีย โดย“แซนดิอากา อูโน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของอินโดนีเซีย กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นความพยายามของยูเอ็มเอที่จะสร้างและบ่มเพาะบาหลีให้เป็นศูนย์กลางการผลิตเนื้อหาระดับโลก

ยูเอ็มเอ ถูกก่อตั้งเมื่อปี 2561 โดย"Michy Gustavia"นักแสดงหญิงและโปรดิวเซอร์ชาวอินโดนีเซีย พร้อมการสนับสนุนด้านเงินทุน 20 ล้านดอลลาร์จากกลุ่มบริษัทสื่อคอมพาส กรามีเดีย (Kompas Gramedia)โดยเน้นผลิตเนื้อหาให้แก่ผู้ชมในท้องถิ่น 270 ล้านคนในภาษาอินโดนีเซีย โดยอินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรมากสุดอันดับ4ของโลก มีอายุผู้ชมโดยเฉลี่ยแค่ 29.7 ปีเทียบกับสหรัฐที่มีอายุผู้ชมโดยเฉลี่ย 38.1 ปี

หนังสือพิมพ์จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่าช่วง5ปีที่ผ่านมา บ็อกซ์ ออฟฟิศในอินโดนีเซียขยายตัวปีละ 7% และชาวอินโดนีเซียเป็นผู้บริโภคที่ชื่นชอบการดูภาพยนต์ออน-ดีมานด์ผ่านแพลทฟอร์มต่างๆ อาทิ เน็ตฟลิกซ์ โดยคาดว่าจะมีชาวอินโดนีเซียเข้าไปใช้บริการในแพลทฟอร์มนี้มากถึง 18% หรือ 50 ล้านคนภายในปี 2568

“ตลาดบันเทิงของอินโดนีเซียเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลก ถ้าไม่นับจีนและยูเอ็มเอได้วางกลยุทธ์ รวมทั้งเพิ่มการลงทุนเพื่อผลิตเนื้อหาสำหรับผู้บริโภคในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น”เทวี ระบุ

แต่มีคำถามว่า บาหลี ที่ปัจจุบันยังคงมีปัญหาไฟฟ้าดับๆติดๆและน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่จะทำหน้าที่ศูนย์กลางการผลิตภาพยนต์ในระดับภูมิภาคได้หรือเมื่อเทียบกับโกลด์ โคสต์ของออสเตรเลีย หรือกรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ ซึ่ง“แอนดรี ดานันจายา”จากโคเปอร์นิก เอ็นจีโอ ซึ่งทำโปรเจคมากมายเกี่ยวกับการผลิตภาพยนต์สารคดีประเด็นสิทธิมนุษยชนเชื่อมั่นว่าบาหลีทำได้

“ตั้งแต่ดีไซเนอร์ด้านเสียงและด้านเสื้อผ้าไปจนถึงช่างภาพถ่ายทำภาพยนต์ ในบาหลีมีผู้มีความสามารถในด้านต่างๆเหล่านี้หลายพันคน หากสตูดิโอต้องการผลิตภาพยนต์ที่มีเนื้อหาต่างประเทศ สามารถเริ่มได้ทันที แม้สตูดิโอจะมีข้อจำกัด แต่ด้วยความที่บาหลีมีทัศนียภาพที่หลากหลาย โปรดิวเซอร์จึงสามารถเลือกที่จะถ่ายทำในโลเคชันที่เหมาะสมได้มากกว่าถ่ายทำในสตูดิโอ”ดานันจายา กล่าว

ดานันจายา กล่าวด้วยว่า ในสตูดิโอผลิตภาพยนต์ทุกแห่งต้องติดตั้งระบบสำรองไฟฟ้าไว้ เพราะฉะนั้นการจ่ายกระแสไฟฟ้าบนเกาะจึงไม่ใช่ปัญหา

ขณะที่“ลาโคทา มอยรา”บริษัทผลิตภาพยนต์สัญชาติสหรัฐที่มีฐานดำเนินงานอยู่บนเกาะบาหลี และเป็นผู้ผลิตภาพยนต์เรื่อง

“Pulau Plastik,”หรือ Rubbish Island สารคดีความยาวเท่าภาพยนต์ที่ตีแผ่ปัญหามลภาวะขากขยะในอินโดนีเซีย มีความเห็นต่อเรื่องนี้คล้ายๆกัน

“บนเกาะนี้มีคนมีความรู้ความสามารถมากมาย หากมีแพลทฟอร์มที่ช่วยกระจายผลงานไปยังกลุ่มผู้ฟังที่กว้างขวางขึ้นจะช่วยเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจแก่เกาะแห่งนี้มากขึ้น”มอยรา กล่าว

ด้านโอมริ เบน-คานาอัน ชาวฝรั่งเศสจากบาหลีพร็อด โพรดักชั่นเฮาส์ที่ผลิตโฆษณาทางทีวีและเสนอการบริการสำหรับผู้ผลิตสารคดีในราคาตายตัวบนเกาะบาหลี บอกว่า กำลังคิดที่จะเปิดสตูดิโอผลิตภาพยนต์บนเกาะแห่งนี้

“ตั้งแต่เราเริ่มทำธุรกิจเมื่อ5ปีที่แล้ว ก็เจอคำถามมากมายว่าทำไมไม่เปิดสตูดิโอผลิตภาพยนต์ จนเวลาล่วงเลยมาถึงตอนนี้ ผมก็ยังคิดว่าอินโดนีเซียมีความพร้อมและเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นแหล่งผลิตภาพยนต์” เบน-คานาอัน กล่าว