เริ่มสัปดาห์นี้!ฉีด'วัคซีนไฟเซอร์' 3 กลุ่มไม่ใช่บุคลากรฯด่านหน้า

เริ่มสัปดาห์นี้!ฉีด'วัคซีนไฟเซอร์' 3 กลุ่มไม่ใช่บุคลากรฯด่านหน้า

  • 0 ตอบ
  • 89 อ่าน

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Naprapats

  • *****
  • 3225
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




สธ.วัคซีนไฟเซอร์สำหรับบุคลากรฯด่านหน้า ฉีดแล้ว 5.7 หมื่นโดส  กระจายไปแล้ว 4.46 แสนกว่าโดส รอส่งรอบ2อีกกว่า 2.5 แสนโดส สัปดาห์นี้เริ่มฉีดกลุ่ม ผู้สูงอายุ-โรคเรี้อรังตั้งแต่ 12 ปี –หญิงตั้งครรภ์ ใน 13 จังหวัด จัดส่งไปที่รพ.ประจำจังหวัด เน้นกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนชนิดใดมาก่อน   

           เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 8 สิงหาคม 2564 ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข ในประเด็น “การกระจายวัคซีนไฟเซอร์”นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า วัคซีนไฟเซอร์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาบริจาคให้ประเทศไทยจำนวน  1.5 ล้านโดสนั้น  ซึ่งปกติวัคซีนทุกชนิดที่ได้รับมาจะมีการตรวจสอบและเตรียมการก่อนการกระจายและการฉีดราว 1 สัปดาห์ แต่เนื่องจากวัคซีนไฟเซอร์นี้มีการเรียกร้องต้องการ จึงมีการกระจายและเริ่มการฉีดเร็วกว่าเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 9 ส.ค. โดยตั้งแต่ 4-6ส.ค. มีการจัดส่งไปถึงโรงพยาบาลแล้ว 170 แห่งใน 77 จังหวัด  และช่วง 4-7 ส.ค.มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าแล้วจำนวน 5.7 หมื่นคน

        “การกระจายวัคซีนไฟเซอร์นั้น เพื่อให้ใช้เป็นการฉีดเข็มกระตุ้นในผู้ที่ฉีดครบ 2 เข็มแล้ว รวมถึงคนที่ฉีดวัคซีนเป็นเข็มแรกและฉีดเข็ม 2 อีก 3 สัปดาห์ข้างหน้า โดยส่วนี้จะเป็นรบุคลากรที่เพิ่งจบใหม่และกลุ่มที่รอวัคซีน  อย่างไรก็ตาม บุคลากรฯด่านหน้าที่ฉีด 2 เข็มแรกไปแล้วหลายคนเลือกฉีดวีคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มกระตุ้นไปแล้วเมื่อช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลพบว่ามีผู้ที่ฉีดเข็มกระตุ้นไปแล้ว   20 % เหลือรอฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มกระตุ้นประมาณ 70 % และอีกส่วนเป็นผู้ที่ไม่ต้องฉีดเข็มกระตุ้นในช่วงเวลานี้ โดยได้รับวัคซีนแอสตร้าฯไปครบ 2 เข็ม เพราะคณะผู้เชี่ยชาญยังไม่แนะนำให้ฉีดเข็ม 3 เพราะยังมีภูมิคุ้มกันที่สูงอยู่สู้กับเดลตาได้”นพ.โสภณกล่าว  

       นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า การจัดส่งวัคซีนไฟเซอร์ไปยังรพ.จึงส่งไปรพ. 50-75 % โดยดูข้อมูลจากระบบหมอพร้อม ว่าจำนวนผู้ที่ฉีดเข็ม 3 ด้วยแอสตร้าฯแล้วจำนวนเท่าไหร่ ร่วมกับข้อมูลที่รพ.สำรวจบุคลากร ก็จัดสรรไป 50-70  % แต่บางรพ.มีการส่งชื่อแบบเผื่อไว้ก่อนเมื่อมีการสอบทานใหม่พบว่าบางส่วนฉีดแอสตร้าฯไปแล้ว จึงต้องมีการสำรวจจำนวนดีๆ เนื่องจากขณะนี้หลายจังหวัดเริ่มมีการระบาดใหม่ ทำให้มีบุคลากร เช่น พยาบาลบางส่วนที่เดิมอาจจะเป็นพยาบาลด่านหลัง จะต้องมีช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด 19ด้วยจึงกลายเป็นพยาบาลด่านหน้าใหม่ทันที  ก็ต้องสำรองวัคซีนไว้ให้กลุ่มนี้ด้วย 

 
  “วัคซีนไฟเซอร์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่มีการจัดสรรไว้ราว 7 แสนโดส มีการจัดส่งรอบแรกประมาณ 446,000 กว่าโดส เหลืออีกประมาณกว่า 250,000 จะกระจายส่งไปอีกเพื่อเป็นการฉีดเข็ม 2 สำหรับผู้ที่เพิ่งฉีดวัคซีนเข็ม 1 และสำหรับคนที่ยังลังเลในการตัดสินใจฉีดบูสเตอรอยู่ช่วงแรก   ยืนยันบุคลากรด่านหน้าได้ฉีดทุกคน เพียงแต่วัคซีนทยอยไปล็อตแรก และครั้งที่  2 จะทยอยไปต่อ เพราะถ้าส่งทั้งหมดไปตั้งแต่แรกจะเกิดปัญหา บางแห่งเกินเพราะมีบุคลากรที่ฉีดแอสตร้าฯหกระตุ้นไปแล้ว แต่บางที่ขาด และถ้าขาดจะไปเอาจากที่เกินยากแล้ว รวมถึง ต้องพิจารณากรณีมีบุคลากรจบใหม่ หรือจากด่านหลังมาเป็นด่านหน้าด้วย”นพ.โสภณกล่าว  

       นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า สำหรับกลุ่มเป้าหมายอื่นที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ในล็อตบริจาคนี้ด้วย คือ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคเรื้อรังตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป โดยกลุ่มผู้ที่มีอายุ 12 ขึ้นไปนั้น จะฉีดเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคหัวใจ ไต โรคอ้วน เบาหวานและมะเร็ง เป็นต้น และหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ใน 13 จังหวัดที่เป็นพื้นทึ่ควบคุมสูงสุดและเข็มงวดก่อนหน้านี้ ประมาณ 650,000 โดสนั้น จะมีการทยอยส่งวัคซีนออกไปตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค.นี้และคาดว่าน่าจะเริ่มฉีดได้ในช่วงกลางสัปดาห์ เช่นเดียวกับกลุ่มที่เป็นชาวต่างประเทศที่เป็นผู้สูงอายุ มีโรคเรื้อรังและตั้งครรภ์ และคนไทยที่จะเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ที่มีการจัดสรรไว้ 1.5 แสนโดส ก็คาดว่าจะเริ่มฉีดได้ในช่วงกลางสัปดาห์เช่นกัน 
นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า การกระจายวัคซีนไฟเซอร์สำหรับฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปนั้น  จะจัดส่งไปที่รพ.ในแต่ละจังหวัด ซึ่งหลักๆจะเป็นรพ.ประจำจังหวัด เพื่อให้สามารถจัดบริการได้อย่างมีคุณภาพ  โดยการให้วัคซีนไฟเซอร์จะเน้นคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนชนิดใดมาก่อนเลย และอยู่ในกลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปและหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและอีก 3 สัปดาห์ก็ฉีดเข็ม 2

เหล่านี้เป็นหลักเกณฑ์ที่จะให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการ เพราะวัคซีนนี้เมื่อไปถึงพื้นที่จะต้องฉีดให้หมดภายใน 31 วัน ก็ฉีดให้คนที่มาเร็วและได้ฉีดเร็ว เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการป้องกันและลดการเสียชีวิต  โดยจะมีการจัดสรรไปใน  13 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดก่อนหน้านี้ก่อน ส่วนอีก 16 จังหวัดที่เพิ่มขึ้นมากนั้นจะมีการพิจารณาจัดสรรวัคซีนที่จะเข้ามาในล็อตต่อไป