เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 8 สิงหาคม 2564 ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข ในประเด็น “การกระจาย
วัคซีนไฟเซอร์” ผู้สื่อข่าวถามถึงการประเมินสถานการณ์จากการล็อกดาวน์ และแผนการกระจายวัคซีนในเดือนส.ค.นี้โดยเฉพาะในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า ภายหลังการล็อกดาวน์แนวโน้มจะเป็นอย่างไรนั้น ในพื้นที่ที่มีแต่ผู้ป่วยนำเข้า คือติดเชื้อมาจากจังหวัดอื่นและกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา จังหวัดต่างๆมีการบริหารจัดการได้ดี เมื่อผู้ป่วยเดินทางไปไปถึงรายงานตัวแล้วเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาล ไม่ให้ไปแพร่เชื้อต่อ สถานการณ์น่าจะควบคุมได้ หลังจากรักษา 2 สัปดาห์ ส่วนใหญ่คงหาย อาจจะมีคนอาการมากที่ต้องรักษาต่อเนื่องอีก 2-3 สัปดาห์ ในส่วนจังหวัดเหล่านี้สถานการณ์ก็น่าจะดีขึ้น
ส่วนจังหวัดที่ติดเชื้อในพื้นที่ตนเองบ้าง อาจต้องใช้ระยะเวลานานออกไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อให้การป้องกันควบคุมโรคสงบลง คิดว่าใช้เวลา 1 เดือน ถ้าไม่ระบาดมากและสามารถควบคุมให้อยู่ในจำนวนที่ไม่มากเกินขีดความสามารถของพื้นที่ที่จะรองรับได้ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคใต้บางพื้นที่
พื้นที่ที่น่าเป็นห่วงคือกทม.และปริมณฑล โดยพื้นที่ กทม.มีสัญญาณอาจจะชะลอตัว ดูจากจำนวนผู้ที่เสียชีวิต ไม่ได้พุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดและไม่เกิน 100 คนต่อวัน รวมถึง การลงพื้นที่ชุมชนเพื่อตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจเอทีแค เจอผู้ติดเชื้อตัวเลขประมาณ 10 % ในช่วง 2 วันหลังที่ผ่านมา ไม่ได้เพิ่มเป็น 20% หรือ 40 % แสดงว่าการติดเชื้อค่อนข้างคงที่ และวัคซีนฉีดมากแล้ว โดยผู้สูงอายุที่มีทะเบียนอยู่ในกทม.ฉีดแล้ว 88 % อีกไม่กี่วันน่าจะเกิน 90 % ส่วนผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีทะเบียนบ้านในกทม.มีการฉีดมากขึ้น โดยรวมผู้สูงอายุในกทม.ฉีดวัคซีนโควิด19ได้เกิน 70 % แล้ว
ส่วนกลุ่มโรคเรื้อรังมีการทยอยฉีดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน เมื่อมีภูมิคุ้มกันโอกาวป่วยหนักและเสียชีวิตก็น้อยลง ดังนั้น พื้นที่กทม.น่าจะชะลอตัวในช่วงใกล้ๆนี้ แต่ปริมณ ฑล อาจจะใช้เวลาออกไปอีกระยะหนึ่ง เพราะเกิดระบาดทีหลังและการฉีดวัคซีนยังไม่เท่ากับกทม. โดยมีเป้าหมายให้ได้ 70 % ในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรังและหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งมีโอกาสบรรลุเป้าหมายในปลายเดือนนี้
“ประชาชนขอความร่วมมืออย่าให้ติดเชื้อเพิ่ม โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ออกจากบ้านให้น้อยที่สุด ลดความเสี่ยงที่จะรับเชื้อนอกบ้าน เมื่อมีอาการรีบรับการตรวจ โดยขณะนี้แนะนำให้ใช้ชุดตรวจเอทีเค ซึ่ง 80 %ของคนติดเชื้อเป็นสีเขียวมีอาการไม่มาก 20% เป็นสีเหลืองมีอาการมากขึ้น และอาการกลุ่มสีแดง 5 % นอกจากนี้ ต้องลดความเสี่ยงของผู้สูงอายุในบ้าน และป้องกันการแพร่เชื้อในบ้านให้ดี มาตรการต่างๆขอให้ทำให้เข้มข้นขึ้น หวังว่าที่เหลืออีก 1 สัปดาห์ จะเห็นตัวเลขลดลงได้”นพ.โสภณกล่าว
'ไทยร่วมใจ' เปิดจอง 'ลงทะเบียนฉีดวัคซีน' เข็มแรกผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป รับสูงสุด 400 ร้อยคนต่อวัน
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ยังหนัก! พบติดเชื้อเพิ่ม 19,983 ราย เสียชีวิต 138 ราย ไม่รวม ATK อีก 2,577 ราย
ถอนงานวิจัย 'ฟ้าทะลายโจร' ลดปอดอักเสบ เหตุหลักฐาน 'ไม่เพียงพอ'
นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า สำหรับแผนการกระจายวัคซีนโควิด 19 ในเดือนส.ค.นี้ซึ่งจะมีวัคซีนราว 10 ล้านโดสรวมทั้งวัคซีนซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า แต่ละสัปดาห์จะมีการจัดส่งไปต่างจังหวัดประมาณ 2 ล้านโดส เพราะคาดว่าจะมีวัคซีนเข้ามาสัปดาห์ละ ประมาณ 2-2.5 ล้านโดส ซึ่งวัคซีนประมาณ 10 ล้านโดสของเดือนส.ค.นี้จะกระจาย 80 % ไปต่างจังหวัด ในจำนวนนี้ ครึ่งหนึ่งไป 29 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เนื่องจากเป็นพื่นที่ที่มีความเร่งด่วนมากกว่า เพราะมีผู้ป่วย มีการระบาดเกิดขึ้นอยู่ จะทำให้คนในพื้นที่โดยเน้นฉีดกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรังและหญิงตั้งครรภ์ ฉีดให้ได้เร็วสุด โดยตั้งเป้าฉีดกลุ่มนี้ให้ได้ 70 % เพื่อให้ป้องกันคนส่วนใหญ่และลดโอกาสแพร่ระบาดในพื้นที่
“ช่วงนี้ประเทศไทยมีวัคซีนโควิด9ทั้งซิโนแวค ซิโนฟาห์ม ที่เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายความปลอดภัยค่อนข้างสูง ประสิทธิภาพป้องกันเสียชีวิต ป่วยหนักยังดีอยู่ และป้องกันติดเชื้อลดลงด้วยสายพันธุ์ดลตา และวัคซีนตัวอื่น คือ แอสตร้าและ ไฟเซอร์ที่การป้องกันติดเชื้อลดลงเช่นกัน เพราะฉะนั้นขอให้เข้ารับการฉัดวัคซีนไม่ว่าตัวใดก็ตามที่มีให้บริการในพื้นที่ของท่าน ให้รีบไปรับการฉีดวัคซีนถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยง และเมื่อฉีดแล้วให้เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย แต่การฉีดวัคซีนประโยชน์ยังมากกว่าความเสี่ยงที่ได้รับจากผลข้างเคียง”นพ.โสภณกล่าว