ธปท.ชี้ล็อกดาวน์ธุรกิจฟื้นช้า ฉุดความเชื่อมั่นค้าปลีกดิ่งเหว

ธปท.ชี้ล็อกดาวน์ธุรกิจฟื้นช้า ฉุดความเชื่อมั่นค้าปลีกดิ่งเหว

  • 0 ตอบ
  • 78 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Beer625

  • *****
  • 3030
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




"ธปท."เผบผลโพล"BSI COVID" ชี้ไทย"ล็อกดาวน์"เข้มทำธุรกิจฟื้นช้า เผยความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกดิ่งเหวเหลือแค่ 16.4 ต่ำกว่า เม.ย.63 คาดคนใช้ชีวิตได้ปกตินในไตรมาสที่ 1 ของปี 65

เมื่อวันที่ 5 ส.ค.64 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย (BSI COVID) เดือนกรกฎาคม 2564 พบว่า ระดับการฟื้นตัวของธุรกิจในภาพรวมปรับลดลงจากเดือนก่อนในทุกภาคธุรกิจ ตามการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศในวงกว้าง และผลของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่กลับมาเข้มงวดอีกครั้ง โดยเฉพาะภาคก่อสร้างจากคำสั่งปิดแคมป์คนงานเช่นเดียวกับภาคท่องเที่ยวและภาคการค้า ที่ได้รับผลกระทบจากการจำกัดการเดินทาง การปรับเวลาให้บริการ และห้ามนั่งรับประทานในร้าน ขณะที่ภาคการผลิตยังคงถูกกดดันจากการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ในโรงงาน ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ปัญหาการนำเข้าผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ตลอดจนการปิดโรงงานของคู่ค้าที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน

สำหรับการจ้างงานค่อนข้างทรงตัวทั้งด้านจำนวนแรงงาน และรายได้เฉลี่ย ยกเว้นการจ้างงานในภาคท่องเที่ยวที่ลดลงตามการปิดกิจการชั่วคราว และภาคก่อสร้างที่ปรับลดลงตามกิจกรรมที่หยุดชะงักหลังมีคำสั่งปิดแคมป์ ส่งผลให้แรงงานบางส่วนเคลื่อนย้ายกลับภูมิลำเนา โดยธุรกิจในภาพรวมมีการใช้นโยบายสลับกันมาทำงาน และลดชั่วโมงทำงานเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ขณะที่ธุรกิจบางส่วนเริ่มกลับมาใช้นโยบายลดเงินเดือนเพิ่มเติม โดยเฉพาะภาคที่มิใช่การผลิต

ขณะที่ ในด้านสภาพคล่อง พบว่าธุรกิจส่วนใหญ่มีสภาพคล่องสำรองใกล้เคียงกับเดือนก่อน แต่เริ่มเห็นบางธุรกิจมีสภาพคล่องลดลง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยว และภาคก่อสร้างที่มีสัดส่วนของธุรกิจที่สภาพคล่องไม่เกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการฟื้นตัวของธุรกิจที่ปรับแย่ลง

ทั้งนี้ ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ประเมินว่า ประชาชนจะเริ่มออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านและท่องเที่ยวตามปกติได้ เมื่อมีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่น้อยกว่า 50 รายต่อวัน และเกิดได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ขณะที่บางส่วนมองว่า การเร่งฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและทั่วถึงเป็นปัจจัยสำคัญมากกว่า

นอกจากนี้ ธปท.ยังเปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retailer Sentiment Index: RSI) ว่าความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกปรับลดลงมากทั้งภาวะปัจจุบันและอีก 3 เดือนข้างหน้า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้น มาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดและแผนการกระจายวัคซีนไม่ชัดเจน ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นฯ อยู่ต่ำกว่าเดือน เม.ย.2563 ที่มีการประกาศล็อกดาวน์ครั้งแรกในทุกมิติ

ADVERTISEMENT


โดยดัชนี RSI เดือน ก.ค.และแนวโน้มอีก 3 เดือนข้างหน้า (ส.ค.-ต.ค.) ปรับลดลงมาก และต่ำกว่าเดือน เม.ย.2563 อยู่ที่ 16.4 และ 27.6 ที่มีการการประกาศล็อกดาวน์ครั้งแรกจากการแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้น และมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด ส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของผู้ประกอบการค้าปลีก ขณะที่แผนการกระจายวัคซีนที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายและประสิทธิภาพของวัคซีน ซ้ำเติมความเปราะบางของความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ

ความเชื่อมั่นต่อยอดขายสาขาเดิมปรับลดลงในทุกภาค ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ทวีความรุนแรงขึ้นในทุกพื้นที่ เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าที่ปรับลดลง สะท้อนภาวะความยืดเยื้อของสถานการณ์ ความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่จะแย่ลงกว่าเดิม รวมถึงความล่าช้าของการจัดการวัคซึน

ขณะที่ ความเชื่อมั่นทุกประเภทร้านค้าในภาวะปัจจุบันปรับลดลงมากจากเดือนก่อน โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้า และร้านอาหารที่ถูกกระทบโดยตรงจากมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด

ส่วนความเชื่อมั่นต่อยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ยอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จ (Spending per bill และความถี่ของผู้ใช้บริการ (Frequency) ปรับลดลงมากจากเดือนก่อนและต่ำกว่าช่วงการล็อกดาวน์ครั้งแรก ซึ่งเป็นผลจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด งดการเดินทาง และลดเวลาเปิดทำการของร้านค้า

นอกจากนี้ พบว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรง ผู้ประกอบการ 90% ประเมินว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคปรับลดลงมากจากเดือนก่อน และไม่เห็นพฤติกรรมเร่งกักตุน แม้จะมีการสั่งปิดห้างฯ และประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวสู่ระดับปกติเลื่อนออกไปเป็นปี 2566 ล่าช้ากว่าที่เคยประเมินไว้อีก 1 ปี

ขณะที่ การประเมินแนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากผู้ประกอบการ 61% คาดว่ายอดขายจะลดลงมากกว่า 25% จากการเคอร์ฟิว 53% มีสภาพคล่องไม่เกิน 6 เดือน และ 42% คาดการบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2564 จะกดตัวอย่างน้อย 10% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน