'กพอ.' เคาะรื้อสัญญา 'ซีพี' แก้ปัญหาทับซ้อน 'ไฮสปีดไทย-จีน'

'กพอ.' เคาะรื้อสัญญา 'ซีพี' แก้ปัญหาทับซ้อน 'ไฮสปีดไทย-จีน'

  • 0 ตอบ
  • 73 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jessicas

  • *****
  • 2373
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ. เป็นประธานเมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมาได้พิจารณา แก้ปัญหาซ้อนทับ โครงการรถไฟความเร็วเชื่อมสามสนามบิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย- จีน ในช่วงบางซื่อ ถึง ดอนเมือง ซึ่งใช้โครงสร้างโยธาร่วมกัน แต่เวลาการก่อสร้างและมาตรฐานเทคนิคไม่สอดคล้องกัน

ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สกพอ. กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเจรจาเอกชนคู่สัญญาทำข้อเสนอการแก้ไขสัญญาร่วมทุน เพื่อให้เอกชนเร่งก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง 

โดยจะเจรจาให้เอกชนรับพื้นที่และเริ่มงานก่อสร้างโยธาให้ได้มาตรฐานเร็วกว่ากำหนด เพื่อให้โครงการรถไฟไทย-จีน ใช้เส้นทางดอนเมือง-บางซื่อได้ภายในเดือน ก.ค.2569

รวมทั้งเอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมงานทางวิ่งของโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองด้วย 

ทั้งนี้ยังให้ยึดข้อตกลงทั้งมาตรฐานและระยะเวลาของรถไฟไทย-จีนเป็นหลัก เพื่อแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องระยะเวลา และด้านเทคนิคให้รองรับทั้ง 2 โครงการ โดยจะหาแนวทางร่วมกับเอกชนคู่สัญญาในส่วนการปรับหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของรัฐ เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นกับเอกชนคู่สัญญาอย่างเหมาะสม โดยยึดหลักไม่ให้เกิดงบประมาณเพิ่มเติม และแผนก่อสร้างทั้ง 2 โครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด

ส่วนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ อีอีซี โครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน การส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนคู่สัญญามีความคืบหน้า 86% แล้ว และพร้อมส่งมอบทั้งหมดภายในเดือนกันยายน 2564 คู่ขนานไปกับการยกระดับ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ โฉมใหม่ ที่ผู้โดยสารจะได้รับบริการ ที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นโครงการที่เป็นการลงทุนของภาคเอกชนโดยเอกชนผู้รับสัมปทานคือบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยได้มีการจัดตั้งบริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจขึ้นมาบริหารโครงการในชื่อ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด

จัดตั้งเพื่อขึ้นเซ็นสัญญาร่วมทุนสัมปทาน 50 ปี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. และแอร์พอร์ตลิงก์ ทุนจดทะเบียน 4,000 ล้านบาท