'เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว' ใช้งานยังไง แบบไหนตรวจแม่นยำ?

'เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว' ใช้งานยังไง แบบไหนตรวจแม่นยำ?

  • 0 ตอบ
  • 75 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

dsmol19

  • *****
  • 2466
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 



เมื่อ "เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว" กลายเป็นสิ่งจำเป็นในยุคโควิดระบาด หลายคนสงสัยว่าเครื่องที่ซื้อมา ตรวจวัดได้แม่นยำแค่ไหน วิธีตรวจที่ถูกต้องทำอย่างไร แบบไหนที่บ่งชี้ว่าผลตรวจคลาดเคลื่อน ชวนหาคำตอบที่นี่

เมื่อผู้ติดเชื้อในไทยวันนี้ (4 ส.ค.64) ทำนิวไฮอีกครั้ง โดยพบยอดผู้ติดเชื้อทะลุ 2 หมื่นกว่าราย ทำให้ทั้งบุคลาการทางการแพทย์ และอาสาสมัครด่านหน้า ยิ่งต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่า โดยเฉพาะอุปกรณ์และยาจำเป็นต่างๆ ก็มีความต้องการพุ่งสูงตามไปด้วย หนึ่งในไอเทมจำเป็นคงหนีไม่พ้น "เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว"

หลายคนยอมควักเงินซื้อ "เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว" ด้วยตนเอง เพราะไม่อยากนั่งรอความช่วยเหลืออย่างเดียว แต่ในท้องตลาดตอนนี้พบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีทั้งแบบราคาแพง ราคาถูก บางครั้งพบยี่ห้อเดียวกันแต่ราคาต่างกันมาก ทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่าควรเลือกซื้อแบบไหน? ถึงจะแม่นยำที่สุด และมีวิธีการใช้งานอย่างไร? กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รวบรวมคำตอบมาให้แล้ว ดังนี้


1. รู้หลักการทำงาน "เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว" 

นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤติบำบัด สหรัฐอเมริกา ได้แชร์ความรู้ผ่านช่องทาง Doctor Tany (2 ส.ค. 64) เกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนฯ และวิธีใช้งานเอาไว้ว่า 

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว มีหลักการทำงานคือ ตัวเครื่องจะปล่อยคลื่นแสงออกมา ไปกระทบกับเส้นเลือดฝอยที่ปลายนิ้วมือ แล้วมันก็จะวัดแสงสะท้อนที่ได้ออกมา แสงสะท้อนดังกล่าวจะเป็นตัวบอกว่าในเส้นเลือดของร่างกายมีปริมาณออกซิเจนอยู่มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความถี่ของแสงสะท้อน ที่สะท้อนกลับมาให้ตัวเครื่องวัดค่าได้

2. เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว มีประโยชน์ยังไง?

คำถามต่อมาที่หลายคนอาจสงสัยคือ ทำไมต้องใช้ "เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว" มาตรวจค่าออกซิเจนกับผู้ป่วย "โควิด-19" ?

คำตอบคือ เพื่อต้องการดูว่าผู้ป่วยโควิดมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำหรือไม่ ซึ่งมีประโยชน์มากในกรณีที่ป่วยเป็นโควิด เนื่องจากเมื่อป่วยโควิดแล้ว ผู้ป่วยมักจะเกิดภาวะหนึ่งที่เรียกว่า "Happy Hypoxia" หมายความว่า คนไข้มีภาวะออกซิเจนต่ำแต่กลับดูปกติสบายดี ตรงข้ามกับการป่วยด้วยโรคอื่นๆ ที่หากผู้ป่วยมีภาวะออกซิเจนต่ำขนาดนี้ ร่างกายจะแย่ลงทันทีอย่างเห็นได้ชัด

ดังนั้น การใช้เครื่องมือนี้มาตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือด จึงจะช่วยให้คนป่วยได้รู้ตัวว่าตอนนี้ร่างกายของเขามีภาวะขาดออกซิเจน หรือเชื้อลงปอด หรือเริ่มมีการอักเสบในปอดแล้วหรือยัง นั่นเอง

3. แนะนำวิธีการตรวจวัดที่ถูกต้อง

หมอธนีย์ ยังได้แนะนำถึงวิธีการใช้งานเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ดังนี้

- ควรตรวจวัดที่นิ้วมือที่ไม่ได้ทาเล็บ เพราะสีทาเล็บอาจจะทำให้วัดค่าได้ผิดเพื้ยนไป ต้องล้างเล็บก่อนตรวจวัด

- ควรตรวจขณะที่มืออุ่น ถ้ามือเย็นจะวัดค่าออกซิเจนได้ต่ำลง ดังนั้นก่อนตรวจต้องทำให้มืออุ่นก่อนเสมอ

- ระหว่างตรวจวัดให้หายใจลึกๆ เข้าออก 2-3 ครั้ง วางมือนิ่งและรอผลแสดงที่หน้าจอ

- ควรสลับนิ้วและตรวจวัดซ้ำๆ ด้วย เพื่อผลที่แม่นยำมากขึ้น

- เมื่อผลตรวจโชว์ที่หน้าจอ ต้องเห็นว่าระบุทั้งค่าออกซิเจน และค่าชีพจร ให้สังเกตจุดแสดงผลค่าชีพจรต้องเคลื่อนที่ไปมาตลอดเวลา เพื่อแสดงว่าเครื่องมือใช้ได้ปกติ


4. วิธีอ่านผลตรวจค่าออกซิเจนในเลือด

สิ่งต่อมาที่ต้องรู้คือ วิธีอ่านผลและแปลผลการตรวจ โดยหมอธนีย์มีคำแนะนำ ดังนี้

วัดได้ 95-97% ขึ้นไป คือ ค่าปกติ ออกซิเจนในร่างกายปกติ
วัดได้ 94% ลงไป คือ ผิดปกติ มีภาวะออกซิเจนต่ำ
ทั้งนี้ เครื่องตรวจเหล่านี้โดยปกติจะวัดค่าได้ไม่ตรงเป๊ะๆ จะมีความคลาดเคลื่อนบวกลบอยู่ประมาณ 2%-3% แล้วแต่ตัวเครื่อง ใครที่วัดได้ 100% อาจจะไม่ใช่เรื่องปกติ โดยทั่วไปไม่มีใครที่จะสามารถมีออกซิเจนในเลือดได้ 100% เว้นแต่กำลังได้รับการให้ออกซิเจนด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ ดังนั้นหากวัดค่าได้ 100% เป็นไปได้ว่าเครื่องตรวจมีความคลาดเคลื่อนนิดหน่อย แต่ก็ไม่ได้เป็นข้อน่ากังวลใดๆ

แต่หากวัดค่าออกซิเจนในเลือดได้ 94% หรือต่ำว่านั้น ก็ต้องมาเช็คอาการของตนเองก่อนว่า มีอาการป่วยโควิดอยู่หรือไม่ เช่น มีไข้ ไอ หอบเหนื่อย เพลีย ท้องเสีย ไม่ได้กลิ่น ไม่รับรส แบบนี้จึงจะชัดเจนว่าติดโควิด ซึ่งการวัดออกซิเจนได้ต่ำขนาดนี้ เป็นไปได้ว่าเชื้อลงปอดแล้ว

ถ้าวัดค่าออกซิเจนในเลือดได้ต่ำกว่า 94% แต่ไม่มีอาการป่วยโควิดเหล่านี้เลย เป็นไปได้ว่าตรวจผิดวิธี เช่น อาจจะทาสีเล็บมืออยู่ หรือนิ้วที่ใช้ตรวจเย็นเกินไป ต้องแก้ไขก่อนแล้วตรวจซ้ำอีกที หรืออีกอย่างคือไม่ได้ป่วยโควิด แต่สงสัยได้ว่ามีภาวะของโรคอื่นๆ อยู่ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ซึ่งก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยให้แน่ชัด


5. เลือกซื้อ "เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว" ยี่ห้อไหนดี?

สำหรับวิธีการเลือกซื้อเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว มีคำแนะนำเรื่องนี้จากอาสาสมัครมูลนิธิกระจกเงา ที่เคยโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลไว้ว่า ทางมูลนิธิต้องการรับบริจาคเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วเพิ่มเติม เนื่องจากบางเครื่องที่มีอยู่ไม่ได้มาตรฐาน วัดค่าไม่ได้ เปิดเครื่องไม่ติด หรือวัดค่าได้คลาดเคลื่อนมากๆ จึงแนะนำเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วที่ทางทีมงานมูลนิธิได้ตรวจสอบความแม่นยำแล้ว ว่ามี 5 ยี่ห้อ คือ Yuwell, Beurer, Jumper, Microlife, Contec

ทั้งนี้ ราคาของแต่ละยี่ห้อ ทางทีมข่าวฯ ได้สำรวจตามเว็บไซต์ E-Marketplace หลากหลายแห่ง พบว่ามีราคาแตกต่างกันไปดังนี้ 

Yuwell ราคาประมาณ 790-990 บาท
Beurer/Beurer po30 ราคาประมาณ 1,990-2,650 บาท
Jumper ราคาประมาณ 890 - 1,200 บาท
Microlife ราคาประมาณ 2,400-2,700 บาท
Contec ราคาประมาณ 890 - 1,500 บาท
-------------------------

อ้างอิง : 

นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน (2 ส.ค. 64)

มูลนิธิกระจกเงา

ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจรวบรวมราคา