สนค. แนะผู้ประกอบการไทยศึกษาเพิ่มโอกาสทำตลาดสินค้าแฟชั่นหมุนเวียน

สนค. แนะผู้ประกอบการไทยศึกษาเพิ่มโอกาสทำตลาดสินค้าแฟชั่นหมุนเวียน

  • 0 ตอบ
  • 76 อ่าน

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

deam205

  • *****
  • 2773
    • บุคคลทั่วไป
    • ดูรายละเอียด
  • ชื่อ-นามสกุล: -
  • เบอร์ติดต่อ/โทรศัพท์มือถือ: -
  • ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ: -
  • ระบุจังหวัด: -
  • ดูรายละเอียด
  • ข้อความส่วนตัว (ออฟไลน์)

     
   
 




นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ทำการศึกษาแนวโน้มตลาดของสินค้าต่าง ๆ ตามนโยบายที่ได้รับจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้นำมาแจ้งทิศทางและช่วยแนะนำให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทยได้มีการปรับตัว และเพิ่มโอกาสในการทำตลาด โดยได้ทำการศึกษาแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งพบว่าแนวคิดแฟชั่นหมุนเวียน (Circular Fashion) กำลังเป็นที่นิยมที่นำมาใช้ในการวางแผนและออกแบบการผลิตเพื่อลดการเกิดของเสียและมลพิษ การผลิตเสื้อผ้าจากวัสดุที่ปลอดภัยและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การเพิ่มระยะเวลาใช้งานเสื้อผ้า รวมทั้งการนำเสื้อผ้าเก่ามาผลิตเป็นเสื้อผ้าใหม่ เกิดการหมุนเวียนเป็นวงจรต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรได้อย่างสูงสุด

ทั้งนี้ นอกจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมแฟชั่นแล้ว สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เพราะการที่ร้านค้าต้องปิดตัวลง ผู้คนต้องทำงานที่บ้าน และลดการใช้ชีวิตทางสังคม ทำให้ยอดการจำหน่ายเสื้อผ้าลดลง ซึ่งผลการสำรวจข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคทั่วโลกในปี 2563 ระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคมีรายได้ลดลง และอุตสาหกรรมแฟชั่นถูกคาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากผู้บริโภคกว่า 51% จะลดการใช้จ่ายในการซื้อเสื้อผ้ารองเท้าลงและมีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไป โดยให้ความสำคัญต่อความคุ้มค่าในการใช้จ่ายมากขึ้น และต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ ใช้งานได้ยาวนานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

นอกจากนี้ ได้มีผลการสำรวจว่า ผู้บริโภคกลุ่ม Millennial (ผู้ที่อายุระหว่าง 24-37 ปี) และ Gen Z (ผู้ที่อายุระหว่าง 13-23 ปี) ใส่ใจเป็นพิเศษต่อสินค้ารักษ์โลก และกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของอุตสาหกรรมที่มีต่อสิงแวดล้อม รวมทั้งมีความตระหนักถึงการลดการใช้พลาสติกและคาดหวังให้แบรนด์สินค้าต่าง ๆ สนับสนุนแนวคิดเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

นายภูสิตกล่าวว่า จากแนวโน้มดังกล่าว ทำให้เห็นว่าแฟชั่นหมุนเวียน เป็นแนวคิดที่จะช่วยสร้างช่องทางการตลาดใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในสถานการณ์ปัจจุบันไปพร้อม ๆ กับช่วยลดขยะและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะเห็นได้จากในวงการแฟชั่นเริ่มเปลี่ยนแนวทางการทำธุรกิจบ้างแล้ว เช่น ธุรกิจให้เช่าเสื้อผ้า ธุรกิจขายเสื้อผ้ามือสอง รวมไปถึงการผลิตเสื้อผ้าจากวัสดุรีไซเคิล หรือวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ผู้ผลิต ผู้ส่งออกของไทย ก็ควรที่จะศึกษาและวางแผนการทำตลาดภายใต้แนวคิดนี้เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม สนค.เห็นว่า ในส่วนของผู้บริโภค หากตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจทำได้โดยเลือกสินค้าที่มีคุณภาพหรือเลือกใช้เสื้อผ้าจากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนทิ้งเสื้อผ้า พยายามซ่อมแซมเสื้อผ้าเพื่อใช้งานให้นานขึ้น บริจาคเสื้อผ้า และแยกขยะเสื้อผ้า สิ่งทอ เมื่อต้องการทิ้ง เพราะเสื้อผ้าสิ่งทอเหล่านี้ สามารถนำไปรีไซเคิลให้กลายเป็นเสื้อผ้าใหม่หรือสินค้าประเภทอื่นได้

ปัจจุบัน ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมตามการเติบโตของธุรกิจแฟชั่น โดยเฉพาะกระแส Fast Fashion ซึ่งเป็นเทรนด์เสื้อผ้าที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและผู้ประกอบการต้องผลิตสินค้าออกมาให้ทันความต้องการ เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความทันสมัยและซื้อบ่อยขึ้น อาจกลับทำให้สินค้าคุณภาพด้อยลง ใช้งานได้ไม่นาน และใช้ซ้ำได้น้อยครั้ง เสื้อผ้าปริมาณมหาศาลจึงต้องกลายเป็นขยะในที่สุด โดยแต่ละปีจะพบว่ามีเสื้อผ้าและสิ่งทอกว่า 85% ถูกทิ้ง และมีเพียง 15% ที่ได้รับการรีไซเคิลหรือนำไปบริจาค